สัญลักษณ์โรคซึมเศร้า

สัญลักษณ์โรคซึมเศร้า

ด้วยสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ทำให้หลายคนต้องออกจากงาน และตกงาน มีความเครียดจากรายรับที่ลดลงแต่รายจ่ายยังคงเดิมซึ่งส่งผลให้หลายคนตกอยู่ในภาวะซึมเศร้า เป็นภาวะความผิดปกติทางอารมณ์ทำให้รู้สึกเศร้า ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ สิ้นหวัง หรือรู้สึกว่าตนเองด้อยค่า มีผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจตลอดจนถึงการใช้ชีวิตประจำวัน

โรคซึมเศร้า คือ 

ความผิดปกติของการหลั่งสารเคมีในสมอง มีผลกระทบต่อความนึกคิด อารมณ์ ความรู้สึก พฤติกรรม เกิดจากความไม่สมดุลของสารสื่อประสาท 3 ชนิด คือ ซีโรไตนิน นอร์เอปิเนฟริน และโดปามีน ส่งผลให้เกิดความผิดปกติทางอารมณ์ ทำให้พฤติกรรมเปลี่ยนไปในการใช้ชีวิตประจำวัน

 โรคซึมเศร้าทำให้เป็นคนมองโลกในแง่ลบ เป็นบุคคลที่น่าสงสาร เพราะเศร้า หม่นหมอง เก็บเนื้อเก็บตัว หดหู่ โดดเดี่ยว เบื่อหน่ายกับสิ่งที่เคยสนุกหรือสบายใจ 

อาการของโรคซึมเศร้ามีความรุนแรงที่ความแตกต่างกัน บางคนแสดงอาการเศร้า เบื่อ ในขณะที่บางคนแสดงอาการที่รุนแรงถึงขั้นคิดฆ่าตัวตาย 

อาการของโรคซึมเศร้าระยะแรก จะแสดงอาการเบื่อ ท้อแท้ และเศร้าสลด นานเกิน 2 สัปดาห์ สาเหตุเกิดจากมีเหตุการณ์กระทบกระเทือนจิตใจอย่างรุนแรง สูญเสีย ผิดหวัง ความเครียดสะสมยาวนาน อาจมีอาการทางจิต เช่น หูแว่ว หวาดระแวง กลัว ขี้บ่น จุกจิกมากขึ้น

อาการของโรคซึมเศร้าเรื้อรัง จะมีอาการรุนแรงน้อยกว่า แต่เป็นต่อเนื่องมายาวนานอย่างน้อย 2 ปี บางคนนานถึง 5 ปี สาเหตุเกิดจาก ทุกข์ใจมายาวนาน รู้สึกมีไม่มีความสุขมาเป็นเวลาหลายปี มีการเจ็บป่วยเรื้อรัง

โรคซึมเศร้าแบบไบโพลาร์ ดิสออร์เดอร์  จะมีอารมณ์ซึมเศร้าสลับกับอาการดีใจ เป็นอารมณ์ที่ต่างกันโดยสิ้นเชิง มีผลต่อการตัดสินใจและมักก่อให้เกิดปัญหา การใช้จ่ายสุรายสุร่าย หรือการตัดสินใจที่ผิด ๆ และบางครั้งอาจมีความคิดฆ่าตัวตายในช่วงที่มีอาการซึมเศร้าได้

สัญลักษณ์ที่ใช้สำหรับการให้กำลังใจในผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้าก็คือ รูป ” เซมิโคลอน [ ; ]  ซึ่งมาจากโปรเจกต์ เซมิโคลอนที่ก่อตั้งโดย Amy Bluel เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร มีจุดประสงค์สร้างความหวังและให้กำลังใจผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพจิต ยาเสพติด ภาวะโรคซึมเศร้า ซึ่งนำไปสู่การฆ่าตัวตาย พ่อของเธอฆ่าตัวตาย ปี 2013 เนื่องจากปัญหาภาวะซึมเศร้าเช่นกัน

รอยสักหรือรูปเพ้นท์ที่ข้อมือ รูป ” เซมิโคลอน [ ; ]  ที่เห็นผ่านตากันในโลกโซเชียล และกำลังเป็นที่สงสัยว่ามันคืออะไรกัน นั่นเป็นเครื่องหมายให้กำลังใจผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ซึ่งปกติจะถูกใช้เมื่อต้องการจบประโยคที่เขียน เพื่อต้องการขึ้นประโยค เปรียบเหมือนตัวเรา และประโยคที่ต้องการจบ และเริ่มต้นชีวิตใหม่

