สมุนไพร แก้ไซนัส

สมุนไพร แก้ไซนัส

ไซนัสอักเสบ ไม่ใช่โรคแปลกใหม่อะไร ได้ยินกันบ่อยครั้งและยาวนานมาก ซึ่งคนทั่วไปมักเรียกสั้น ๆ ว่า เป็นไซนัส เกิดจากการที่โพรงไซนัสติดเชื้อและเกิดอาการอักเสบขึ้น โรคไซนัส เป็นอาการทางระบบทางเดินหายใจคล้ายอาการเป็นหวัด แต่มีอาการที่รุนแรงมากกว่า จะมีอาการปวดตามโพรงจมูก คัดจมูก ปวดบริเวณโหนกแก้ม หน้าผาก และบริเวณหัวคิ้ว แต่สามารถดูแลรักษาเพื่อบรรเทาอาการหรือรักษาให้หายขาดได้หลายวิธี

อาการของโรคไซนัสอักเสบ

เมื่อเป็นไข้หวัดธรรมดา ผู้ป่วยมักจะหายภายใน 7-10 วัน แต่ถ้าเป็นไข้หวัดเกิน 10 วันประกอบกับมี 3 อาการนี้น่าจะเป็นไซนัสอักเสบ คือ แน่นจมูก ปวดบริเวณตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งของโพรงไซนัส มีน้ำมูกหรือเสมหะข้น อาการไซนัสอักเสบ จะแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ตามระยะเวลาการเกิดโรค ได้แก่ 

ไซนัสอักเสบเฉียบพลัน หายภายในระยะเวลา 3 เดือน มีอาการคล้ายกับไข้หวัดหรือภูมิแพ้ทั่วไป 

ไซนัสอักเสบเรื้อรัง ใช้เวลาในการรักษานานเกินกว่า 3 เดือน และมีอาการที่รุนแรงกว่า เช่น

1.มีอาการปวดตื้อๆบริเวณหน้าผาก บริเวณโหนกแก้ม 

2.บางครั้งอาจมีอาการปวดร้าวไปที่ศีรษะ 

3.น้ำมูกมีสีเขียวเหลืองมีกลิ่นเหม็น 

4.ลมหายใจมีกลิ่น จมูกได้กลิ่นน้อยลง และอาจมีอาการไข้ร่วมด้วย

5.เมื่อเป็นไซนัสจะแสดงอาการอย่างไร

รักษาไซนัสอักเสบ

รักษาไซนัสอักเสบ

โรคในระบบทางเดินหายใจมักติดต่อผ่านทางอากาศ ไม่ไปที่ที่มีคนมาก ๆ ถ้าไม่จำเป็น และหมั่นดูแลสุขภาพให้แข็งแรง หากพบว่าตัวเองเป็นไซนัสอักเสบควรปฏิบัติตัวตามแนวทางนี้

1.วิธีสูดไอน้ำร้อน

การสูดอากาศที่อุ่นและชื้นจะทำให้โพรงจมูกโล่งขึ้น ทำให้อาการของโรคบรรเทาลงได้ ขั้นตอนการสูดไอน้ำ มีดังนี้

1.ต้มน้ำให้เดือด จากนั้นเทน้ำร้อนที่เดือดลงในภาชนะหรืออ่างที่ทำจากวัสดุทนความร้อน

2.ในกรณีที่แพทย์สั่งยาให้เติมลงในน้ำเดือด ควรเติมยาลงไปในปริมาณน้อย ๆ ก่อน 

3.ใช้ผ้าผืนใหญ่ ๆ คลุมศีรษะและภาชนะที่ใส่น้ำร้อน จากนั้นยื่นหน้าไปอังอยู่เหนือน้ำร้อน สูดหายใจเข้าออกตามปกติ อาจพักเป็นช่วง ๆ โดยการเอาหน้าออกจากน้ำร้อนเป็นระยะ ๆ

4.ควรสูดไอน้ำร้อนจนกว่าไอน้ำจะหมด หากมีอาการคัดจมูกหรือต้องพ่นยา ควรพ่นยาหลังจากสูดไอน้ำร้อน

2.การล้างจมูก

สามารถทำตามขั้นตอนนี้

1.เตรียมน้ำเกลือล้างจมูกใส่ขวดสำหรับล้างจมูกโดยเฉพาะ

2.ก้มหน้าลงและแหย่ปลายขวดเข้าไปในรูจมูก

3.กลั้นหายใจทางจมูกพร้อมกับอ้าปากค้างไว้

4.ค่อยๆ บีบขวดเบาๆ ให้น้ำเกลือเข้าทางรูจมูกข้างหนึ่ง (ถ้าปลายขวดอยู่ที่รูจมูกข้างขวา น้ำเกลือจะต้องไหลออกทางรูจมูกข้างซ้าย)

