สเต็มเซลล์ คือ

สเต็มเซลล์

สเต็มเซลล์ (Stem cell) คือ เซลล์ต้นกำเนิด เป็นพัฒนามาจากเซลล์ตัวอ่อน ( Embryonic Stem Cell ) และสเต็มเซลล์จากเนื้อเยื่อที่โตเต็มวัย (Adult Stem Cell ) ที่มีความสามารถในการสร้างเซลล์ทดแทนตัวเองได้อย่างไม่จำกัด เพื่อทดแทนหรือซ่อมแซมเซลล์ที่เสื่อมสภาพในร่างกาย สามารถแบ่งตัวและเปลี่ยนแปลงเพื่อไปเซลล์อื่น ๆ ที่ทำหน้าที่เฉพาะเจาะจงได้ เช่น เปลี่ยนไปเป็นเซลล์เม็ดเลือด เซลล์เนื้อเยื่อ เซลล์ประสาท และยังเป็นเซลล์ธรรมชาติที่มีลักษณะหลายเซลล์ซึ่งมีอยู่ในสิ่งมีชีวิต ทั้งในมนุษย์ พืช และสัตว์ เกือบทุกชนิด สเต็มเซลล์ประกอบด้วยหลายเซลล์มีต้นกำเนิดมาจากหนึ่งเซลล์ โดยเริ่มต้นจากเซลล์เดียวที่มีการผสมพันธุ์ระหว่างเพศผู้และเพศเมีย พัฒนาไปเป็นหลายเซลล์และพัฒนาอีกไปเป็นอวัยวะ 

โดยปกติในร่างกายของเราไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ก็จะมี สเต็มเซลล์อยู่ เพราะในเวลาที่เราบาดเจ็บหรือเจ็บป่วย เซลล์ของเราก็จะต้องเกิดการบาดแผลหรือตายไปด้วย ซึ่งสเต็มเซลล์ก็จะทำหน้าที่ซ่อมแซมบาดแผลและสร้างเซลล์ใหม่เพื่อมาทดแทนเซลล์เก่าที่ตายไป เพราะฉะนั้นสเต็มเซลล์จึงทำหน้าที่ช่วยป้องกันไม่ให้เราแก่ก่อนวัยตามอายุ

สเต็มเซลล์สามารถพัฒนาสร้างสิ่งมีชีวิตและสร้างอวัยวะขึ้นมาได้ เมื่อเจริญเติบโตเป็นมนุษย์แล้ว สเต็มเซลล์ก็ยังคงอยู่และกระจัดกระจายอยู่ในร่างกาย สเต็มเซลล์มีทำหน้าที่ซ่อมแซม เมื่ออยู่ในตับ ก็ทำหน้าที่สร้างตับ สเต็มเซลล์ที่อยู่ในสมอง ทำหน้าที่สร้างสมอง ที่อยู่ในไขกระดูก ก็ทำหน้าที่สร้างเลือด อยู่ในจุดไหนก็จะทำหน้าที่สร้างในจุดนั้น 

สเต็มเชลล์

โดยสเต็มเซลล์แบ่งตามระยะของการการเจริญพัฒนาได้ คือ 

1.Totipotent Stem Cell คือเซลล์ต้นกำเนิดที่สามารถพัฒนาไปเป็นส่วนที่เป็นรก สายสะดือ และตัวเด็กที่มีอวัยวะครบสมบูรณ์

2.Pluripotent Stem Cell คือเซลล์ต้นกำเนิดที่สามารถเพัฒนาไปเป็นส่วนที่เป็นตัวเด็กและอวัยวะต่าง ๆ ภายในตัวเด็กได้ เซลล์ต้นกำเนิดชนิดชนิดนี้สามารถแยกได้จาก Inner Cell Mass ในเซลล์ระยะ Blastocyst 

3.Multipotent Stem Cell คือเซลล์ต้นกำเนิดที่สามารถพัฒนาไปเป็นส่วนที่เป็นเนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ ที่จำกัดในร่งกาย

