เลสิก ปรับค่าสายตาด้วยการยิงเลเซอร์

เลสิก ปรับค่าสายตา

ธรรมชาติที่งดงาม  ทะเลหมอกในยามเช้า ทุ่งทานตะวันที่บานสะพรั่ง  น้ำตกที่เย็นช่ำ ทุ่งดอกไม้ที่เบ่งบาน วิวทิวทัศน์ที่งดงาม จะเก็บไว้เป็นความทรงจำที่ดีจากการได้เห็นอย่างเต็มตาเก็บรายละเอียดทั้งหมดไว้ การมองเห็นที่ชัดเจนจึงมีความสำคัญมาก ไม่ว่าจะท่องเที่ยวหรือการใช้ชีวิตประจำวัน  ดังนั้นควรให้ความสำคัญในการถนอนดวงตา เมื่อเกิดปัญหากับดวงตาให้รีบแก้ไข บำรุง รักษา อย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้านสายตา สั้น ยาว เอียง ซึ่งในปัจจุบันได้มีนวัตกรรมมากมายมาช่วยแก้ไขปัญหาเหล่านี้ เลสิคเป็นนวัตกรรมที่ได้รับความนิยมมากเนื่องจากสามารถแก้ไขปัญหาได้ตรงจุดและถาวร ปลอดภัย

เลสิค เริ่มมีมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1949 Dr. Barraquer เป็นผู้ที่คิดค้นเครื่องมือแยกชั้นกระจกตาเพื่อทำการรักษาภาวะสายตาสั้น และสายตายาว โดยการทำผ่าตัดนั่นจะเป็นการแยกชั้นกระจกตา นำชั้นกระจกตาที่แยกได้ไปฝน แล้วจึงนำกลับมาเย็บกลับเข้าที่เดิม เรียกว่า Keratomileusis ซึ่งในระยะแรกผลการรักษาก็ยังไม่แม่นยำเท่าที่ควร แต่ก็ได้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน สำหรับในประเทศไทย เริ่มทำการรักษาวิธีเลสิคครั้งแรกที่โรงพยาบาลรามาธิบดี ในประเทศไทย นำโดย นายแพทย์ เอกเทศ ชันซื่อ ซึ่งเป็นจักษุแพทย์

 การทำเลสิค (Lasik) ชื่อเรียกของการปรับค่าสายตาด้วยการยิงเลเซอร์ที่กระจกตา คำว่า LASIK ย่อมาจาก Laser In Situ Keratomileusis  คือ การเจียระไนกระจกตาให้ได้ความโค้งที่ต้องการเพื่อปรับให้ภาพคมชัด สามารถแก้ไขสายตาผิดปกติ ได้แก่ สายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียงโดยกำเนิด โดยจะมุ่งเน้นการไปแก้ไขที่กระจกตาเป็นหลัก

สายตาสั้น (Myopia) คือการที่มองเห็นวัตถุที่อยู่ไกลไม่ชัด แต่จะมองเห็นวัตถุที่อยู่ใกล้ได้ชัดเจน ซึ่งมีสาเหตุมาจากกระจกตาที่โค้งมากเกินไป หรือกระบอกตายาวเกินไป

สายตายาว (Hyperopia) คือการมองเห็นวัตถุที่อยู่ใกล้ได้ไม่ชัดแต่ไกลกลับชัดเจน ซึ่งมีสาเหตุมาจากกระจกตาโค้งน้อยกว่าปกติ (แบน) หรือกระบอกตาสั้นเกินไป หรือเป็นสายตายาวตามวัย เนื่องมาจากกล้ามเนื้อตาที่เสื่อมสภาพลงตามวัย

สายตาเอียง (Astigmatism) คือการมองเห็นภาพไม่ชัดเจน เพราะมีการหักเหของแสงที่ตกกระทบโฟกัสที่จอประสาทตาไม่สม่ำเสมอในระนาบเดียวกัน

เลสิค จึงเป็นวิธีการผ่าตัดรักษาภาวะสายตาผิดปกติ (สายตาสั้น สายตายาวโดยกำเนิด สายตาเอียง และสายตายาวตามอายุ) แบบถาวร โดยใช้ เครื่องแยกชั้นกระจกตา Microkeratome แยกชั้นกระจกตาให้มีความหนาประมาณ 1 ใน 3 ของความหนาของกระจกตาทั้งหมดแล้วใช้ Excimer Laser ขัดเนื้อกระจกตาชั้นกลาง เพื่อเปลี่ยนความโค้งของกระจกตาโดยรวมแล้วจึงปิดผิวกระจกตาเข้าที่เดิม ที่นิยมมีอยู่ 4 แบบ