5.ทำซ้ำๆ จนรู้สึกว่าน้ำมูกไม่ข้นแล้ว จากนั้นจึงสั่งน้ำมูกที่เหลือออกจนหมด

6.ล้างจมูกอีกข้างหนึ่งด้วยวิธีเดียวกัน

3.สมุนไพร 

สมุนไพรพื้นบ้านที่มีสรรพคุณในการรักษาอาการไซนัสอักเสบ มีหลายชนิด ส่วนใหญ่มีส่วนประกอบของน้ำมันหอมระเหยและมีฤทธิ์ร้อน ช่วยให้เลือดลมไหลเวียนสะดวก ทำให้รู้สึกโล่ง บรรเทาอาการคัดแน่นจมูก 

1.ฟ้าทะลายโจร มีสรรพคุณในการรักษาโรคระบบทางเดินหายใจ แก้อาการปวดหัว น้ำมูกไหล ไซนัสอักเสบ ชนิดไม่รุนแรง หลอดลมอักเสบ คออักเสบ และทอนซิลอักเสบได้ และเสริมภูมิต้านทาน ลดไข้ ช่วยให้จมูกโล่ง และลดอาการเจ็บคอ ระคายคอ วิธีรับประทานฟ้าทะลายโจร รับประทานครั้งละ 1.5-3 กรัม วันละ 4 ครั้ง หลังอาหารและ ก่อนนอน 

สำหรับคนที่ไม่ชอบรสขมแนะนำให้เอาใบฟ้าทะลายโจรสดมาล้างให้สะอาด ผึ่งให้แห้งในที่ร่ม และบดให้เป็นผงละเอียด บรรจุลงในแคปซูลเบอร์ 0 หรือปั้นกับน้ำผึ้งทำเป็นลูกกลอน เก็บไว้ในขวดแห้งและมิดชิด รับประทานครั้งละ 1.5 กรัม  (3-4 แคปซูล)วันละ 4 ครั้ง ก่อนอาหาร 3 มื้อ และก่อนนอน ปัจจุบันมีจำหน่ายตามร้านยาไทยและร้านสะดวกซื้อทั่วไป

2.พริกไทย เนื่องจากในพริกไทยมีสารอาหารสำคัญที่มีส่วนทำให้อาการอักเสบของเยื่อบุจมูกลดลง 

3.หอมแดงสด มีสรรพคุณแก้หวัด คัดจมูก แก้อาการอักเสบและมีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ และช่วยขยายหลอดลม ทำโดยวิธีง่าย ๆ คือ สูดดมไอระเหยจากน้ำต้มหอมเล็ก โดยการเทน้ำประมาณ 3 – 5 ลิตรใส่หม้อใหญ่ ทุบหอมประมาณ 10 – 15 หัวพอแตก ใส่ลงในน้ำ แล้วต้มให้เดือด หลังจากนั้นใช้ผ้าเช็ดตัวผืนใหญ่คลุมศีรษะและปากหม้อสูดหายใจและรมควันประมาณ 5 นาที

4.ขมิ้นชัน เป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ต้านอนุมูลอิสระสูง และมีฤทธิ์เสริมภูมิคุ้มกัน

5.รางจืด ได้ชื่อว่าเป็นราชายาแก้พิษ มีสรรพคุณโดดเด่นเรื่องการล้างพิษ แก้พิษ ลดอาการแพ้ และต้านอนุมูลอิสระ 

6.มะขามป้อม เป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณทางยา ช่วยละลายเสมหะและบำรุงเสียงได้ดีที่สุด ในด้านอายุรเวทใช้แก้ไอ แก้หอบ และรักษาหลอดลมอักเสบ

7.ถั่งเช่า เป็นสมุนไพรที่โดดเด่นด้านระบบทางเดินหายใจ ภูมิแพ้ หอบหืด ขยายและลดการอักเสบของหลอดลม เพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ออกซิเจน เพิ่มภูมิคุ้มกัน

8.กระเทียม มีสารอัลลิซิน ช่วยต่อต้านเชื้อโรค แต่กระเทียมโทนออกฤทธิ์สูงยิ่งกว่ากระเทียมทั่ว ๆไป มีฤทธิ์ทำลายเชื้อได้ดีกว่ายาปฏิชีวะนะ โดยนำหัวกระเทียมมาคั้นกับน้ำอุ่นผสมเกลือเล็กน้อย หลังจากนั้นนำไปกลั้วคอเพื่อฆ่าเชื้อโรคในปาก ลำคอ และช่วยบรรเทาอาการต่อมทอมซิลได้

