แก้ปวดฟัน หาย ใน 1 นาที

แก้ปวดฟัน

ฟันขาว ยิ้มสวย เป็นเสน่ห์ของคนยิ้ม ยิ้มอย่างจริงใจ หน้าตาจะสดใสเปล่งประกาย แต่ถ้ามีอาการปวดฟันเกิดขึ้น รอยยิ้มอันแสนสวยก็จะจางหายไป ความทรมานก็จะมากวนใจและความมั่นใจก็หดหายด้วยเช่นกัน

อาการปวดฟันมีผลมาจากฟันผุเสียเป็นส่วนใหญ่ เริ่มแรกจะเสียวฟัน และเริ่มปวดลามไปที่ใต้คางและศีรษะ เมื่อดื่มของเย็น ของร้อน หรือรับประทานของหวาน ๆ  เพราะไปกระตุ้นให้แบคทีเรียที่อยู่ในช่องปากปล่อยกรดออกมาทำลายสารเคลือบฟัน และซอนไซเข้าไปงเนื้อเยื่อภายใน ซึ่งมีเส้นเลือดฝอยจำนวนมากและเนื้อที่จำกัด จึงทำให้เกิดการอักเสบและบวม

เมื่อเกิดอาการบวม จะทำให้เส้นประสาทถูกกด ปิดกั้นช่องทางเปิดปลายรากฟันทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก ไม่สามารถนำออกซิเจนมาเลี้ยงฟันได้ เกิดอาการปวดฟันรุนแรงและเนื้อฟันก็จะตาย เมื่อเนื้อฟันตายอาการปวดก็จะหายไป แต่ถ้าเป็นหนองที่ปลายรากฟันอาการปวดก็กลับมาอีก จะเป็นแบบตื้อๆ และสามารถระบุตำแหน่งได้ชัดเจนขึ้น

อาการปวดฟันอาจเกิดจากวัสดุอุดฟันหลุดไป ฟันร้าวหรือแตกจนถึงชั้นเนื้อฟันและโพรงประสาทฟัน การนอนกัดฟัน ปวดเนื่องจากมีฟันคุด เหงือกอักเสบทำให้เหงือกร่นส่งผลให้เกิดอาการเสียวฟันและปวดฟัน  รวมไปถึงคนที่มีความไวเป็นพิเศษต่อของร้อนหรือของเย็นได้

ปวดฟัน

วิธีลดอาการปวดฟัน

1.ประคบน้ำอุ่นด้านข้างของใบหน้าซีกที่ปวดฟัน 

2.ถ้ามีการติดเชื้อปวดตุบ ๆ ให้ประคบใบหน้าด้านข้างที่ปวดด้วยน้ำแข็งประมาณ 5-10 นาที ทุกๆ ครึ่งชั่วโมง ความเย็นจะช่วยลดทั้งอาการปวดและบวม

3.ถ้ามีอาการเสียวฟันง่าย ให้ใช้โซดาไฟ หรือแปรงฟันด้วยยาสีฟันสูตรสำหรับแก้เสียวฟัน

4.ปิดปากด้วยผ้าพันคอเมื่อต้องอยู่ในที่ที่อากาศเย็นหรือในช่วงฤดูหนาว ช่วยลดอาการเสียวฟัน หรืออาการปวดฟันจากอากาศเย็นได้ 

5.เลี่ยงอาหารที่ร้อนจัด เย็นจัด และหวานจัด เพราะจะยิ่งกระตุ้นให้มีอาการ 

6.งดอาหารที่แข็งจนต้องใช้วิธีกัดกิน เช่น แครอท แอปเปิ้ล ฝรั่ง ที่ยังไม่สุก เพราะการขบกัดฟันแรง ๆ จะกระตุ้นให้เกิดอาการปวดฟัน 

7.กรณีที่อุดฟัน ควรหลีกเลี่ยงการเคี้ยวหมากฝรั่ง เพราะจะทำให้สารที่อุดฟันไว้ หลุดออกมาง่ายขึ้น

8.นวดกดจุด ลดอาการปวด 

8.1. นวดคลึงเบา ๆ ที่แก้มบริเวณเหนือฟันที่ปวด จะช่วยบรรเทาอาการปวดได้ชั่วคราว

8.2. ใช้น้ำแข็งก้อนเล็ก ๆ กดและถูบริเวณง่ามมือ ระหว่างนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้ หรือใช้มืออีกข้างนวดบริเวณเดียวกันนี้ จะช่วยลดอาการปวดฟันได้ชั่วคราว