PRK (Photorefractive Keratectomy) เป็นวิธีแก้ไขสายตารุ่นแรกสุด ในปัจจุบันยังเป็นที่นิยม ขั้นตอนไม่ยุ่งยากมากนัก โดยการรักษาจะไม่แยกชั้นกระจกตา แต่จะลอกผิวกระจกตาชั้นนอกสุด (Epithelium) ออกก่อน แล้วใช้เอ็กไซเมอร์เลเซอร์ (Excimer laser) ปรับความโค้งของกระจกตาแทน ก่อนจะปิดกระจกตาด้วยคอนแทคเลนส์นาน 5-7 วัน เพื่อลดอาการระคายเคืองตา ระยะเวลาที่ใช้ในการผ่าตัดเพียงแค่ประมาณ 15-20 นาทีเท่านั้น ผู้ที่เหมาะจะทำวิธี คือ ผู้ที่มีสายตาสั้นและเอียงไม่มาก มีอาการตาแห้งเรื้อรัง ผู้ที่ถูกกำหนดให้ทำการรักษาด้วยวิธี PRK เท่านั้น เช่น การเตรียมตัวเข้าสอบนักบิน สอบเตรียมทหาร มีอาชีพเสี่ยง เช่น นักมวย กระจกตาบางหรือผิดรูป มีประวัติกระจกตาถลอกง่าย เคยมีกาลอกหลุดของกระจกตาดำ มีแผลที่กระจกตา

เลสิก

จุดเด่นของการทำ PRK

1.รักษาค่าสายตาผิดปกติ ได้ทั้งกรณีสายตาสั้นไม่เกิน -600 สายตายาวไม่เกิน -500 และสายตาเอียงไม่เกิน -600

2.ไม่ต้องฉีดยาชา ใช้แค่ยาชาแบบหยอดตา เหมาะสำหรับคนกลัวเข็มกลัวเจ็บมาก

3.ไม่ต้องมีการเย็บแผล ไม่มีการเปิดปากแผลจึงไม่มีแผล

4.กระจกตาบางไม่สามารถใช้การรักษาแบบแยกชั้นกระจกตาได้

5.เกิดตาแห้งน้อยกว่าวิธีเลสิคแบบอื่น

ข้อจำกัดของการทำ PRK

1.มีโอกาสเกิดฝ้าที่กระจกตาได้ หากออกแดดบ่อยเมื่อมีความจำเป็นให้ใส่อุปกรณ์ป้องกัน เช่น แว่นตากันแดด หมวก หรือกางร่ม

2.อาจมีอาการระคายเคืองมากกว่าวิธีอื่น

3.ใช้เวลาฟื้นตัวช้ากว่าการทำเลสิค อาจจะใช้เวลาพักฟื้นนาน

เลสิคใบมีด (Microkeratome LASIK, Blade LASIK, หรือ LASIK) คือ เป็นเทคนิคที่ได้รับความนิยมสูงสุดในขณะนี้ โดยใช้ใบมีดที่มีขนาดเล็กเปิดฝากระจกตาแล้วใช้เอ็กไซเมอร์เลเซอร์ (Excimer laser) ปรับแต่งความโค้งของกระจกตาให้ได้ค่าสายตาที่ต้องการ หลังจากก็สามารถปิดกระจกตากลับเข้าที่เดิมได้เย ใช้เวลาในการทำผ่าตัดประมาณ 15-20 นาที

การทำเลสิค

จุดเด่นของเลสิคใบมีด

1.รักษาค่าสายตาผิดปกติ ได้ทั้งกรณีสายตาสั้นไม่เกิน -1000  สายตายาวไม่เกิน -500  และสายตาเอียงไม่เกิน -600 

2.ผู้ป่วยใช้เวลาพักฟื้นน้อย

3.สามารถกลับมามองเห็นได้เต็มประสิทธิภาพอย่างรวดเร็ว

4.อ่อนโยนต่อสภาพตา ระคายเคืองน้อย ทั้งในช่วงระหว่างผ่าตัดและหลังการผ่าตัด

ข้อจำกัดของการทำเลสิคใบมีด

1.กระจกตาบางหรือไม่สม่ำเสมอไม่สามารถใช้เทคนิคนี้ได้

2.รอยแผลบนผิวกระจกตา จากการแยกชั้นกระจกตา แต่จะสมานและหายไปเอง

3.ไม่เหมาะกับผู้ป่วยตาแห้งเรื้อรังเพราะมีโอกาสเกิดภาวะตาแห้งมากกว่าวิธีการทำเลสิคแบบอื่น 