9.น้ำแอ๊ปเปิ้ลไซเดอร์5 ช้อนโต๊ะกับน้ำอุ่น 1 แก้ว คนให้เข้ากัน ดื่มวันละ 3 แก้ว 4 – 5 วันติดต่อกัน หลังจากอาการบรรเทาลงให้ลดปริมาณน้ำแอ๊ปเปิ้ลไซเดอร์ลงเหลือ 3 ช้อนโต๊ะผสมน้ำ 1 แก้ว

10.หยดน้ำมันละหุ่งประมาณ 5 หยดลงในน้ำดื่ม แนะนำให้ดื่มตอนเช้าดีที่สุด

11.นำเปลือกส้มที่ล้างสะอาดแล้วมาตัดให้ได้ขนาดกว้างยาว 1 นิ้ว ใช้อมหรือเคี้ยวครั้งละ 1 แผ่น

12.ขิงมีฤทธิ์ร้อนจากสารจินพบรอลและโชกาออล ที่ช่วยบรรเทาไข้หวัด นิยมนำขิงมาต้มน้ำกิน หรือนำไปปรุงเป็นของกินก็ได้

13.มะขามป้อม มีสารแทนนินที่มีฤทธ์เหมือนวิตามินซี แต่ออกฤทธิ์แรงกว่าช่วยต้านอนุมูลอิสระ เพิ่มภูมิต้านทาน ทำให้ชุ่มคอ คอไม่แห้ง ช่วยกำจัดเสมหะ สามารถรับประทานลูกสดหรือนำไปต้มน้ำเป็นน้ำมะขามป้อมก็ได้

14.งา มีงาขาว งาดำ มีสรรพคุณต้านเชื้อไวรัส แบคทีเรีย และก็เชื้อรา ลดเชื้อที่ทำให้เจ็บคอ ลดการอักเสบ มีฤทธิ์ต่อต้านอนุมูลอิสระ น้ำมันงายังสามารถใช้หยอดจมูกช่วยลดการอักษเสบของไซนัสได้อีกด้วย

สมุนไพรพื้นบ้านที่มีสรรพคุณในการรักษาอาการไซนัสอักเสบ

วิธีปฏิบติตัวเมื่อเป็นไซนัสอักเสบ

นอกจากจะรักษาด้วยยาแล้วการปฏิบัติที่ถูกต้องจะช่วยให้อาการของโรคดีขึ้นด้วย และใช้เวลาในการรักษาไม่นาน ให้ปฏิบติดังนี้

1.หายใจสั้น ๆ หรือคอยทำจมูกฟุดฟิดบ่อย ๆ

2.กดบริเวณสองข้างแนวจมูกระหว่างคิ้วและเหนือคิ้วทั้งสองข้าง

3.ออกกำลังกายเบา ๆ เช่น การเดิน

4.นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

5.ห้ามว่ายน้ำเด็ดขาด

6.รักษาร่างกายให้อบอุ่น ถ้าจำเป็นต้องอยู่ในห้องที่แอร์เย็น ต้องใส่เสื้อผ้าให้อุ่น

7.หลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิฉับพลัน เช่น จากร้อนมากไปเย็นจัดในทันทีทันใด

8.งดดื่มแอลกอฮอล์ เพราะแอลกอฮอล์ทำให้เนื้อเยื่อจมูกบวม

9.หลีกเลี่ยงสถานที่ที่อากาศไม่ดี เช่น บริเวณที่มีคนสูบบุหรี่ ที่จอดรถใต้ดินที่ระบายควันได้น้อย สถานที่ที่มีควันไฟ ควันธูป ควันยากันยุง เพราะควันมีผลทำให้เนื้อเยื่อจมูกบวมมากขึ้น

การป้องกันไม่ให้เป็นหวัดได้ย่อมลดการเสี่ยงการเป็นไซนัสอักเสบได้สูง แต่มิได้แปลว่าเป็นหวัดจะต้องเป็นไซนัสอักเสบเสมอ คนที่เป็นไซนัสอักเสบจะรู้ซึ้งถึงความทรมาน หากมีอาการไม่มากและดูแลรักษาอย่างถูกต้อง ด้วยสมุนไพรที่หาได้ไม่ยาก ซึ่งอาจจะไม่ได้รักษาโรคไซนัสได้โดยตรง แต่ว่าป้องกันการเกิดโรคและก็รักษาอาการที่เกิดขึ้นตามภาวะของโรค ก็สามารถหายได้ภายใน 2-3 สัปดาห์ ที่สำคัญต้องพักผ่อนให้เพียงพอ ควรรักษาร่างกายให้อบอุ่น ดื่มน้ำอุ่นมาก ๆ และสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงคือ การดื่มน้ำเย็น งดรับประทานอาหารที่มีรสหวานมัน เพราะทำให้เสมหะมากและทำให้ไอมากขึ้น

Back To Top