ปากนกกระจอก (Angular Cheilitis)

ปากนกกระจอก

ปากนกกระจอก (Angular Cheilitis) เป็นโรคที่พบได้ในทุกเพศทุกวัย แม้จะไม่มีอันตรายร้ายแรงและไม่ใช่โรคติดต่อ แต่ก็สร้างความรำคาญ ความวิตกกังวล และความเจ็บปวดได้เป็นอย่างมาก เพราะทำให้มีอุปสรรคต่อการรับประทานอาหารหรือการพูดคุย อีกทั้งโรคนี้ก็เป็นโรคที่สามารถเกิดซ้ำได้อีกถ้าแก้ปัญหาไม่ถูกจุด แต่จะหายไปได้เองภายใน 7-10 วัน

ปากนกกระจอก คือ ภาวะอักเสบที่เกิดขึ้นตรงมุมปาก โดยจะเกิดอาการเจ็บปาก ปากแห้งและแตก เป็นแผล อาจมีรอยแดง บวม และตึงที่มุมปากข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง อาการอาจจะมีเพียง  2-3 วัน หรือนานกว่านั้น และมีสาเหตุมาจากภาวะการขาดวิตามินบี 2 ธาตุเหล็ก โปรตีน โรคเชื้อรา การติดเชื้อแบคทีเรีย โรคผื่นแพ้กรรมพันธุ์

อาการของโรคปานกกระจอก

ลักษณะเป็นแผลเปื่อย มีรอยแตกเป็นร่องที่มุมปาก ลัเป็นสีเหลือง ๆ ขาว ๆ เริ่มจากปวดแสบร้อนที่ริมฝีปากและลิ้น ต่อมาจะมีรอยแผลแตกที่มุมปาก ทำให้เวลาพูดหรืออ้าปากจะรู้สึกตึงและเจ็บ ถ้าเลียบริเวณแผลก็จะยิ่งทำให้แผลแห้งและตึงมากขึ้น  อาการที่เกิดจะเกิดที่มุมปากข้างเดียวหรีอทั้ง 2 ข้างก็ได้ และอาจมีอาการอื่น  ๆ  ร่วมด้วย ดังนี้

1.มีรอยแดงและเลือดออกบริเวณมุมปาก

2.เกิดตุ่มพองขึ้นมา เป็นแผล มีของเหลวไหลเยิ้มออกมา หรือเกิดสะเก็ดแผลที่มุมปาก มีเลือดออก

3.ริมฝีปากแห้งและแตก ปากลอก โดยปากอาจตึง ๆ  ซึ่งทำให้รู้สึกไม่สบายปาก

4.รู้สึกคันระคายเคืองตรงบริเวณมุมปาก ทำให้อ้าปากลำบากและรับประทานอาหารลำบาก อาจส่งผลให้ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอหรือน้ำหนักตัวลดลง

5.เกิดอาการบวมบริเวณมุมปาก อ้าปากไม่สะดวก

อาการของโรคปานกกระจอก

สาเหตุของปากนกกระจอก

โรคปากนกกระจอกส่วนใหญ่แล้วคนมักเข้าใจว่าเกิดได้จากการขาดวิตามินบี 2 เพียงอย่างเดียว ที่จริงแล้วการติดเชื้อราที่ผิวหนังถือเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุด เชื้อแคนดิดา (Candida) เป็นเชื้อชนิดเดียวกับที่ทำให้เกิดโรคผื่นผ้าอ้อมในเด็กทารก นอกจากนี้ยังเกิดจากสาเหตุอื่นได้ ดังนี้

1.น้ำลายจากการเลียปาก ทำให้ปากแห้งและแตกริมฝีปากแห้ง จากนิสัยส่วนตัวที่ชอบเลียปากหรือจากการที่อากาศหนาวเย็นที่พบได้บ่อยในช่วงฤดูหนาว ทำให้เชื้อราตรงแผลที่มีอยู่ก่อนแล้วเจริญและแบ่งเซลล์มากขึ้น จนนำไปสู่การติดเชื้อได้ 

2.มุมปากตก เนื่องจากริมฝีปากบนคร่อมริมฝีปากล่างมากเกินไป ผิวหนังรอบปากห้อยลงมา เนื่องจากอายุมากขึ้นผู้สูงอายุที่ไม่มีฟัน จึงมีรูปปากที่ผิดปกติ ทำให้เกิดการกดทับที่มุมปากและกลายเป็นจุดอับชื้น หรือน้ำหนักลดลง ทำให้รอยย่นที่มุมปากลึกมาก

3.เกิดการติดเชื้อที่ปากได้ลุกลามขึ้น เช่น เชื้อแบคทีเรีย เชื้อราจากโรคเชื้อราในช่องปาก หรือเชื้อไวรัสจากโรคเริมที่ริมฝีปาก ที่มักพบตุ่มน้ำใสเกิดขึ้นที่บริเวณริมฝีปาก

4.ปัญหาจากโรคผิวหนัง เช่น เป็นโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังในเด็ก (Atopic dermatitis) โรคผิวหนังอักเสบเซบเดิร์ม (Seborrheic dermatitis) ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคปากนกกระจอกที่พบได้บ่อยที่สุด