เฟมโตเลสิค (FemtoLASIK) เป็นวิธีการรักษาที่ใช้เลเซอร์ (Femtosecond Laser) ในการเปิดฝากระจกตา และปรับแต่งความโค้งของกระจกด้วยเอ็กไซเมอร์เลเซอร์ (Excimer laser) ใช้เลเซอร์เป็นหลักตลอดการรักษา จึงมีความแม่นยำและความปลอดภัยที่สูงสุด ใช้เวลาในการผ่าตัด 30 นาที

จุดเด่นของการทำเฟมโตเลสิค

1.รักษาค่าสายตาผิดปกติ ได้ทั้งสายตาสั้นไม่เกิน -1000  สายตายาวไม่เกิน -500  และสายตาเอียงไม่เกิน -600 

2.ผลข้างเคียงและภาวะแทรกซ้อนต่ำ เพราะมีความแม่นยำค่อนข้างสูงมีโอกาสผิดพลาดน้อยมาก

3.อ่อนโยน และก่อความระคายเคืองน้อย

4.ไม่ต้องฉีดยาชา ใช้แค่ยาชาแบบหยอดตา

5.ฟื้นตัวได้เร็ว เพราะไม่ต้องผ่าตัด

6.สามารถกลับมามองเห็นได้เต็มประสิทธิภาพอย่างรวดเร็ว

7.มีความแม่นยำในการแยกชั้นกระจกตาสูง

ข้อจำกัดของการทำเฟมโตเลสิค

1.อาจเกิดรอยแผลบริเวณกระจกตาจากการเปิดฝากระจกตา

2.มีโอกาสฝากระจกตาเคลื่อนที่ เลื่อนหลุดออกได้ หากมีอุบัติเหตุกระทบกระเทือนตาอย่างรุนแรง

เลสิคแบบไร้ใบมีด (ReLEx Smile) หรือ Refractive lenticule extraction – Small incision lenticule extraction gxเป็นเทคโนโลยีล่าสุด ไม่ต้องเปิดฝากระจกตา แต่จะใช้เลเซอร์ตัดเนื้อกระจกตาเป็นชิ้นเลนส์ ซึ่งมีความแม่นยำสูง แล้วดึงออกผ่านแผลที่มีขนาดเล็กประมาณ 2-4 มม. รบกวนกระจกตาน้อยมาก ระยะเวลาในการผ่าตัดประมาณ 15-20 นาที

จุดเด่นของวิธีนี้ คือ

1.ไม่มีการแยกชั้นกระจกตาให้เกิดบาดแผล ไม่มีแผลใหญ่

2.ระคายเคืองหรือปวดตาน้อยมาก เพราะแผลมีขนาดเล็กมาก

3.โอกาสเกิดภาวะตาแห้งน้อยมาก เพราะรบกวนกระจกตาน้อยมาก

4.รักษาโครงสร้างทางกายภาพและความแข็งแรงของเนื้อกระจกตาได้ดี

5.ลดภาวะแสงฟุ้งกระจายตอนกลางคืน

ข้อจำกัด

1.ใช้ทักษะความชำนาญของแพทย์เป็นอย่างมาก แพทย์ต้องมีความเชี่ยวชาญด้านนี้โดยตรง

2.มีระยะการฟื้นตัวใกล้เคียงหรืออาจช้ากว่าการทำเลสิคใบมีด

3.รักษาได้เฉพาะผู้ที่มีสายตาสั้นตั้งแต่ -50 ถึง -1000 และสายตาเอียงไม่เกิน -600 แต่ยังใช้รักษาภาวะสายตายาวไม่ได้