4.Unipotent Stem Cell คือเซลล์ต้นกำเนิดที่สามารถพัฒนาไปเป็นส่วนที่เป็นเนื้อเยื่อที่จำเพาะแค่เพียงชนิดเดียว

ในปัจจุบันการรักษาด้วยสเต็มเซลล์ถือเป็นความหวังใหม่ของวงการทางการแพทย์ ที่สามารถรักษาโรคที่เกิดจากการเสื่อมถอยของเซลล์ เช่น โรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน โรคเบาหวาน โรคเลือด โรคตับ โรคสมอง ข้อเข่าเสื่อม ภูมิต้านทานไวเกิน รูมาตอยด์ SLE มะเร็งบางชนิด โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต จอประสาทตาเสื่อม โรคไขสันหลัง หลอดเลือดสมองตีบ และอีกหลาย ๆ โรค

หน้าที่หลักของสเต็มเซลล์คือการทำเซลล์ใหม่เพื่อมาทดแทนเซลล์เก่า สเต็มเซลล์สามารถนำมาใช้เพื่อรักษาโรคต่าง ๆ ได้ เมื่อเกิดการเจ็บป่วยแล้วได้รับสเต็มเซลล์หรือเนื้อเยื่อที่ปลูกมาจากสเต็มเซลล์ ซึ่งในความสามารถของสเต็มเซลล์ที่ทำหน้าที่รักษาโรคนั้นด้วยการซ่อมแซมอวัยวะที่เสื่อม ก็จะทำให้โรคนั้นทุเลาหรือหายไป

ประเภทและการทำสเต็มเซลล์

สเต็มเซลล์สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ สเต็มเซลล์ชนิด Embryonic Stem Cell และสเต็มเซลล์ชนิด Adult Stem Cell โดยแต่ละชนิดจะมีความแตกต่างกัน นั่นก็คือ 

1.Embryonic Stem Cell

เป็นสเต็มเซลล์ที่ได้จากตัวอ่อนของมนุษย์ มีลักษณะเฉพาะคือมันสามารถเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์ต่างๆของร่างกายได้ทุกชนิด อาทิเช่น เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ เซลล์ไขกระดูก เซลล์เม็ดเลือด ฯลฯ 

2.Adult Stem Cell

หรือสเต็มเซลล์จากเนื้อเยื่อที่โตเต็มวัย มีความสามารถในการพัฒนาเป็นเซลล์จำเพาะชนิดต่างๆของร่างกายหมายความว่าสเต็มเซลล์นี้นำมาจากเนื้อเยื่อในร่างกายส่วนใด มันก็สามารถเจริญเติบโตไปเป็นเนื้อเยื่อชนิดนั้นๆ อาทิเช่น เซลล์จากตับอ่อน ก็เจริญกลายเป็นเซลล์ตับอ่อน เซลล์จากไต ก็จะเจริญไปเป็นไต

สเต็มเซลล์มีหลายชนิดที่แตกต่างกัน ซึ่งแต่ละอวัยวะจะมีสเต็มเซลล์ที่เฉพาะเจาะจงสำหรับอวัยวะนั้น ๆ  ตัวอย่างเช่น เลือดที่ถูกสร้างขึ้นมาจากเลือดสเต็มเซลล์ที่อยู่ในไขกระดูก เป็นสเต็มแซลล์จากเนื้อเยื้อที่โตเต็มวัยแล้ว (Adult Stem Cell) และสเต็มเซลล์จะอยู่ที่ในตัวอ่อนมนุษย์เมื่อปลูกเซลล์เหล่านี้ เซลล์พวกนี้คือ สเต็มเซลล์จากตัวอ่อนมนุษย์ (Embryonic Stem Cell)  

ประโยชน์ของสเต็มเซลล์

สเต็มเซลล์ชนิด Hematopoietic Stem Cell เป็นชนิดที่นิยมนำมาใช้ในการรักษาทางด้านโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเป็นหลัก และใช้สเต็มเซลล์ชนิด Mesenchymal Stem Cell มารักษาบาดแผลหลังการผ่าตัด โรคข้อเข่าเสื่อม โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น