ดังนั้นความหมายของรูป ” เซมิโคลอน [ ; ]  คือ “ความยากลำบากที่กำลังเผชิญอยู่นั้นไม่ใช่จุดจบของทุกสิ่ง แต่เป็นการเริ่มต้นชีวิตใหม่”

โรคซึมเศร้า

สัญลักษณ์โรคซึมเศร้า

ส่วนสญลักษณ์ที่เป็นตัวแทนของโรคภาวะซึมเศร้า นั่นก็คือ หมาดำ ‘black dog’ มีจุดเริ่มต้นมาจากหนังสือชื่อ “I Had a Black Dog: His name was depression” ผลงานของคุณแมทธิว จอห์นสโตน (Matthew Johnstone) นักเขียนและนักวาดชาวออสเตรเลีย ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ.2005  

WHO ได้จัดทำคลิปเป็น animation การ์ตูนประกอบคำบรรยาย ยาวเพียงประมาณ 4-5 นาที แต่ทำให้เห็นภาพอย่างชัดเจน เข้าใจง่าย ชื่อ “I Had a Black Dog : His Name was Depression” ตัวเอกของเรื่อง คือ เจ้าหมาดำ หรือ  ‘black dog’

สัญลักษณ์โรคซึมเศร้า มีการใช้ หมาดำ เป็นสัญลักษณ์แทนโรคซึมเศร้ากันมานานมาก ไม่แน่ชัดว่าเริ่มจากไหน อาจมาจากสงครามโลกครั้งที่สอง นายกของอังกฤษ วินส์ตัน เชอร์ชิล ที่เคยใช้คำเปรียบเปรยภาวะซึมเศร้าของตัวเองกับหมาดำ และในปัจจุบันคนที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า บางคนก็ใช้สัญลักษณ์นี้ในการสื่อให้คนรอบข้างรับรู้ว่าเขากำลังประสบปัญหาอะไรอยู่ ดังตัวอย่างจากนักร้องเกาหลีจงฮยอนที่เสียชีวิตเพราะเป็นโรคซึมเศร้า และเขาก็มีรอยสักที่แสดงสัญลักษณ์เป็นหมาดำไว้บนร่างกายของเขา

คุณเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่

ถ้ามีอาการหลักต่าง ๆ เหล่านี้ เป็นเวลานานกว่า 14 วัน แสดงวาเข้าข่ายที่เป็นโรคซึมเศร้า

1.อารมณ์เศร้า เบื่อ ท้อแท้ ซึม หงอยเหงา

2.ไม่มีความสุขกับกิจกรรมที่เคยทำ

3.เบื่ออาหารหรือ เจริญอาหารมากเกินไป

4.นอนไม่หลับเลย หรือ นอนมากเกินไป

5.กระวนกระวายมากผิดปกติ

6.เชื่องช้ามากผิดปกติ

7.รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีสมาธิ ใจลอย

8.ตำหนิตัวเอง หรือทำร้ายตัวเอง

9.คิดอยากฆ่าตัวตาย

สาเหตุของโรคซึมเศร้า

โรคซึมเศร้ามีสาเหตุแตกต่างกันไป เช่น พันธุกรรม ลักษณะนิสัยที่เป็นคนอ่อนไหวง่าย คิดมาก สภาพแวดล้อมตั้งแต่เด็กจนโตจากการเลี้ยงดู หรือความผิดปกติในสมอง เช่น สารสื่อประสาท ฮอร์โมนและวงจรระบบประสาท สภาพจิตใจจากการเลี้ยงดู เหตุการณ์ร้ายในชีวิต ส่งผลต่อกระบวนการคิดและมุมมองต่อตนเอง เช่นมองโลกในแง่ร้าย สิ้นหวัง 

วิธีรักษาโรคซึมเศร้า

โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายได้ ซึ่งการรักษาโรคซึมเศร้าที่สำคัญที่สุดคือการปฏิบัติตามแผนการรักษาของแพทย์ เพื่อให้อาการบรรเทาลงจนหายดีในที่สุด 