ขั้นตอนการทำเลสิก

การเตรียมตัวก่อนมารับการรักษาเลสิค

หากท่านคิดว่าเลสิค อาจเป็นทางเลือกหนึ่งในการลดการพึ่งพาแว่นสายตา หรือคอนแทคเลนส์ของท่าน TRSC ขอแนะนำให้ท่านเข้ารับการตรวจประเมินสภาพตาโดยละเอียดเพื่อรักษาเลสิค ซึ่งมีความสำคัญ สองประการ คือ ประการแรก เพื่อพิจารณาว่าท่านเป็นผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมกับการรักษาเลสิค หรือไม่ ประการที่สอง เพื่อพิจารณาว่าดวงตาของท่านมีสุขภาพตาสมบูรณ์ มีโรคใดๆ หรือไม่ ทั้งนี้ก่อนทำการรักษาเลสิค สำหรับท่านที่ใส่คอนแทนเลนส์ ควรงดใส่คอนแทคเลนส์อย่างน้อย 3 วันก่อนตรวจ สำหรับท่านที่ใส่คอนแทคเลนส์ชนิดแข็ง (Hard Lens) หรือชนิดกึ่งแข็งกึ่งนิ่ม (Semi Hard Lens) ควรงดใส่คอนแทคเลนส์อย่างน้อย 14 วันก่อนตรวจ ทั้งนี้ คนไข้สามารถใช้แว่นสายตาแทนในระหว่างที่ไม่ได้ใส่คอนแทคเลนส์ รายละเอียดการเตรียมตัวก่อนผ่าตัดเลสิค

ผู้ที่เหมาะสมสำหรับการรักษาด้วยวิธีเลสิค

1.มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป และมีสายตาคงที่อย่างน้อย 1 ปี

2.ไม่เป็นโรคของกระจกตา เช่น โรคกระจกตาย้วย ตาแห้งอย่างรุนแรง และโรคตาอย่างอื่น เช่น จอประสาทตาเสื่อม 

3.ไม่มีโรคประจำตัวทางร่างกายที่มีผลต่อการหายของแผล เช่น โรค SLE โรค Sjogren’s หรือโรคอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการขาดภูมิคุ้มกัน

3.ไม่อยู่ระหว่างตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร

วิธีเลือกทำเลสิคที่ไหน

1.สถานที่ให้บริการ ควรสะอาดและได้รับการรับรองตามมาตรฐานกระทรวงสาธารณสุข มีความปลอดภัยสูงสุด 2.มีแพทย์ประจำและแพทย์ที่ทำเลสิค ควรเป็นจักษุแพทย์เฉพาะทางด้านการผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ และมีประสบการณ์มีความเชี่ยวชาญด้านนี้โดยตรง

3.เทคโนโลยีเครื่องมือที่ใช้ครบถ้วน และควรได้มาตรฐานและเป็นรุ่นที่ทันสมัยมีการตรวจเช็คตลอด เพราะจะทำให้สามารถแก้ไขค่าสายตาได้แม่นยำและมีความปลอดภัย โดยมีผลข้างเคียงน้อย

4.มีทีมเจ้าหน้าที่ ที่มีประสบการณ์ในด้านการดูแลการทำเลสิค ทั้งก่อนทำและหลังทำ จะสามารถให้คำแนะนำปรึกษาได้อย่างละเอียดและครบถ้วน ดูแลได้ถูกต้องและเมื่อเกิดผลข้างเคียงสามารถสังเกตเห็นได้ทันทีและให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นได้

5.ระดับราคาเป้นที่ยอมรับได้ เลสิคแต่ละประเภท มีค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีและความซับซ้อนของเทคนิคการผ่าตัด 

การทำเลสิกสายตา

เพราะดวงตามีเพียงคู่เดียวที่จะอยู่กับเราไปตลอดชีวิต ดังนั้นการผ่าตัดแก้ไขสายตาหรือการทำเลสิคก็มักจะทำเพียงครั้งเดียวในชีวิต การจะตัดสินใจจึงมีความสำคัญมากว่าจะทำดีหรือไม่ จะทำที่ไหน เพราะฉะนั้นควรศึกษาข้อมูลให้ดีพิจารณาให้รอบด้าน ปรึกษาจักษุแพทย์โดยตรงเพื่อฟังคำแนะนำและไขข้อข้องใจก่อนตัดสินใจ ซึ่งหลังจากทำแล้วผลลัพธ์ที่ได้รับนั้นคุ้มค่า ทำให้มีความมั่นใจในการดำเนินชีวิตมากขึ้น ลดข้อจำกัดบางอย่างลงเช่นบางกิจกรรมไม่สะดวกกับการใส่แว่นสายตาปัญหานี้ก็หมดไป ทำให้คุณชีวิตดีขึ้นอย่างชัดเจนค่ะ

Back To Top