อาการกรดไหลย้อน โรคที่เกิดจากการน้ำย่อย

อาการกรดไหลย้อน

โรคกรดไหลย้อน (gastroesophageal reflux disease: GERD) เป็นโรคที่เกิดจากการน้ำย่อยหรือสารคัดหลั่งในกระเพาะอาหารซึ่งอาจจะเป็นกรดหรือแก๊สไหลย้อนกลับไปที่หลอดอาหาร มันเป็นภัยเงียบที่ส่งผลเสียต่อร่างกาย โดยปกติร่างกายจะมีการไหลย้อนของกรดในกระเพาะอาหารขึ้นไปในหลอดอาหารอยู่บ้างเล็กน้อย โดยเฉพาะหลังรับประทานอาหาร แต่สำหรับคนที่เป็นโรคกรดไหลย้อนจะมีมากและบ่อยกว่าปกติ ส่งผลให้มีอาการแสบร้อนบริเวณลิ้นปี่ ลามขึ้นมาบริเวณหน้าอกหรือลำคออาการแสบร้อนบริเวณอก รู้สึกเปรี้ยวขมในปาก และมีอาการเรอมีกลิ่นเปรี้ยวหลังจากทานอาหารมื้อหนัก โรคกรดไหลย้อน อาจจะมีอาการท้องอืด  ท้องเฟ้อร่วมด้วย  คล้ายๆ กับอาการของโรคกระเพาะอาหารจึงทำให้คนส่วนใหญ่คิดว่าเป็นโรคกระเพาะอาหารซึ่งทำให้ดูแลรักษาไม่ตรงจุดได้

สาเหตุของการเกิดกรดไหลย้อน 

คือ ความผิดปกติของหูรูดส่วนปลายหลอดอาหารที่ทำหน้าที่ป้องกันกรดไหลย้อนจากกระเพาะอาหารมีความดันของหูรูดต่ำกว่าปกติหรือเปิดบ่อยพร้อมทั้งความผิดปกติในการบีบตัวของหลอดอาหาร ทำให้อาหารที่รับประทานผ่านหลอดอาหารได้ช้าหรืออาหารที่ไหลย้อนขึ้นมาจากกระเพาะอาหารค้างอยู่ในหลอดอาหารนานขึ้นรวมไปถึงความผิดปกติของการบีบตัวของกระเพาะอาหาร ทำให้อาหารค้างอยู่ในกระเพาะอาหารนานกว่าปกติ เป็นการเพิ่มโอกาสการไหลย้อนของกรดจากกระเพาะอาหารสู่หลอดอาหาร มากขึ้น ซึ่งอาหารประเภทไขมันสูงและช็อกโกแลตจะทำให้กระเพาะอาหารบีบตัวลดลงส่งผลให้เป็นปัจจัยเสริมการเกิดการไหลย้อนได้ง่าย

อาการกรดไหลย้อน

อาการโรคกรดไหลย้อน

อาการของโรคกรดไหลย้อนแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีอาการนอกหลอดอาหารจะมีอาการเจ็บคอเรื้อรัง และส่วนที่มี อาการในหลอดอาหารจะมีการอักเสบ อาการแสบร้อนบริเวณหน้าอก ซึ่งจะเป็นมากหลังรับประทานอาหารมื้อใหญ่ มีอาการเรอ และมีน้ำรสเปรี้ยวหรือรสขมไหลย้อนขึ้นมาในปาก ส่วนอาการอื่นๆ ที่อาจพบได้คือ ท้องอืด แน่นท้อง คลื่นไส้ อาเจียน หลังรับประทานอาหาร กลืนลำบาก กลืนแล้วเจ็บ เจ็บหน้าอก จุกคล้ายมีอะไรติดหรือขวางอยู่บริเวณคอ เรอบ่อย ไอเรื้อรัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนกลางคืน  เสียงแหบเรื้อรัง เจ็บคอ อาการเหล่านี้เกิดจากกรดที่ไหลย้อนขึ้นมาบริเวณกล่องเสียง ทำให้เกิดกล่องเสียงอักเสบ และรู้สึก ระคายเคืองทางเดินหายใจคอ หืดหอบ 

ระดับภาวะกรดไหลย้อน

ภาวะที่มีการไหลย้อนจากกระเพาะอาหารเข้าหลอดอาหารแบ่งได้เป็น 3 ระดับ ได้แก่

ระดับที่ 1

เป็นระดับที่อ่อน คือ เป็นบ้างไม่เป็นบ้าง หรือนาน ๆ เป็นทีเป็นแล้วก็หายไป มีภาวะไหลย้อนนิดหน่อย ไม่มีอาการที่รบกวนสุขภาพ ซึ่งถือว่าเป็นความปกติของร่างกาย เรียกว่า ภาวะการไหลย้อนที่กระเพาะอาหาร (Gastroesophageal Reflux – GER)

ระดับที่ 2

คือ เกิดภาวะไหลย้อนเข้าสู่หลอดอาหารเฉพาะบริเวณใกล้ ๆ กับกระเพาะอาหาร มีอาการที่รบกวนสุขภาพ ท้องอืด แน่นท้อง คลื่นไส้ อาการแสบร้อนบริเวณหน้าอก  อย่างนี้เรียกว่า โรคกรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease – GERD) 

ระดับที่ 3

คือ เกิดภาวะไหลย้อนที่รุนแรง คือ ไหลเข้าสู่หลอดอาหารย้อนขึ้นมาจนถึงคอ อย่างนี้เรียกว่า โรคน้ำย่อยกระเพาะอาหารไหลย้อนเข้าสู่หลอดคอ (Laryngopharyngeal Reflux – LPR) มีอาการเรอเปรี้ยว คือมีกรดซึ่งเป็นน้ำรสเปรี้ยวหรือรสขมไหลย้อนขึ้นมาในปาก  อาการแสบร้อนบริเวณลิ้นปี่แล้วลามขึ้นมาที่หน้าอกหรือคอ