8.3. สำหรับคนที่ปวดบริเวณกรามล่าง ให้ใช้นิ้วหัวแม่มือนวดบริเวณกระดูกขากรรไกรที่รองรับฟันล่าง ส่วนคนที่ปวดบริเวณกรามบน ให้วางนิ้วหัวแม่มือตรงบริเวณส่วนกลางของหู แล้วลากนิ้วไปทางด้านหน้า จนกระทั่งถึงรอยบุ๋มใต้กระดูกประมาณ 1 นิ้วบริเวณหน้าใบหู จากนั้นกดแรงๆ ประมาณ 10 นาที

9.สมุนไพรบรรเทาปวด บางคนพึ่งยาสารพัดชนิด ทั้งกิน ทั้งทา แต่พอหมดฤทธิ์ยาแล้ว อาการปวดฟันก็กลับมาสำแดงเดชอีกครั้ง ลองมาสยบอาการปวด ด้วยฤทธิ์ยาทางธรรมชาติของสมุนไพรเหล่านี้ดีกว่าค่ะ

9.1.ว่านหางจระเข้ มีสรรพคุณในการทำลายเชื้อโรค และสลายพิษ (Neutralization) ของเชื้อโรค โดยหั่นว่านหางจระเข้เป็นชิ้นๆ ความยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร เหน็บไว้ที่ซอกฟัน ใช้ฟันขบให้อยู่บริเวณที่ปวด หรือใช้ไม้พันสำลีจุ่มน้ำวุ้นว่านหางจระเข้ ป้ายตรงบริเวณที่ปวด จะช่วยบรรเทาอาการได้ชั่วคราว

9.2.น้ำมันละหุ่ง ทาน้ำมันละหุ่งบริเวณแก้มข้างที่ปวดฟัน และใช้พลาสเตอร์ยาปิดไว้ แล้วใช้ผ้าขนหนูอุ่นๆ หรือแผ่นประคบบริเวณที่มีอาการปวด จากนั้นนอนพักอย่างน้อย 20 นาที น้ำมันละหุ่งมีสรรพคุณในการระงับปวดได้ดี โดยจะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ที่ไปคั่งอยู่กับเชื้อจุลินทรีย์ ในกรณีที่เกิดการติดเชื้อ หรือกับสารที่ทำให้เกิดอาการปวด เช่น ไซโตไคเนส (cytokines) ในกรณีที่ปวดรากฟัน

9.3.น้ำมันกานพลู มีสรรพคุณในการรักษาอาการปวดฟันได้ดีที่สุดชนิดหนึ่ง บางครั้งหมอฟันจะใช้น้ำมันกานพลูแทนยาที่มีฤทธิ์แรงกว่า เช่น Novocain โดยทาน้ำมันกานพลูบริเวณที่ปวดในช่องปากได้โดยตรง (หากน้ำมันกานพลูเข้มข้นเกินไป อาจทำให้เจือจางด้วยการผสมน้ำมันมะกอก) นอกจากนี้ อาจใช้วิธีอมกานพลูทั้งชิ้นไว้ในปากบริเวณที่ปวดก็ได้ จะทำให้รู้สึกชาอย่างรวดเร็ว และอยู่นานกว่า 90 นาที หรือนำดอกกานพลูมาทุบแช่น้ำเหล้าขาว แล้วใช้สำลีอุดฟันซี่ที่ปวด

9.4.น้ำมันกระเทียม ใช้สำลีชุบน้ำมันกระเทียมทาบริเวณที่ปวดฟัน จะช่วยบรรเทาอาการปวดได้เหมือนกัน

9.5.ดาวเรือง ใช้ดอกแห้งประมาณ 7-8 ดอก ต้มกับน้ำสะอาดในประมาณที่พอเหมาะ ดื่มเป็นน้ำสมุนไพรทั้งวัน เพื่อแก้อาการปวดฟัน

9.6.ผักบุ้งนา นำรากสดของผักบุ้งนาประมาณ 10 กรัม ตำให้ละเอียดแล้วคั้นเอาแต่น้ำ ผสมกับน้ำส้มสายชู อมไว้ประมาณ 5 นาที แล้วบ้วนออกด้วยน้ำสะอาด

9.7.มะระ นำรากสดของมะระมาตำพอแหลก แล้วพอกฟันซี่ที่ปวด โดยใช้ลิ้นกดไว้สักครู่ใหญ่ๆ

9.8.กุยช่าย ในกรณีที่ปวดฟันเพราะแมงกิน ฟัน ให้นำเมล็ดกุยช่ายมาคั่วให้เกรียมดำ จากนั้นนำมาบดให้ละเอียด ละลายน้ำมันยางแล้วชุบสำลี ยัดในฟันที่เป็นรูโพรง ทิ้งไว้ 1 คืน จะสามารถฆ่าตัวแมงที่กินฟันได้

