นอนตอนเย็น ร่างกายปรับอุณหภูมิไม่ทัน

นอนตอนเย็น

ความเครียดจากภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ทำให้การพักผ่อนและผ่อนคลายเกิดขึ้นได้ยากมาก นอกจากจะใช้วิธีที่สอดคล้องกับการดำเนินชีวิตมาปรับเปลี่ยนและประยุกต์แทน เช่นการเลือกชนิดอาหารรับประทาน ปรับเปลี่ยนกิจกรรม การออกกำลังกาย ปรับเปลี่ยนการนอน ซึ่งการนอนหลับสนิท คือ การผ่อนคลายและคลายความเครียดที่ดีที่สุด การนอนหลับยังมีระยะการนอนที่แตกต่างกัน โดยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะหลับธรรมดา และระยะหลับฝัน ดังนี้

ระยะหลับธรรมดา มี 3 ระดับด้วยกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับรูปแบบการทำงานของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในสมอง ดังนี้

ระดับที่ 1 (Stage N1 Sleep) คือ ระยะที่ร่างกายเปลี่ยนจากภาวะตื่นตัวเข้าสู่การนอนหลับลึก ถือเป็นระยะการนอนหลับขั้นแรก 

ระดับที่ 2 (Stage N2 Sleep) คือ ระยะที่ร่างกายนอนหลับสนิท คิดเป็นร้อยละ 40-50 ของช่วงเวลานอนหลับ

ระดับที่ 3 (Stage N3 Sleep) คือ ระยะที่ร่างกายนอนหลับลึกและอาจเกิดอาการละเมอได้ คิดเป็นร้อยละ 20 ของช่วงเวลานอนหลับ ผู้คนมักนอนหลับลึกในช่วงครึ่งแรกตอนกลางคืน เป็นช่วงที่ร่างกายหลั่งโกรทฮอร์โมนและฮอร์โมนอื่น ๆ ออกมา มีการซ่อมแซมเนื้อเยื่อ สร้างกระดูก กล้ามเนื้อ และภูมิคุ้มกัน การนอนหลับในระยะนี้จึงมีสำคัญมาก

ระยะหลับฝัน จะเข้าสู่การนอนระยะหลับฝันหลังหลับไปได้ 90 นาที การนอนหลับระยะนี้แตกต่างกับการนอนหลับระยะอื่น โดยคลื่นสมองยังทำงาน กล้ามเนื้อลายจะไม่เคลื่อนไหว ยกเว้นกล้ามเนื้อส่วนที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของดวงตา โดยการนอนระยะนี้คิดเป็นร้อยละ 20-25 ของเวลาที่นอนหลับ เป็นระยะการนอนที่ปลุกให้ตื่นได้ยาก 

นอนหลับตอนเย็น

หลาย ๆ คนที่นอนหลับตอนกลางวันหรือนอนหลับตอนเย็นแล้วฝันร้ายบ่อย ๆ ก็เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น บางคนอาจนอนในที่ที่ร้อนมาก นอนผิดที่ผิดทาง เช่น นอนบนโซฟา นอนฟุบบนโต๊ะ หรือหลับคาเก้าอี้ การนอนหลับในสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม ก่อให้เกิดความไม่สบายกายเช่นนี้อาจนำไปสู่การเกิดฝันร้ายได้ ท้องว่าง ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ ก่อให้เกิดฝันร้ายได้

การนอนช่วงเวลาโพล้เพล้นั้นไม่ดี หรือ ที่ปู่ย่าตายายกำชับไว้หนักหนาว่า  ห้ามนอนทับตะวัน คนโบราณได้นำโบราณอุบายมาขู่ เพื่อสอนให้ลูกหลานรู้จักหน้าที่ความรับผิดชอบ เพราะว่าถ้าปล่อยให้ลูกหลานนอนหลับยาวไปจนค่ำก็จะเป็นการสร้างลักษณะนิสัยที่ไม่ดี ต่อไปก็จะกลายเป็นคนขี้เกียจสันหลังยาวได้

คนที่นอนหลับช่วงเย็น ๆ หลัง 16.00 น. จะตื่นมาพร้อมอาการปวดศรีษะที่รุนแรงกว่า การนอนตั้งแต่ช่วงเย็นแล้วตื่นมาอีกครั้งในช่วงหัวค่ำ ซึ่งบรรยากาศมืดมัว ก็ส่งผลให้ร่างกายต้องปรับตัว ปรับอุณหภูมิกันวุ่นวายไปหมด ดังนั้นจึง ปวดศีรษะ ปวดเนื้อปวดตัวเหมือนจะเป็นไข้รุม ๆ โดยเฉพาะคนที่สะดุ้งตื่นขึ้นมาแล้วลุกทันที 

วิธีป้องกันการปวดศรีษะจากการนอนตอนเย็น

ฉะนั้นคนที่อดไม่ใจไม่ไหว พักอยู่บ้านเมื่อไรเป็นต้องนอนกลางวันตลอด มีทางออกที่จะช่วยเลี่ยงอาการปวดศรีษะหลังตื่นนอนได้ โดยทำตามนี้

