อาหารสําหรับคนเป็นกรดไหลย้อน

อาหารสําหรับคนเป็นกรดไหลย้อน

ด้วยสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันทำให้การดำเนินชีวิตที่เร่งรีบทำให้พฤติกรรมการรับประทานอาหารไม่ถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นประเภทของอาหาร แบบแผนการรับประทาน จึงพบว่าผู้คนเป็นโรคกรดไหลย้อนได้มากขึ้น และเมื่อรักษาแล้วก็อาจจะกลับมาเป็นซ้ำได้ใหม่ เป็นโรคยอดฮิตที่เกิดมากขึ้นเพราะไลฟ์สไตล์และการใช้ชีวิตแบบคนเมืองที่เร่งรีบ มีปัจจัยหลัก มาจากพฤติกรรมการรับประทานที่ไม่ถูกต้อง อาการของโรคกรดไหลย้อนมักจะกำเริบมากขึ้นหลังจากที่กินอาหารมื้อหนัก ๆ หรือรับประทานอาหารบางชนิดที่มีฤทธิ์กระตุ้นให้กรดหลั่งออกมามากขึ้น เป็นโรคที่มักมีอาการเป็น ๆ หาย ๆ หากยังคงมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารแบบเดิม ๆ ที่ไม่ถูกต้อง

โรคกรดไหลย้อน คือ ภาวะที่น้ำย่อยจากกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับขึ้นไปยังหลอดอาหาร รู้สึกแสบร้อนบริเวณลิ้นปี่เรื่อยขึ้นมาที่อกและคอ มีน้ำรสเปรี้ยวหรือรสขมไหลย้อนขึ้นมาที่ปาก เจ็บหรือจุกบริเวณหน้าอกและคอ ซึ่งเกิดมาจากการที่กรดไหลย้อนขึ้นมาที่คอและกล่องเสียงทำให้อักเสบเรื้อรัง 

วิธีดูแลตัวเอง

1.ควรรับประทานอาหารไขมันต่ำ อย่างเช่น เนื้อปลา ไก่ ไข่ขาว นมไขมันต่ำ หรือน้ำเต้าหู้ เป็นแหล่งโปรตีนที่ดี

2.รับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์สูง ควรเน้นอาการที่มีไฟเบอร์หรือกากใยสูง เช่น ธัญพืช ข้าวโอ๊ต ขนมปังโฮลวีท เป็นอาหารที่อุดมไปด้วยกากใยอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ช่วยในการขับถ่าย และไม่เพิ่มกรด 

ผัก ผักที่มีไขมันและน้ำตาลต่ำ เช่น ผักใบเขียว บร็อคโคลี่ หน่อไม้ฝรั่ง กะหล่ำดอก มันฝรั่ง ถั่วเขียว แตงกวา ผลไม้ ควรเป็นผลไม้ที่ไม่มีกรดมาก เช่น กล้วย แตงโม แคนตาลูป แอปเปิ้ล พีช ลูกแพร์ อะโวคาโด หรือผลไม้รสหวานชนิดอื่น ๆ ที่ไม่มีรสเปรี้ยว

กล้วย เป็นผลไม้ที่มีประโยชน์ช่วยลดอาการปวดท้อง และมีสารเซโรโทนิน ที่ช่วยยับยั้งการหลั่งของน้ำย่อยของกระเพาะอาหาร และกระตุ้นให้ลำไส้เล็กบีบตัวมากขึ้น จึงช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหารและทางเดินอาหารและยังมีสารแทนนินที่อยู่ในกล้วยมีฤทธิ์ฝาดสมานสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียได้ดี ช่วยลดอาการจุกเสียดหน้าอก ปวดท้อง อาหารไม่ย่อย แน่นท้อง เรอเปรี้ยว เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการของโรคกรดไหลย้อน และปัญหาแผลในทางเดินอาหาร

กล้วย ผลไม้ที่มีประโยชน์

 

3.ควรดื่มเครื่องดื่มร้อน เช่น ชาสมุนไพร ชาขิง ชามินต์ ดื่มน้ำขิงเป็นประจำ เพราะขิงเป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์ร้อน สามารถช่วยขับลม ช่วยย่อย กระตุ้นการทำงานของลำไส้ ลดอาการท้องอืด หรืออาการแก๊สในกระเพาะ

4.รับประทานอาหารที่มีไขมันดี เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันงา อะโวคาโด น้ำมันดอกทานตะวัน ลดการบริโภคไขมันอิ่มตัวและไขมันทรานส์ 

5.ควรงดสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เนื่องจากแอลกอฮอล์เพิ่มปริมาณการสร้างกรดในกระเพาะอาหาร

6.รับประทานมื้อเย็นแค่พออิ่ม หรือเปลี่ยนมื้อเย็นเป็นผัก-ผลไม้แทน 

7.ไม่ควรรับประทานอาหารแล้วนอน หรือเอนกายลงพักผ่อนทันที ควรกินอาหารก่อนเข้านอน 3 ชั่วโมง และควรนอนตะแคงซ้ายพร้อมกับหนุนหัวเตียงให้สูงอย่างน้อย 6 นิ้ว 