อาหารที่ควรเลี่ยง ลดการเกิดกรดไหลย้อน

การรับประทานอาหารมีผลมากๆ ต้องเลี่ยงอาหารดังต่อไปนี้ คือ อาหารไขมันสูง อาหารหมัก ผักมีกรดแก๊สมาก อย่างหอมใหญ่ พริก กระเทียม และใบสะระแหน่ ผลไม้มีกรดมาก เช่น ส้ม สับปะรด องุ่น และมะเขือเทศ น้ำส้มสายชู รวมถึง เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ น้ำอัดลม ชา กาแฟ และเครื่องดื่มชูกำลัง

ผลไม้ที่เหมาะสำหรับคนเป็น “กรดไหลย้อน”

ส่วนผลไม้ที่เหมาะสำหรับคนเป็น “กรดไหลย้อน” คือ แอปเปิ้ล เมลอน กล้วย มะลอกอ ลูกพรุน แตงโม แก้วมังกร อะโวคาโด และลูกพีช

ทำไงให้ห่างไกล กรดไหลย้อน

1. ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารมื้อเย็นปริมาณมาก

2. ห้ามนอนทันทีหลังรับประทานอาหารให้รอย่อย เพื่อป้องกันน้ำย่อยไหลย้อนจากกระเพาะอาหาร ขึ้นไปยังหลอดอาหาร ป้องกันกรดไหลย้อน คออักเสบได้

3. ควรรับประทานอาหารปริมาณน้อยแต่บ่อยครั้ง

4. รับประทานอาหารที่ปรุงสุก ด้วยการต้ม นึ่ง หรืออบ 

5. หลีกเลี่ยงความเครียด

6. ไม่ใส่เสื้อผ้ารัดรูปหรือรัดเข็มขัดแน่นจนเกินไป

7. ระวังน้ำหนักตัวไม่ให้มากหรืออ้วนเกินไป

8. งดรับปรทานอาการที่มีรสเผ็ดและมีกรด

9. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง ของมัน ของทอด อาหารฟาสต์ฟู้ด ป้องกันกระเพาะอาหาร หลั่งกรดมากเกินไป เช่น กะทิ, ชีส, พิซซ่า, หมูกรอบ, เบเกอรี่, ของทอด, ช็อกโกแลต เป็นต้น

10.รับประทานผัก และ ผลไม้ รวมถึงดื่มน้ำเปล่าให้มาก เพื่อป้องกันอาการท้องผูก เนื่องจากหากปล่อยให้ท้องผูก เวลาถ่ายอุจจาระ จะต้องเบ่งมากขึ้น ซึ่งการเบ่งทำให้ความดันในช่องท้องเพิ่มมากขึ้น

11.ควรงดการดื่มชา กาแฟ น้ำอัดลม และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

12. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ มีส่วนช่วยให้กล้ามเนื้อเรียบ และ หูรูด เป็นปกติได้เร็วขึ้น และ ไม่เป็นใหม่ง่าย

13.เวลานอนควรหนุนหัวเตียงให้สูงขึ้นประมาณ 6-10 นิ้วจากพื้นราบ โดยใช้วัสดุรองขาเตียง เช่น ไม้ อิฐ อย่ายกศีรษะให้สูงขึ้นโดยการใช้หมอนรองศีรษะ เพราะจะทำให้ความดันในช่องท้องเพิ่มมากขึ้น

14.รับประทานยา ปัจจุบันยาลดกรดกลุ่ม proton pump inhibitor เป็นยาที่สามารถยับยั้งการหลั่งกรดได้ดี สามารถเห็นผลการรักษาเร็ว ควรรับประทานยาสม่ำเสมอตามแพทย์สั่ง ไม่ควรลดขนาดยา หรือหยุดยาเอง และได้รับประทานยาต่อเนื่องกันอย่างน้อย 2-3 เดือนแล้ว แพทย์จะปรับลดขนาดยาลงเรื่อยๆ ทีละน้อย ยาบาง พบว่าประมาณร้อยละ 90 ของผู้ป่วยที่มีอาการของโรคกรดไหลย้อนสามารถควบคุมอาการได้ด้วยยา

กรดไหลย้อน

และการผ่าตัด  การรักษาด้วยวิธีนี้จะทำในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงเท่านั้นซึ่งให้การรักษาด้วยยาแล้วไม่ดีขึ้น หรือไม่สามารถรับประทานยาที่ใช้ในการรักษาภาวะนี้ได้ หรือผู้ป่วยที่ดีขึ้นหลังจากการใช้ยาแต่ไม่ต้องการที่จะรับประทานยาต่อ ซึ่งผู้ป่วยที่ต้องทำการผ่าตัดมีเพียงร้อยละ 10 เท่านั้น  เพื่อป้องกันไม่ให้กรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับขึ้นไปในระบบทางเดินหายใจ และระบบทางเดินอาหารส่วนบน 

โรคกรดไหลย้อน ไม่ใช่โรคที่ร้ายแรงถึงชีวิต อาการที่เกิดขึ้นเป็นๆ หายๆ ก็สร้างความไม่สบายใจทุกข์ใจ กังวลใจให้กับผู้ที่เป็น กวนใจ การที่มีความรู้และความเข้าใจในธรรมชาติของโรค และการดำเนินของโรค การรู้จักปฎิบัติตัวปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดำเนินชีวิต เป็นสิ่งที่ช่วยให้อาการของโรคลดน้อยลง และทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ทำให้ไม่ต้องพึ่งพาการรับประทานยาเป็นเวลานานๆค่ะ

Back To Top