1.เมื่อลืมตาตื่นขึ้นให้นอนนิ่ง ๆ สักพัก จากนั้นจึงค่อย ๆ ลุกและนั่งอย่างน้อยประมาณ 3 นาทีเป็นอย่างต่ำ แล้วจึงค่อย ๆ ลุกเดินไปทำกิจกรรมตามปกติ เพื่อให้เวลาเลือดไหลเวียนได้อย่างค่อยเป็นค่อยไป 

2.ดื่มน้ำเยอะ ๆ หลังตื่นนอน น้ำจะเป็นตัวช่วยให้เลือดไหลเวียนสะดวกยิ่งขึ้น อีกทั้งภาวะร่างกายขาดน้ำ ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งของอาการปวดหัวได้

3.รับประทานกล้วยหอม 1 ลูก กล้วยหอมมีโพแทสเซียมค่อนข้างเยอะ ช่วยบรรเทาอาการปวดศรีษะ ลดอาการวิงเวียนได้

4.ควรงีบหลับในช่วงระหว่าง 13.00-15.00 น. เพราะช่วงนี้จะเป็นช่วงที่นาฬิกาชีวิตหรือวงจรการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ต้องการการพักผ่อน ร่างกายและสมองจะมีการตอบสนองช้าลง จึงเหมาะแก่การหลับลึกในช่วงเวลาสั้น ๆ เป็นอย่างดี

5.ควรงีบหลับไม่เกิน 45 นาที เพราะถ้าหลับเพลินเกินกว่านั้น ร่างกายก็ต้องเหนื่อยกับการปรับตัวตอนตื่นกันอีกแล้ว ซึ่งนั่นก็จะทำให้เกิดอาการปวดหัวอย่างที่เคยเป็นได้ง่าย ๆ

6.เปิดไฟนอนตลอดช่วงที่งีบหลับ เพื่อให้ร่างกายได้รับแสงอยู่เสมอ อีกทั้งการเปิดไฟนอนจะช่วยไม่ให้เราหลับลึกจนเกินเวลาด้วย

7.จิบกาแฟก่อนงีบสัก 15 นาที คาเฟอีนในกาแฟจะช่วยลดโอกาสเกิดอาการปวดหัวหลังตื่นนอนได้

8.พยายามอย่ารับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตและน้ำตาลเยอะจนเกินไป ร่างกายกจะเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำตาล ทำให้น้ำตาลในเลือดสูง ส่งผลให้คุณรู้สึกง่วงหนักมาก และตื่นมาพร้อมกับอาการอ่อนเพลียได้ ดังนั้นเลือกกินอาหารที่อุดมไฟเบอร์และอาหารที่ครบ 5 หมู่ในสัดส่วนที่เหมาะสมจะดีกว่า

วิธีป้องกันการปวดศรีษะจากการนอนตอนเย็น

9.การงีบหลับกลางวันจริง ๆ แล้วเป็นสิ่งที่ดีต่อร่างกายนะคะ เพราะช่วยปลุกความสดชื่นให้เราได้อย่างเต็มที่ ถ้าจะหลับก็เอาแป๊ปเดียวพออย่าเกิน 20-30 นาทีเลย

10.การนอนหลับไม่เพียงพอในตอนกลางคืน มักทำให้ต้องทนความง่วงในตอนกลางวันไม่ได้ 

ทารก ควรนอนหลับวันละ 16-18 ชั่วโมง

เด็กเล็กก่อนวัยเรียน ควรนอนหลับวันละ 10-12 ชั่วโมง

เด็กโตที่เข้าเรียนและวัยรุ่น ควรนอนหลับอย่างน้อย 9 ชั่วโมง

ผู้ใหญ่ ควรนอนหลับ 7-9 ชั่วโมง

11.งดทำกิจกรรมที่กระตุ้นในเวลากลางคืน และเข้านอนไม่เกิน 23.00 น.

ข้อสำคัญ การนอนช่วงเวลากลางวันคร่อมกลางคืนตั้งแต่ตอนเย็นจนค่ำ อุณหภูมิอากาศจะเปลี่ยนแปลงจากกลางวันเข้าสู่กลางคืน ทำให้การนอนในช่วงเวลานั้น ร่างกายจะปรับอุณหภูมิไม่ทัน อาจทำให้เมื่อตื่นแล้วจะรู้สึกปวดศรีษะ ไม่สบายเนื้อสบายตัว

และถ้าหากนอนหลับช่วงบ่ายแก่ ๆ ที่แสงแดดยังจ้า แล้วตื่นมาอีกทีตอนค่ำ ๆ ที่แสงเหลือน้อย ร่างกายก็ต้องรีบปรับโทนของหลอดเลือดแบบทันทีทันใด ทำให้เส้นเลือดขยายตัวแบบปุบปับ จึงเป็นสาเหตุให้มีอาการปวดศรีษะ มึนงง อ่อนเพลีย ไม่สบายเนื้อไม่สบายตัว หรือบางคนอาจถึงกับเป็นไข้เลยก็ได้ ดังนั้นแนะนำให้นอนเป็นเวลา การพักนอนหลับในเวลากลางคืนเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุด เพราะจะนอนหลับสนิทสิ่งรบกวนก็มีน้อยทำให้ร่างกายได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ ทำให้มีพลังในการใช้ชีวิตในวันถัดไปอย่างสดชื่น

Back To Top