ครอบฟัน ฟันเรียงสวย ขาว มั่นใจยิ้มได้กว้าง

ครอบฟัน

ฟันเรียงสวย ขาว ทำให้มั่นใจยิ้มได้กว้าง  ฟันแท้ที่แข็งแรงเรียงกันเต็มปากจึงเป็นสิ่งที่ทุกคนอยากคงไว้  การบดเคี้ยวที่สมบูรณ์ ทำให้เกิดการรับรสที่ดีเจริญอากหารอีกด้วย แต่เมื่อฟันของคุณมีความเสียหายรุนแรง เช่น ฟันแตกขั้นรุนแรง ฟันหัก ฟันบิ่น ทำให้จำเป็นต้องรักษาด้วยการใส่ครอบฟัน ( Dental Crowns ) เพื่อซ่อมแซมฟันให้กลับมาใช้งานได้ตามปกติ และเป็นการเรียกคืน ความมั่นใจ ช่วยให้รูปฟันเรียงตัวมีรอยยิ้มที่มั่นใจยิ่งขึ้น

การครอบฟัน คือ การครอบ หรือคลุมฟันที่เสียหาย ถือเป็นการซ่อมแซมและปกป้องฟันที่ได้รับความเสียหายจากการแตกหัก หรือฟันที่ได้ผ่านการรักษารากฟัน เสริมสร้างความแข็งแรงให้กับตัวฟัน โดย ทันตแพทย์จะทำการครอบฟันซี่นั้น ๆ ด้วยวัสดุประเภทต่างๆ อาจทำจากโลหะล้วน เซรามิคล้วน (all ceramic) หรือทั้งโลหะและเซรามิค (PFM) เพื่อให้เกิดความแข็งแรงและสวยงาม เพื่อให้ฟันซี่นั้นมีรูปร่างและประสิทธิภาพดีดังเดิม 

ในปัจจุบันครอบฟันใช้โครงเซรามิกที่แข็งแรงมาแทนโลหะ ซึ่งมีหลายชนิดได้แก่ โครง Zirconia, lithium-disilicate เป็นต้น ทำให้มีความสวย ใส ดูเหมือนฟันธรรมชาติมากกว่าโครงโลหะและโครงพลาสติก แต่การตัดสินใจว่าจะได้ครอบฟันชนิดใด ต้องขึ้นอยู่กับดุลพินิจของทันตแพทย์ผู้ทำการรักษา เนื่องจากครอบฟันแบบเซรามิก มีข้อจำกัดเรื่องความเปราะและแตกง่าย

การครอบฟัน

การครอบฟัน ส่วนมากการทำครอบฟันหน้า เน้นงความสวยงาม ส่วนฟันหลังหรือ ครอบฟันกราม จะเน้นการใช้งานบดเคี้ยวอาหาร เช่น มีฟันผุเป็นจำนวนมากและลักษณะมีขนาดกว้าง เนื้อฟันเหลือน้อยจึงไม่สามารถรักษาโดยการอุดฟันได้ ฟันแตก ฟันร้าว การครอบฟัน เป็นการรักษาฟันให้ใช้งานได้ยาวนาน และเคยผ่านการรักษารากฟันมาก่อน เนื่องจากเนื้อฟันจะเปราะบางมากกว่าเหมือนกับฟันปกติ

ทันตแพทย์อาจแนะนำให้ครอบฟันเมื่อเกิดความไม่พอใจกับสีและรูปร่างของฟัน มีปัญหาฟันสึก การทำครอบฟันจะช่วยให้ฟันของคุณกลับมาแข็งแรงมากยิ่งขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพในการเคี้ยว สามารถใช้งานได้ยาวนานขึ้น และไม่ให้มีการสึกเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้การครอบฟันยังช่วยให้คุณดูเด็กลง เพราะครอบฟันสามารถปรับรูปร่างและสีของฟันได้ ในรายที่ทำรากฟันเทียมการครอบฟันบนรากเทียมยังช่วย ให้มีการสบฟันที่ดีขึ้น สามารถทำเชื่อมติดกันเป็นสะพานฟัน เพื่อทดแทนฟันที่หายไป อีกทั้งยังป้องกันฟันล้มได้ 

เมื่อมีฟันผุหรือแตกร้าวเกินกว่าครึ่งของความกว้างเนื้อฟัน จนรู้สึกเจ็บปวดขณะเคี้ยว แรงกดจากการเคี้ยวนี้จะลงไปยังช่องร้าวทำให้มีความรู้สึกเหมือนฟันจะแตกออกจากกัน การครอบฟันจะช่วยลดความเจ็บปวดลงได้ เนื่องจากส่วนที่เหลือจะมีความเปราะบางอย่างมากจนอาจได้รับความเสียหายเพิ่มเติมได้ และจะช่วยคลุมฟันเอาไว้ด้วยกันและกระจายแรงกดให้ไปทั่วทั้งปาก 