8.ควบคุมน้ำหนักตัวให้ดี ไม่ให้มีน้ำหนักเกิน เพราะคนอ้วนจะมีความดันในช่องท้องสูง เสี่ยงต่อโรคกรดไหลย้อนได้มากกว่าคนผอม

9.ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง เช่น อาหารทอด ผัด ฟาสต์ฟู้ด อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง เช่น กะทิ นม เนย ชีส ไอศกรีม ซอสครีม น้ำสลัดชนิดครีม เนื้อติดมันมาก หรือไขมันจากเนื้อสัตว์ 

10.ไม่แนะนำให้กินอาหารเสริมน้ำมันตับปลา สารสกัดจากกระเทียม เนื่องจากทำให้หูรูดหลอดอาหารส่วนล่างคลายตัว และเสี่ยงเพิ่มกรดในกระเพาะอาหารอีกด้วย

11.หลีกเลี่ยงช็อกโกแลต เนื่องจากประกอบด้วยสารที่มีชื่อว่า เมททิลแซนทีน ทำให้กล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหารส่วนล่างคลายตัว กรดไหลย้อนได้ง่าย

12.เลี่ยงแป้งข้าวโพด และมันฝรั่งอบกรอบ ทำให้กล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหารส่วนล่างคลายตัว กรดสามารถไหลย้อนขึ้นมาที่หลอดอาหารได้ง่าย

13.เลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ โกโก้ เครื่องดื่มชูกำลัง น้ำอัดลม โซดา เนื่องจากทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร จึงกระตุ้นการสร้างน้ำย่อยมากขึ้น

เลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน

14.งดอาหารรสจัด เช่น เผ็ดจัด เค็มจัด เปรี้ยวจัด 

15.หลีกเลี่ยงน้ำส้มสายชู เพราระมีความเป็นกรดสูง จึงเป็นการเพิ่มกรดในกระเพาะอาหาร

16.ไม่รับประทานผลไม้ที่มีกรดมาก เช่น หัวหอม กระเทียม มะเขือเทศ ส้ม มะนาว เลมอน องุ่น เกรพฟรุต สับปะรด แครนเบอร์รี่ หรือมะเขือเทศ ซอสมะเขือเทศ และผลไม้รสเปรี้ยวจัด 

17.งดอาหารหมักดอง เนื่องจากมีการเพิ่มแก๊สในกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดอาการจุกเสียดแน่นท้องได้

18.ไม่ควรรับประทานอาหารหมากฝรั่ง การเคี้ยวหมากฝรั่งจะเพิ่มการหลั่งน้ำลาย ทำให้เราต้องกลืนน้ำลายเท่ากับกลืนลมลงกระเพาะอาหารมากขึ้น ดังนั้นคนเป็นกรดไหลย้อนจึงไม่ควรเคี้ยวหมากฝรั่งบ่อย ๆ นาน ๆ ครั้งอาจจะพอไหว

19.เมื่อมีอาการควรลุกขึ้นนั่งหลังตรงสักพัก เพื่อควบคุมอาการที่กำเริบ ให้กรดที่หลั่งออกมาอยู่ในบริเวณที่เหมาะสม ไม่ระคายเคืองหลอดอาหาร

20.หากจะเอนหลังพักหรือนอนให้ปรับหมอนหนุนให้สูงขึ้นเล็กน้อยให้ศีรษะอยู่สูงกว่าลำตัว ป้องการเกิดอาการกรดไหลย้อนซ้ำ

21.ควรมีอาหารว่าง จะเป็นขนมชิ้นเล็ก ๆ ไว้เพื่อรองท้องไม่ให้น้ำย่อยกัดกระเพาะ ทางที่ดีควรเป็นขนมปังเพราะโซเดียมต่ำ 

22.มียาลดกรดและยาเคลือบกระเพาะไว้ใกล้ตัว สามารถช่วยบรรเทาอาการแสบท้อง จุกเสียด ปวดกระเพาะจากกรดเกินได้ทันท่วงที 

23.การดื่มนม ควรเลือกนมที่ไม่มีแลคโตส เพื่อไม่ให้กระเพาะทำงานหนักกว่าเดิม สามารถเคลือบกระเพาะได้ และช่วยให้อยู่ท้องอีกด้วย

อาการของโรคกรดไหลย้อน

เมื่อมีอาการของโรคกรดไหลย้อนขึ้น ทำให้เกิดการทรมานมากจนอยากจะหาย ๆ เสียที เพราะทำให้นอนไม่หลับ รับประทานอาหารก็ลำบาก แสบร้อนกลางอก เรอบ่อย กลืนลำบาก มีเสมหะ หรือไอบ่อย ๆ คลื่นไส้ อาเจียน การรักษาทำได้โดยพบแพทย์เพื่อรับยามารับประทาน และปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร เมื่อปฏิบัติตัวอย่างเคร่งครัดและค่อยสังเกตอาการของตัวเองอย่างสม่ำเสมอก็สามารถป้องกันการกำเริบของกรดไหลย้อนได้ 

 

Back To Top