วิธีแก้อาการปวดหัวจากความเครียด

แก้อาการปวดหัวจากความเครียด

อาการปวดหัวเป็นอาการที่เกิดขึ้นบ่อยในชีวิตประจำวันของคนวัยทำงาน มาจากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นไข้ ไข้หวัด หรือเมื่อคืนดื่มหนักไปหน่อย เช้ามาก็ปวดหัว เล่นโทรศัพท์มากไป ทำให้หลาย ๆ คนมักจะคว้ายาแก้ปวดมารับประทานตลอด ซึ่งไม่ใช่เรื่องดี เราไม่ควรรับประยาแก้ปวดพร่ำเพื่อ ควรหยุดพฤติกรรมรับประทานยาแก้ปวดบ่อย ๆ ได้แล้ว เพราะนอกจากจะทำให้ตับพังไม่รู้ตัว ยังเป็นการแก้ที่ปลายเหตุอีกด้วย

อาการปวดหัวจากความเครียดพบได้ในทุกวัย เริ่มมีอาการครั้งแรกตั้งแต่วัยรุ่นหรือวัยหนุ่มสาว และมีอาการกำเริบบ่อยในช่วงอายุ 20-50 ปี พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย 1.5-2  เท่า อาการมีหลากหลาย ไม่ว่าจะปวดหัวเล็กน้อยถึงปานกลาง ปวดดื้อๆ ปวดบีบๆ รู้สึกเหมือนมีอะไรมารัดหัว อาจเจ็บแปล๊บๆ ที่หนังหัว บางคนปวดข้างเดียว ปวดมาที่กระบอกตา คล้ายไมเกรนแต่มักไม่มีอาการทางระบบประสาท เช่น ไม่มีอาการทางสายตา ไม่มีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย 

อาการปวดหัวอาจมีอาการเป็นครั้งคราว นานๆ ปวดครั้ง แต่ละครั้งอาจปวดนานเป็นชั่วโมง หรือเป็นวัน แต่บางคนอาจปวดเรื้อรัง ปวดแทบทุกวัน เดือนหนึ่งๆ ปวดมากกว่า 15 วัน กรณีอย่างนี้ อาจมีภาวะซึมเศร้าร่วมด้วย

สาเหตุที่ทำให้ปวดหัว 

กล้ามเนื้อรอบๆ หัวมีการเกร็งตัวเป็นผลมาจากความเครียด คร่ำเคร่งกับงาน ความหิว อดนอน อ่อนเพลีย และอาจพบร่วมกับโรคไมเกรน โรควิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า ความผิดปกติทางอารมณ์หรือการปรับตัว

อาการปวดหัวจากความเครียด

วิธีดูแลตัวเองและวิธีแก้อาการปวดหัวจากความเครียด

1.พักสายตาจากการทำงาน ช่วยคลายความเครียด พักผ่อนร่างกายและจิตใจ แก้ปวดหัวได้

2.เยียวยาอาการปวดหัวด้วยตัวเอง พัก อยู่ในที่เงียบๆ ไม่มีสิ่งรบกวน ทั้งเรื่องแสง เสียง ความร้อนอุณหภูมิ

3.เปลี่ยนอิริยาบถจากงานประจำที่ทำอยู่ ไปทำกิจกรรมอย่างอื่นเพื่อเป็นการพักสมอง เช่น ปลูกต้นไม้ ฝึกวิธีนวดหรือบริหารคลายเครียด อ่านหนังสือ หรือ ฟังธรรม

4.พักผ่อนหรือนอนหลับสักเล็กน้อย การสังสรรค์กับเพื่อนฝูง ญาติมิตร 

5.จิบเครื่องดื่มร้อน ๆ สักถ้วย โดยเฉพาะเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีน เพราะกาเฟอีนมีฤทธิ์ลดอาการปวดหัวได้และช่วยคลายอาการปวดหัวได้

6.พยายามเลี่ยงน้ำหอม เนื่องจากมีสารเคมี สูดดมมาก ๆ จะไม่เป็นผลดีต่อร่างกาย 

7.เปลี่ยนองค์ประกอบต่างๆ เช่น สี หรือการจัดห้องให้รู้สึกสบาย ไม่อุดอู้ ปลอดโปร่ง มีผลต่อให้คลายเครียด

11.ใช้ยาหอม ยาหอมมีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการวิงเวียนแล้ว ยังช่วยคลายจากอาการปวดหัวได้เช่นกัน ใช้สูดดมหรือชงดื่มกับน้ำร้อน กลิ่นหอมของยาที่ระเหยยังช่วยบำบัดอาการปวดหัวได้อีกทางหนึ่ง

12.ใช้กลิ่นบำบัด เลือกกลิ่นที่ทำให้รู้สึกสบาย เพราะกลิ่นต่าง ๆ จากธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นกลิ่นส้ม กลิ่นลาเวนเดอร์หรือน้ำมันหอมระเหยของไทย จะใช้ได้ผลดีและปลอดภัยที่สุด ที่แต่ละกลิ่นก็มีคุณสมบัติช่วยให้ผ่อนคลาย ลดอาการอักเสบ หรือช่วยระบบย่อยอาหารแตกต่างกันไป ลองเลือกน้ำมันเปปเปอร์มิ้นต์ หรือลาเวนเดอร์ ที่มีคุณสมบัติช่วยลดอาการปวดหัว ความเครียด หรือไมเกรนได้โดยตรง