เมื่อปลูกถ่าย Mesenchymal Stem Cell จะช่วยเข้าไปซ่อมแซมหรือทดแทนเซลล์ที่เสื่อมสภาพในร่างกายได้ เช่นไปทำให้หลอดเลือดแข็งแรงขึ้น 

สเต็มเซลล์สามารถเปลี่ยนแปลงพัฒนาให้ทำหน้าที่แบบเฉพาะเจาะจงได้ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม เช่น เมื่อ Mesenchymal Stem Cell เข้าไปซ่อมแซมบริเวณที่กล้ามเนื้ออักเสบ Mesenchymal Stem Cell จะเจริญพัฒนาไปเป็นเซลล์กล้ามเนื้อได้

ข้อดีของการใช้สเต็มเซลล์ในการรักษา คือ เป็นการรักษาแบบชีวโมเลกุล คือการที่เซลล์ที่ได้จากมนุษย์ในการฟื้นฟู ซ่อมแซมจุดต่าง ๆ ที่สึกหรอ โดยจะไม่มีส่วนผสมของสารเคมีเลย

Stem Cell ที่ใช้ในการรักษามีความเข้ากันได้กับร่างกายมนุษย์อย่างสมบูรณ์ เพราะเป็นเซลล์ที่ได้จากตัวผู้ป่วยเอง โดยจะไม่ไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย 

สเต็มเซลล์กับการรักษาโรค

สเต็มเซลล์กับการรักษาโรค

การใช้สเต็มเซลล์รักษาในผู้สูงอายุ หรือผู้ที่ป่วยนั้น เซลล์ภายในร่างกายจะมีการเสื่อมสภาพค่อนข้างมาก ทำให้เกิดการสร้างเซลล์ใหม่ขึ้นมาทดแทนช้ากว่าปกติ การใช้สเต็มเซลล์บำบัดจะช่วยเข้าไปซ่อมแซมหรือแทนที่เซลล์ที่เสื่อมสภาพได้มากขึ้น

การรักษาโดยการให้สเต็มเซลล์ในผู้ป่วยสามารถใช้ได้หลากหลายทาง ไม่ว่าจะเป็นทางหลอดเลือดดำ หรือชั้นกล้ามเนื้อ รวมถึงชั้นผิวหนัง โดยให้ปริมาณเซลล์ที่มากหรือน้อยแตกต่างกันขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของผู้ป่วย การรักษาโดยการใช้สเต็มเซลล์จึงต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างเคร่งครัด

สเต็มเซลล์กับความงาม

ในปัจจุบันมีการนำสเต็มเซลล์มาใช้ด้านการชะลอวัยและความงามมากขึ้น ด้วยคุณสมบัติที่โดดเด่นในเรื่องซ่อมแซมส่วนต่าง ๆ ของร่างกายและโครงสร้างชั้นผิว โดยการให้กำเนิดเซลล์ใหม่เพื่อมาทดแทนเซลล์เก่า และสามารถแบ่งตัวเองเพิ่มจำนวนขึ้นใหม่อย่างต่อเนื่องได้เป็นเวลานาน เสมือนโครงสร้างชั้นผิวถูกรีเซ็ตใหม่ให้กลับคืนความอ่อนเยาว์อีกครั้ง จึงถูกนำมาใช้ด้านความงามอย่างแพร่หลาย

สเต็มเซลล์กับความงาม

การฉีดสเต็มเซลล์ชนิด Mesenchymal Stem Cell เพื่อบำบัดผิวหน้า จึงเป็นกลไกทางชีวภาพของการฟื้นฟูบำรุงสภาพผิวชั้นในสุด ช่วยในการชะลอการร่วงโรยของผิวได้ลึกกว่าวิธีอื่น เป็นการเปิดกลไกการฟื้นฟูเซลล์ผิวขึ้นใหม่อีกครั้ง หรือ “Skin Healing Process”ที่สามารถฟื้นฟูเส้นใยเติมเต็มผิว ทั้งผิวชั้นนอก และผิวชั้นใน กระตุ้นการสร้างคอลลาเจนและอีลาสติน ส่งผลให้ผิวที่หย่อนคล้อยมีริ้วรอยที่ลึกตื้นขึ้น แลดูอ่อนเยาว์ลง 