วิธีรักษาโรคซึมเศร้าด้วยตนเอง

ดูแลสุขภาพร่างกายของตัวเองให้แข็งแรง ด้วยการพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และการดื่มแอลกอฮอล์และสารเสพติดทุกชนิด

เรียนรู้วิธีผ่อนคลายความเครียด โดยรับมือกับอาการที่เกิดขึ้นเมื่อต้องเผชิญสถานการณ์ที่ทำให้เกิดความเครียด เช่น การหางานอดิเรกทำ การนั่งสมาธิ การผ่อนคลายกล้ามเนื้อ การเล่นโยคะ รำไทเก็ก เป็นต้น

1.หลีกเลี่ยงการตัดสินใจเรื่องสำคัญ ขณะที่กำลังเผชิญภาวะตกต่ำทางอารมณ์

2.อย่าแยกตัวออกจากสังคม พยายามหากิจกรรมทำกับครอบครัว เพื่อนฝูง แบ่งปันเรื่องราวความรู้สึกต่าง ๆ ร่วมกัน

 3.หมั่นพูดคุยปรึกษาถึงปัญหาต่าง ๆ ที่กำลังเผชิญอยู่กับครอบครัว เพื่อนสนิท ญาติสนิท คนรอบข้าง

วิธีรักษาโรคซึมเศร้า

วิธีรักษาโรคซึมเศร้าโดยการไปพบแพทย์

แพทย์จะพิจารณาว่าเหมาะกับวิธีใด และใช้การรักษาควบคู่กันไปมากกว่าหนึ่งวิธีก็เป็นได้

1 การใช้ยาต้านเศร้า ช่วยในการปรับสมดุลสารเคมีในสมอง การควบคุมอารมณ์และความเครียด ซึ่งยาต้านเศร้ามีหลายชนิด แพทย์จะให้ยาต้านเศร้าตามอาการของผู้ป่วยแต่ละรายเพื่อการรักษาที่ดีและปลอดภัยที่สุด มีผลข้างเคียงน้อยที่สุด แพทย์จะเริ่มด้วยการสั่งจ่ายยากลุ่ม SSRIs ซึ่งปลอดภัยและมีผลข้างเคียงน้อยกว่ายาต้านซึมเศร้าชนิดอื่น 

2 จิตบำบัด เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้าน้อยถึงปานกลาง ซึ่งสาเหตุและอาการของผู้ป่วยแต่ละรายจะแตกต่างกันออกไปเช่น

บำบัดความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (IPT) เพื่อการมุ่งไปที่การบำบัดความสัมพันธ์ของผู้ป่วยกับบุคคลอื่น ที่อาจเป็นเหตุของอาการซึมเศร้าได้ 

บำบัดเพื่อช่วยปรับทัศนคติต่อสิ่งแวดล้อมและปฏิสัมพันธ์ (CBT) เพื่อให้ผู้ป่วยเปลี่ยนความคิดในแง่ลบไปในทางที่ดีขึ้น เริ่มจากการมองสิ่งต่าง ๆ รอบตัวในแง่ดี 

การช่วยให้สามารถจัดการกับภาวะความตึงเครียดในชีวิต (PST) เป็นวิธีบำบัดที่ใช้ได้ผลกับกลุ่มผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้า ให้ผู้ป่วยมองเห็นปัญหาและทางแก้อย่างตรงตามความเป็นจริง

การให้คำปรึกษา บำบัดเพื่อให้ผู้ป่วยคิดทบทวนถึงปัญหาในชีวิตที่ได้พบเจอ และหาแนวทางใหม่ ๆ เพื่อรับมือกับปัญหา 

3 การรักษาด้วยการกระตุ้นเซลล์สมอง สำหรับการรักษาระดับที่รุนแรงขึ้น เช่น ผู้ป่วยที่คิดฆ่าตัวตาย การรักษาด้วยการกระตุ้นสมองและเส้นประสาทจึงกลายเป็นวิธีที่ปลอดภัยได้ผลที่สุด