13.ออกกำลังกาย การขยับร่างกาย แม้เพียงเล็กน้อย และรับอากาศบริสุทธิ์ให้เพียงพอ จะช่วยลดโอกาสเกิดอาการปวดหัว เพราะช่วยกระตุ้นให้ระบบไหลเวียนของร่างกายทำงานได้ดีขึ้น ผ่อนคลายกล้ามเนื้อรอบศีรษะและยังทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนเอ็นดอร์ฟิน ที่เป็นสารบรรเทาอาการปวดตามธรรมชาติในร่างกาย เพียงแค่วิ่งเหยาะ ๆ หรือออกกำลังกายด้วยท่าง่าย ๆ อยู่กับที่สัก 15 นาที รับรองว่าอาการปวดหัวจะดีขึ้น

14.กดนวดตัวเองคลายปวดหัว บรรเทาอาการปวดหัว ด้วยการกดนวดบริเวณศีรษะด้วยตัวเอง มีขั้นตอนง่าย ๆ ดังนี้

     14.1. นวดบริเวณด้านหลังต้นคอ บีบขยำเบาๆ และนวด ที่กล้ามเนื้อหัวไหล่สลับกันทั้งซ้ายขวา

     14.2. นวดโดยใช้นิ้วหัวแม่มือ กดแรงๆ บริเวณกล้ามเนื้อของ กระดูกต้นคอทั้งสองข้าง และใช้นิ้วอื่นๆ ที่เหลือกดนวดบริเวณ หลังใบหู

     14.3. ใช้นิ้วชี้กดนวดขมับแรงๆ นับ 1 – 10 จากนั้นไล่นิ้วไปตาม แนวคิ้วจนถึงหน้าผาก แล้วกดนิ้วชี้ลงแรงๆ บริเวณนั้น นับ 1 – 10

     14.4. นวดเป็นแนวจากต้นคอด้านหลังเรื่อยลงมายังหัวไหล่ ระวังอย่านวดบริเวณด้านหน้าหรือหลอดลม

15.นวดกดจุด และยืดกล้ามเนื้อ ถ้าอาการตึงของกล้ามเนื้อคอ บ่า ไหล่ร่วมด้วย แสดงว่าเกิดจากการทำงานหนักของกล้ามเนื้อคอ และบ่า นวดกดไว้จนกล้ามเนื้อมัดที่จับเป็นก้อนเริ่มคลายตัว หลังจากนั้นให้ยืดกล้ามเนื้อคอ โดยใช้มือขวาดึงศีรษะเอียงไปด้านขวาค้างไว้ 10 วินาที แล้วสลับข้าง อาการปวดหัวจะผ่อนคลายลง

16.เติมน้ำให้ร่างกาย คนที่ปวดศีรษะเป็นประจำเป็นคนไม่ค่อยดื่มน้ำ เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ปวดหัว ให้ดื่มน้ำเปล่าให้มากขึ้น หรือน้ำมะนาวใส่น้ำผึ้งนิดหน่อย หรือน้ำขิงอุ่น ๆ หรืออาจจะเป็นชาเปปเปอร์มิ้นท์ ที่มีกลิ่นที่ช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะลงได้

17.การฝังเข็มจะช่วยลดอาการปวดได้

18.ใช้ความเย็น (น้ำแข็ง) ประคบศีรษะ ต้นคอ แต่บางคนชอบใช้กระเป๋าน้ำร้อนมากกว่า

19.ใช้ยาแก้ปวด แก้อักเสบทั่วไปอย่างแอสไพริน พาราเซตามอล ถ้าต้องใช้ยาที่แรงขึ้น ยาที่ใช้กันประจำ ได้แก่ ibuprofen, naproxen และยาแก้ปวดหัวที่ใช้รักษาไมเกรนก็สามารถใช้ได้ ในกรณีมีภาวะซึมเศร้าร่วมด้วย แพทย์อาจให้ยาคลายเครียด หรือยารักษาอาการซึมเศร้าร่วมด้วย 

อาการปวดหัวที่ “ต้อง” ไปพบแพทย์

อาการปวดหัวที่ “ต้อง” ไปพบแพทย์

1.ปวดหัวรุนแรงอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน

2.อาการปวดหัวมีลักษณะเปลี่ยนแปลงไป เช่น ปวดถี่และมีความรุนแรงขึ้น 

3.ปวดมากขึ้นเรื่อย ๆ แม้จะพักผ่อนหรือ รักษาตนเองแล้ว แต่ไม่ทุเลา

4.มีอาการตาพร่า ตามืดมัว เกิดขึ้นอย่าง ฉับพลัน และเป็นอยู่ไม่หาย

5.มีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น มองเห็นภาพ ซ้อน หรือการมองเห็นภาพค่อยๆ มืดลง คลื่นไส้ อาเจียน ชัก ไข้ขึ้นสูงมาก ซึม ไม่รู้สึกตัว อัมพาต แขนขาอ่อนแรง ชา หรือเดินเซ

6.มีอาการอักเสบ บวม กดเจ็บบริเวณ ศีรษะ ใบหน้า หรือต้นคอ

อาการปวดหัวจากความเครียดหลายคนอาจคิดว่าไม่อันตราย บางคนปล่อยทิ้งไว้ให้หายเอง บางรายสะสมจนถึงขั้นกลายเป็นโรคเรื้อรัง ถ้าเช็คตัวเองเบื้องต้นแล้วมั่นใจว่า สาเหตุอาการปวดหัว ไม่ใช่อาการของโรคทางหลอดเลือดสมอง หรือเนื้องอกสมอง แต่เป็นเพียงปวดหัวจากความเครียด เมื่ออายุมากขึ้น EQ สูงขึ้น รู้จักวิธีควบคุมอารมณ์ได้ดีขึ้นและดูแลตัวเองให้ห่างไกลความเครียด อาการปวดหัวจากความเครียดก็จะหายไปเอง แต่ถ้าปวดไม่หายและรุนแรงขึ้นให้รีบไปพบแพทย์ทันทีเลยนะคะ

 

Back To Top