5.การขาดสารอาหาร โรคปากนกกระจอกมักเกิดจากการขาดวิตามินบี 2 หรือ ไรโบฟลาวิน (Riboflavin) การขาดธาตุเหล็ก วิตามินซี และโปรตีน 

6.ภาวะน้ำลายออกมากกว่าปกติ  เช่น คนที่นอนหลับแล้วน้ำลายไหลเป็นประจำ คนที่พูดแล้วมักมีน้ำลายเอ่อที่มุมปาก เมื่อน้ำลายหรือเหงื่อมาอยู่บริเวณนั้นมากขึ้นก็จะทำให้เกิดเป็นแผลระคายเคืองที่มุมปากได้ ต่อมาอาจเกิดการติดเชื้อแทรกซ้อนจากเชื้อราหรือเชื้อแบคทีเรียตามมาได้อีก ทำให้เกิดการระคายเคืองของผิวหนังที่มุมปากจนเกิดเป็นแผลได้ง่ายยิ่งขึ้น

7.การแพ้หรือระคายเคือง เช่น การแพ้อาหาร แพ้ลิปสติก หรือยาสีฟัน  ทำให้ปากแห้งแตก

8.ผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิด เช่น ยากินรักษาสิวประเภทกรดวิตามินเอ (Isotretinoin) ยาเรตินอยด์ เช่น รับประทายาไอโซเตรทติโนอิน (Isotretinoin) เพื่อรักษาสิว หรือรับประทานยาอะซิเทรติน รักษาโรคสะเก็ดเงิน ที่มีผลทำให้ผิวแห้งลงและเกิดแผลที่มุมปากได้ง่ายขึ้น

9.ความเครียด 

10.การสูบบุหรี่ 

11.การถ่ายทอดทางพันธุกรรม

ปัจจัยเสริม ที่ทำให้เป็นโรคปกนกกระจอกประกอบด้วย

1.มีเชื้อราในช่องปาก โดยมักเกิดกับเด็กทารกหรือผู้สูงอายุ รวมทั้งผู้ที่ป่วยเป็นเบาหวาน ได้รับยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ หรือใช้ยาปฏิชีวนะ

2.ใส่ฟันปลอมเกี่ยวข้องกับปัญหาเหงือกร่น  โดยเฉพาะฟันปลอมที่ไม่พอดีกับขนาดของช่องปาก

3.จัดฟัน เพราะต้องใส่ยางสำหรับจัดฟัน จึงส่งผลให้มีน้ำลายล้นออกมาหมักหมมอยู่ที่มุมปาก

 4.โรคที่มีการอักเสบของระบบทางเดินอาหาร (Inflammatory Bowel Disease: IBD) เช่น ลำไส้อักเสบ หรือโรคโครห์น (Crohn Disease)

5.ป่วยเป็นโรคที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรม เช่น ดาวน์ซินโดรม (Down Syndrome)

7.ป่วยเป็นโรคอื่น ๆ เช่น ตับ ปอด หรือตับอ่อน ติดเชื้อเอชไอวี และโรคที่เกี่ยวกับภูมิคุ้มกันร่างกาย

8.โรคพิษสุรา โรคตับ หรือท้องเดินเรื้อรัง ผู้ที่มีอาการเบื่ออาหาร หรือมีความผิดปกติของการดูดซึมของลำไส้

การรักษาปากนกกระจอก 

การรักษาปากนกกระจอก 

แนะนำให้ปฏิบัติตัวดังต่อไปนี้

1.การรับประทานวิตามินบี 2 หรือวิตามินบีรวมวันละ 1-3 เม็ด จนกว่าจะหาย 

2.รับประทานอาหารประเภทข้าวซ้อมมือหรือข้าวกล้อง ผักและผลไม้ซึ่งอุดมไปด้วยวิตามินบี 2 อยู่เป็นประจำ

3.รักษาความสะอาดของริมฝีปากและช่องปากให้ดี ควรแปรงฟันและบ้วนปากให้สะอาดหลังการรับประทานอาหาร แล้วแผลเปื่อยที่มุมปากก็จะหายไปเองในที่สุด

4.ไปพบแพทย์เพื่อรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ

5.ดื่มน้ำให้มาก ๆ และงดการดื่มแอลกอฮอล์และชา เพราะจะไปรบกวนการดูดซึมวิตามิน

6.ควรเช็ดมุมปากให้แห้งอยู่ตลอดเวลา เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการอับ

  1. เลิกเลียริมฝีปากและมุมปาก เพราะทำให้เกิดการอักเสบของแผลและการติดเชื้อแบคทีเรียได้ แผลไม่หายและอาจมีอาการแย่ลงกว่าเดิม

8.ควรรักษาความสะอาดของเครื่องนอน เช่น ผ้าห่ม ปลอกหมอน รวมไปถึงผ้าเช็ดหน้าที่ใช้เป็นประจำ

9.ในกรณีที่ไม่มีฟนและยังไม่ได้ใส่ฟันปลอม ควรไปพบทันตแพทย์เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น