การบำบัดช็อคด้วยไฟฟ้า (ECT) คือ การรักษาด้วยการให้ยาสลบและใช้กระแสไฟฟ้าผ่านเข้าสู่สมองผู้ป่วย จะส่งผลต่อการทำงานและการเกิดสารนิวโรทรานสมิทเทอรส์ในสมอง ช่วยให้ผู้ป่วยซึมเศร้ารุนแรงได้ผ่อนคลายลงได้ทันที  อาจมีผลข้างเคียง เช่น อาการปวดศีรษะ หรือสูญเสียความทรงจำชั่วคราว

การกระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (TMS) เป็นการใช้ขดลวดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าวางบนศีรษะผู้ป่วย ส่งพลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ากำลังอ่อนไปกระตุ้นเซลล์ประสาทส่วนที่ควบคุมอารมณ์ปกติและเศร้า

ยารักษาโรคซึมเศร้า

เป็นยาในกลุ่ม Selective Serotonin Reuptake Inhibitors : SSRI ยานี้มีผลต่อสารเคมีในสมองใช้รักษาโรคซึมเศร้า โรคกลัว วิตกกังวล โรคยั้งคิดยั้งทำ

ยา Fluoxetine ใช้รักษาโรคซึมเศร้า Depression รักษาโรคย้ำคิดย้ำทำ Obsessive-compulsive Disorder และรักษาโรคหวาดกลัว Panic Attack

ยากลุ่มต้านเศร้า Antidepressants ยากลุ่มนี้มีหลากหลายชนิด พบอาการข้างเคียงลดลงและมีจำนวนผู้ป่วยที่ตอบสนองต่อการรักษาเพิ่มมากขึ้น

ยากลุ่มอื่น ๆ Other Medications ยากลุ่มที่นำมาใช่ร่วมเพื่อการรักษาภาวะซึมเศร้าในบางราย เช่นยากลุ่มคลายกังวล ยากลุ่มสมาธิ ยากลุ่มควบคุมอารมณ์

ยารักษาโรคซึมเศร้า

วิธีการดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้า

1.เข้าหาและแสดงความยินดีที่จะช่วยเหลือ พร้อมรับฟังปัญหาต่าง ๆ อย่างตั้งใจและเข้าใจ

2.ทำความเข้าใจและหาความรู้เกี่ยวกับโรคซึมเศร้าให้มากขึ้น

3.อาการจะดีขึ้นใน 2-3 สัปดาห์ แต่ต้องดูแลให้ได้รับยาครบตามที่แพทย์สั่ง ด้วยความอดทน

4.ดูแลให้ได้กินและนอนเป็นเวลาทุกวัน

5.พาไปพบจิตแพทย์ และไปเป็นเพื่อนเสมอเมื่อถึงวันที่ต้องพบคุณหมอ

6.ชวนออกกำลังกาย หรือชวนไปร่วมกิจกรรมในชุมชน

7.หากผู้ป่วยมีอาการรุนแรงถึงขั้นไม่อยากมีชีวิตอยู่ หรืออยากทำร้ายตนเอง ไม่ควรปล่อยให้อยู่คนเดียว แต่ต้องดูแลอย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง

8.เก็บสิ่งของที่เป็นอันตรายไม่ให้วางในบ้าน เช่น มีด เชือก อาวุธปืน ยาฆ่าแมลง ยาศัตรูพืช

โรคซึมเศร้า เป็นโรคทางจิตเวชที่สามารถรักษาให้หายได้ การรักษาโรคซึมเศร้าที่สำคัญที่สุดคือการปฏิบัติตามแผนการรักษาของแพทย์ เพื่ออาการบรรเทาจนดีขึ้นและหายไปในที่สุด โดยมีสัญลักษณ์ตัวแทน คือ หมาดำ ซึ่งสามารถสื่อความหมายได้ค่อนข้างชัดเจนไม่ว่าจะจาก สี รูปลักษณ์ภายนอก แววตา ท่าทาง ทำให้หลายคนที่มีภาวะซึมเศร้าและต้องการความช่วยเหลือเลือกการสื่อสารกับคนรอบข้างและผู้อื่นโดยใช้สัญลักษณ์นี้ ซึ่งค่อนข้างเป็นที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลาย เมื่อพบเจอสัญลักษณ์นี้แสดงว่าเราต้องให้ความช่วยเหลือในการดึงบุคคลนั้นให้กลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้ปกติสุขเหมือนเดิมให้ได้ก่อนจะสาย ทำให้ช่วยเหลือได้ทันท่วงที

 

Back To Top