สเต็มเซลล์ชนิด Mesenchymal Stem Cell ช่วยในการกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์และช่วยลดการอักเสบ จึงเหมาะกับการนำมาใช้ฉีดบริเวณใบหน้า เพื่อช่วยในการซ่อมแซมและฟื้นฟูสภาพของผิวหน้าทำให้เกิดกรย้อนอายุผิวให้กลับมาดีเหมือนเดิม และสามารถฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำหรือฉีดเข้าเส้น (Intravenous injection หรือ IV) เพื่อฟื้นฟูสุขภาพทั้งร่างกาย ต้านการอักเสบต่าง ๆ ที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคและซ่อมแซมเซลล์ที่เกิดการเสื่อมสภาพ ทำให้สุขภาพแข็งแรงมากขึ้น คุณภาพชีวิตดีขึ้น และปรับสมดุลภูมิต้านทานของร่างกาย

Mesenchymal Stem Cell ที่นำมาฉีดที่ใบหน้า อาจทำให้มีรอยแดงจากเข็มได้บ้าง ส่วนการฉีดเข้าร่างกายอาจมีอาการอ่อนเพลีย หรืออยากนอนมากในช่วง 3-4 วันแรกหลังฉีด ซึ่งนั้นแสดงว่าร่างกายมีการซ่อมแซมอย่างมากโดยเฉพาะที่ตับ จึงควรงดยาบางชนิด งดแอลกอฮอล์และพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการซ่อมแซมและยาวนานยิ่งขึ้น

Mesenchymal Stem Cell ที่นำมาใช้ฉีดบริเวณใบหน้า แนะนำให้ฉีดเริ่มต้นที่ 1-5 ล้านเซลล์ทั่วบริเวณใบหน้า และ 30-50 ล้านเซลล์ทั่วร่างกายต่อน้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัม (โดย 1 กิโลกรัมเท่ากับ 1 ล้านเซลล์) ซึ่งเริ่มเห็นผลการรักษาประมาณ 2-4 สัปดาห์ ขึ้นกับการตอบสนองของแต่ละคน และผลการรักษาจะขึ้นกับจำนวนเซลล์ที่ฉีด คุณภาพของเซลล์ที่นำมาฉีด และการ ปฏิบัติตัวด้วย แต่โดยทั่วไปจะอยู่ได้ตั้งแต่ 6-12 เดือน

การใช้ Stem cell คนอื่นมาฉีด

Mesenchymal Stem Cell ที่นำมาใช้จะต้องเป็นเซลล์ที่มีการเพาะเลี้ยงในห้องทดลองที่ได้มาตรฐานผ่านการตรวจโรค และฆ่าเชื้อเป็นอย่างดี Mesenchymal Stem Cell มีความสามารถฉีดข้ามคนได้ (allogeneic) โดยไม่เกิดการปฏิเสธเนื้อเยื่อ เนื่องจากเป็นเซลล์ที่ยังไม่มีการแสดงออกจึงไม่กระตุ้นระบบภูมิต้านทานที่จะทำให้เกิดการต่อต้าน นอกจากนั้นยังมีคุณสมบัติในการยับยั้งเซลล์ที่ผิดปกติหรือจะกลายพันธุ์ได้อีกด้วย 

ในปัจจุบันถึงแม้ว่าจะเริ่มมีการนำสเต็มเซลล์มาใช้กันอย่างแพร่หลายมากยิ่งขึ้น แต่ยังต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของแพทย์ และยังมีการพัฒนาอย่างต่อเนืองเพื่อให้ได้ผลลพธ์ที่ดีและมีความปลอดภัย ดังนั้นสาว ๆ หนุ่ม ๆ คนไหนสนใจการรักษาด้วยสเต็มเซลล์จึงสามารถสืบค้นข้อมูลได้มากขึ้นและสามารถปรึกษาแพทย์เพื่อเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียก่อนตัดสินใจ

Back To Top