10.ทาปากด้วยครีมทาปาก ปิโตรเลี่ยมเจลลี่ ลิปบาล์ม หรือขี้ผึ้งที่มีส่วนผสมของวิตามินอีอยู่เสมอ ก็จะช่วยบรรเทาอาการเจ็บ และอาจ ใช้ยาป้ายแผลในปาก เช่น Kenalog in Orabase (ขี้ผึ้งป้ายปาก) ช่วยบรรเทาอาการอักเสบหรือแผลเปื่อยในปาก 

11.งดการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ก่อให้เกิดอาการแพ้หรือระคายเคือง เช่น ลิปสติก ยาสีฟัน

12.สมุนไพรบางชนิดก็สามารถช่วยรักษาแผลโรคปากนกกระจอกให้หายได้เร็วขึ้นได้ เช่น เปลือกต้นมะขามเทศ นำไปต้มแล้วนำน้ำมาอมหลังจากแปรงฟันทุกครั้งจะช่วยทำให้แผลในปากค่อย ๆ บรรเทา ทุเลาลง ฟองข้าวสีขาวที่ได้จากข้าวที่กำลังสุกมาใช้ทาบริเวณที่เป็นแผลจะช่วยบรรเทาความเจ็บปวดและช่วยทำให้แผลหายเร็วขึ้นได้

13.การรักษาด้วยยาต้านเชื้อรา เมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าเกิดจากการติดเชื้อรา จะได้รับการรักษาด้วยยาต้านเชื้อรา 

14.การรักษาด้วยยาต้านแบคทีเรีย ซึ่งมีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรีย จะได้รับยาต้านเชื้อแบคทีเรียที่ใช้รักษาปากนกกระจอก

15.น้ำยาฆ่าเชื้อ (Antiseptics) อาจจะใช้น้ำยาฆ่าเชื้อล้างแผลบริเวณที่ผิวหนัง เพื่อทำความสะอาดและลดการติดเชื้อ

16.ยาสเตียรอยด์ชนิดทา เป็นยาที่ใช้ต้านอาการอักเสบที่มีประสิทธิภาพ มีทั้งแบบครีม ขี้ผึ้ง และแบบอื่น ๆ ยาสเตียรอยด์ชนิดทาจะส่งผลต่อการทำงานของร่างกาย ได้แก่ ต้านอาการอักเสบ กดภูมิคุ้มกัน 

17.ผลิตภัณฑ์บำรุงความชุ่มชื้น จะช่วยบรรเทาอาการปากแห้งแตกและรักษาอาการระคายเคืองผิวหนัง

การป้องกันปากนกกระจอก

โรคปากนกกระจอกสามารถป้องกันได้ โดยเริ่มจากการดูแลตัวเอง ซึ่งสามารถทำได้ ดังนี้

1.ไม่ควรกัดหรือเลียริมฝีปากเมื่อปากแห้งหรือแตก ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสียใหม่ก็จะช่วยลดโอกาสการเกิดแผลที่มุมปากได้ การกัดปากจะทำให้เลือดออกและแผลหายได้ช้า ที่สำคัญน้ำลายที่เลียริมฝีปากจะล้างความชุ่มชื้นของผิวหนังออกไป ส่งผลให้ปากแห้งกว่าเดิม 

2.ควรทาลิปบาล์มที่ผสมเจลหรือขี้ผึ้งเป็นประจำเมื่อเกิดอาการปากแห้ง โดยเลือกผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยนต่อผิว ไม่ก่อให้เกิดอาการระคายเคือง หากใช้แล้วแพ้ควรหยุดใช้แล้วเปลี่ยนไปใช้ยี่ห้ออื่นทันที

3.ผู้ที่ใส่ฟันปลอมควรหมั่นดูแลความสะอาดของฟันปลอมอยู่เสมอ รวมทั้งไม่ใส่ฟันปลอมขณะนอนหลับ

4.ควรรักษาความสะอาดช่องปากและรับการรักษาอย่างสม่ำเสมอ ป้องกันการติดเชื้อหรืออักเสบในช่องปาก

5.งดสูบบุหรี่

6.การรับประทานอาหารที่มีวิตามินบี 2 เช่น ปลา ตับ ไต ถั่ว นม ไข่แดง ผักใบเขียว ผักหวานป่า โยเกิร์ต ชีส และรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็ก เช่น เนื้อแดง ตับ หอย ไข่แดง หน่อไม้ฝรั่ง ผักกูด ผักแว่น ถั่วฝักยาว ใบแมงลัก ใบกะเพรา เห็ดฟาง ธัญพืช ถั่วชนิดต่าง ๆ

โรคปากนกกระจอกสามารถรักษาได้ โดยแพทย์จะรักษาบริเวณที่ติดเชื้อและต้องดูแลบริเวณมุมปากให้แห้งแต่มีความชุ่มชื่น ที่สำคัญต้องรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ด้วยการออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ ไม่เลียปาก รักษาความสะอาดในช่องปากอย่างสม่ำเสมอด้วย

 

Back To Top