วิธีลดอาการปวดฟัน

Tip เมื่อใช้ยาสมุนไพรจนอาการปวดฟันบรรเทาแล้ว หรือมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น อาการปวดบวมเมื่อเคี้ยวอาหาร หรือเหงือกแดงผิดปกติ มีเลือดออก แสดงว่าติดเชื้อ หรือถ้าปวดฟันและมีไข้ร่วมด้วย ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน

10.ไม่ควรใช้ยาแอสไพรินบดอุดบริเวณฟันที่ปวด เพราะจะทำให้เกิดแผลไหม้ที่เหงือก และเป็นอันตรายต่อเคลือบฟันได้

11.ให้รีบแปรงฟัน หรือ แคะเศษอาหารออก

12.บ้วนปากด้วยน้ำสะอาด หลาย ๆ ครั้ง ให้เอาน้ำดื่ม มาอมไว้ในปาก ถ้าได้น้ำ R.O. จะดีมาก จะเป็นน้ำธรรมดา หรือ น้ำเย็นก็ได้ อมน้ำไว้สัก 2 – 3 นาที ให้บ้วนน้ำทิ้งไป แล้วอมน้ำไว้ โดยทำแบบเดิมอีก ทำเช่นนี้ซ้ำหลายๆ ครั้ง จนกว่าอาการจะทุเลา หรือหายไป

13..อมบ้วนปากด้วยน้ำเกลืออุ่น ๆ วิธีทำน้ำเกลือ ก็โดย ผสม เกลือแกง(ในครัว) ประมาณ1/2 ช้อนชา กับน้ำอุ่นประมาณ ครึ่งแก้ว อาจจะใส่ขวดไว้ เพื่อใช้บ้วนปากทุกๆ 1 ชม . และอมกลั้วปากครั้งละ 1 นาที วิธีแก้ปวดฟัน 

14.ยาแก้ปวด มีหลายชนิดด้วยกัน เช่น

Paracetamol 500 mg. รับประทานครั้งละ 1-2 เม็ด ห่างกันทุก 4 ชม. แต่ห้ามรับประทานติดต่อกันนานเกิน 7 วัน เพราะอันตรายต่อตับ

Ibuprofen หรือ Brufen 400 mg. 1 เม็ด หลังอาหารเช้า กลางวัน เย็น สามารถรับประทานร่วมกับ Para ได้เพราะช่วยเสริมฤทธิ์กัน แต่ต้องระวังเพราะกัดกระเพาะ ควรรับประทานหลังอาหารทันที

15.น้ำมันละหุ่ง ทาน้ำมันละหุ่งบริเวณแก้มข้างที่ปวดฟันและใช้พลาสเตอร์ยาปิดไว้ แล้วใช้ผ้าขนหนูอุ่น ๆ ประคบ แล้วนอนพัก 20 นาที น้ำมันละหุ่งมีสรรพคุณในการระงับปวดได้ดี โดยจะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด 

16..น้ำมันกระเทียม ใช้สำลีชุบน้ำมันกระเทียมทาบริเวณที่ปวดฟัน จะช่วยบรรเทาอาการปวดได้

17.ลดการกระทบกระแทกกับฟันซี่นั้น ๆ อาการปวดฟันจะเป็นมากขึ้น ถ้าฟันซี่นั้นถูกกระแทกบ่อย ๆ 

18.น้ำมันกานพลู เป็นยาที่ช่วยลดอาการปวดฟันที่มีการใช้มาเป็นเวลานานแล้ว โดยใช้สำลีชุบน้ำมันกานพลู แล้วอุดลงไปในรูที่ผุ ฤทธิ์ของน้ำมันกานพลูจะออกฤทธิ์เป็นยาแก้ปวดฟันที่ดีมาก

จะเห็นได้ว่า อาการปวดฟันเกิดได้จากหลายสาเหตุ และมีอีกหลาย ๆโรคที่ทำให้ปวดได้ ดังนั้นหากรู้สึกว่ามีอาการปวดฟัน ควรรีบพบทันตแพทย์เพื่อค้นหาสาเหตุและได้รับการรักษาที่เหมาะสมไม่ควรจะปล่อยทิ้งไว้เพราะอาจเป็นมากขึ้นจากการอักเสบติดเชื้อจะทำให้การรักษายุ่งยากมากขึ้นและใช้เวลาในการรักษานานขึ้นด้วย

Back To Top