เมื่อมีอาการฟันเสื่อมสภาพจากการกัดฟัน ชอบบดเคี้ยวฟันจนฟันสึก กร่อน การรับประทานอาหารที่มีกรดสูง รับกรดจากโรคบางชนิดนานๆ เช่น กรดไหลย้อน อาจทำให้ชั้นเคลือบฟันสึกกร่อนจนเหลือแต่เนื้อฟันอ่อนๆ จึงจำเป็นต้องครอบฟัน

ครอบฟัน

ประเภทของครอบฟัน

ประเภทของครอบฟัน จะแบ่งตามวัสดุครอบฟันแต่หลัก ๆ จะแบ่งออกเป็น 6 ประเภทที่เป็นนิยม คือ

1.ครอบฟันโลหะล้วน (Full Metal Crown: FMC)

เหมาะกับฟันกราม เพราะที่มีความแข็งแรงและทนทานมากที่สุดเนื่องจากไม่มีการบิ่นหรือแตกเหมือนวัสดุเซรามิก เป็นครอบฟันที่ทำด้วยโลหะผสม ราคาขึ้นอยู่กับชนิดของโลหะที่ใช้ทำ เหมาะสำหรับฟันกรามหรือฟันซี่ในเพราะมีแต่สีโลหะ แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือครอบฟันที่ไม่มีทองผสม และแบบที่มีทองผสม

2.ครอบฟันเรซิน (All-resin crown)

ครอบฟันหน้า เพราะมีความใส สวยงาม เหมือนฟันตามธรรมชาติ ในปัจจุบัน เซรามิกมีความแข็งแรงค่อนข้างสูง ยังสามารถใช้ครอบฟันกรามหลังได้ ส่นใหญ่ใช้เป็นครอบฟันชั่วคราวระหว่างการรักษา

3.ครอบฟันโลหะเคลือบเซรามิค (Porcelain-fused-to-metal crown: PFM)

โดยใช้ข้อดีของโลหะนำมาทำเป็นโครงเพื่อให้ความแข็งแรงและเซรามิคที่ให้สีเหมือนฟันธรรมชาติ การทำครอบฟันแบบนี้ต้องกรอเนื้อฟันออกเยอะ ไม่เหมาะกับคนที่นอนกัดฟัน หรือมีนิสัยใช้ฟันหน้ากัดแทะของแข็ง ฟันหน้าสบคร่อมกันลึก แบ่งออกเป็น 2 แบบคือ

       1.ครอบฟันเซรามิกล้วนแบบแก้วเซรามิก (All-resin crown)  มีความสวยงามสูง แข็งแรงระดับปานกลาง เหมาะสำหรับฟันหน้าถึงฟันกรามน้อย 

       2.ครอบฟันเซรามิกล้วนแบบโครงแข็งหรือโครงเซอร์โคเนีย (Zirconia) มักเรียกรวมๆ ว่า ครอบฟันเซอร์โคเนีย มีความแข็งแรงสูง เหมาะสำหรับฟันหลัง  มีความแข็งแรงมากที่สุดในบรรดาครอบฟันเซรามิคล้วน

4.ครอบฟันเหล็กกล้าไร้สนิท (Stainless Steel Crown: SSC)

คือการครอบฟัน สำเร็จรูปทำจากสแตนเลส นิยมใช้กับฟันน้ำนม ในเด็ก ซึ่งไม่ได้เน้นความ สวยงามสามารถหลุดไปภายหลัง ใช้เวลาทำเพียงครั้งเดียวและกรอแต่งไม่นาน ไม่ต้องพิมพ์ปากเนื่องจากเด็กไม่สามารถทนการทำฟันนานๆและซ้ำซ้อนได้

ขั้นตอนการครอบฟัน

ขั้นตอนและระยะเวลาการทำครอบฟัน

การทำครอบฟันจะไม่ได้ทำเสร็จภายในวันเดียวจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาเป็นลำดับขั้นตอน โดยจะแบ่งขั้นตอนออกมาประมาณ 2-3 ครั้ง ดังนี้

1.ทันตแพทย์จะซักประวัติ พร้อมทั้งตรวจการสบฟัน เช็คสุขภาพเหงือก เอกซ์เรย์ ตรวจเนื้อฟันที่เหลืออยู่ เพื่อประเมินว่าสามารถทำครอบฟันได้หรือไม่  ก่อนจะพิมพ์ปากเพื่อส่งทำครอบฟันชั่วคราว

2.ประมาณ 1 สัปดาห์หลังจากพิมพ์ปาก ทันตแพทย์จึงจะนัดเข้ามาทำการครอบฟัน โดยเริ่มจากฉีดยาชาบริเวณฟันที่จะทำการครอบฟัน และกรอฟัน เลือกสีฟันที่เหมาะสมและเข้ากับสีฟันซี่อื่น ๆ ก่อนจะพิมพ์ปากอีกครั้งเพื่อส่งทำครอบฟันถาวร และจะใส่ครอบฟันชั่วคราวซึ่งส่นใหญ่ทำจากเรซิ่นหรืออคริลิกและติดด้วยกาวสามารถเอาออกได้ง่าย

  1. ประมาณ 1 สัปดาห์หลังจากพิมพืปากครั้งที่ 2  ทันตแพทย์จะทำการนัดมาทำการลองครอบฟัน อาจมีการกรอแต่งเล็กน้อยเพื่อให้ครอบฟันลงได้พอดี เช็คการสบฟัน ขอบเหงือก รอยต่อระหว่างขอบของครอบฟัน และผิวเคลือบฟัน บริเวณสัมผัสระหว่างครอบฟันและฟันธรรมชาติ สีของครอบฟัน และทำการยึดครอบฟันโดยใช้กาวยึดทางทันตกรรมเป็นการนำครอบฟันชั่วคราวออกและยึดครอบฟันถาวร
  2. ทันตแพทย์จะนัดกลับมาเช็คอาการต่างๆหลงใส่ครอบฟัน อนามัยช่องปาก แต่ละครั้งห่างกันประมาณ 5-7 วัน หรืออาจนานกว่านั้นเมื่อเข้าที่แล้ว จะนัดให้มาตรวจเช็คทุก 6 เดือน

การดูแลรักษาครอบฟัน

1.มาตรวจเช็คทุก ๆ 6 เดือน

2.การแปรงฟันวันละ 2 ครั้ง 

3.ใช้ไหมขัดฟันโดยเฉพาะบริเวณที่มีการครอบฟัน 

4.การบ้วนปากด้วยน้ำยาบ้วนปากที่ต่อต้านแบคทีเรียอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง

5.ไม่ใช้ฟันบดเคี้ยวรุนแรง เช่น การเคี้ยวน้ำแข็ง หรือใช้ฟันเปิดหรือฉีกผลิตภัณฑ์อาหาร เป็นต้น 

ครอบฟันด้วยเรซิ่น

ปัญหาที่เกิดจากการครอบฟัน

การครอบฟันอาจทำให้เกิดอุปสรรคในการใช้ชีวิตประจำวันอยู่บ้าง เช่น

1.รู้สีกไม่สบายฟันหรือเสียวฟัน ฟันที่ทำการครอบใหม่ อาจมีความรู้สึกที่ไวกว่าปกติหรือมีอาการเสียวฟันเมื่อฤทธิ์ของยาชาหมดลง 

2.อาการแพ้ วัสดุที่ใช้ในการทำครอบฟัน อาจก่อให้เกิดการแพ้ได้ พบได้น้อยมาก 

3.ครอบฟันหลวม บางครั้งสิ่งที่ใช้สำหรับยึดเกาะที่ครอบฟันอาจหลุด หากมีความรู้สึกว่าที่ครอบฟันหลวม ควรติดต่อทันตแพทย์

4.ครอบฟันแตกหรือร้าว หากครอบฟันแตกเพียงเล็กน้อยก็สามารถใช้คอมโพสิตเรซิ่นในการซ่อมแซมได้ แต่หากแตกกระเทาะมากอาจจำเป็นต้องทำใหม่ ที่สำคัญคือควรรีบพบทันตแพทย์เพื่อทำการแก้ไข

5.ครอบฟันหลุด ส่วนใหญ่เกิดจากการที่ครอบฟันไม่พอดีกับฟัน สิ่งยึดที่ครอบฟันกับฟันไม่เพียงพอ หรือรูปร่างของฟันเล็กเกินไป ทำให้ที่ครอบฟันไม่สามารถยึดเกาะได้

ฟันมีความสำคัญต่อภาพลักษณะและการดำเนินชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก เพราะฉะนั้นเมื่อพบปัญหาจึงควรรีบปรึกษาทันตแพทย์เพื่อทำการแก้ไข การครอบฟันเป็นการช่วยรักษาฟันแท้เอาไว้ให้อยู่ยาวนานขึ้น และทำให้สามารถใช้ฟันแท้ยังบดเคี้ยวอาหารได้ตามธรรมชาติ รวมไปถึงการทำให้ฟันเรียงสวยเสริมสร้างความมั่นใจในการยิ้มและเข้าสังคมอีกด้วย 

Back To Top