โรคกลัวสังคม อาการป่วยที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินชีวิต

โรคกลัวสังคม

ไม่มีใครสามารถอยู่ตัวคนเดียวได้ ต้องมีการพบปะเข้าสังคม มีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น มีการพบปะผู้คนใหม่ ๆ  สถานที่ใหม่ สถานการณ์ใหม่อยู่เกือบตลอด ซึ่งมีผลให้เกิดการประหม่า ใจสั่น มือสั่น เมื่อต้องเจอเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดเอาไว้ หรือเป็นเหตุการณ์ที่กำหนดไว้แต่ต้องถูกจับจ้องจากคนหมู่มาก เช่น การประกวดต่าง ๆ แต่มีคนจำนวนหนึ่งที่จะมีอาการวิตกกังวลหรือกลัว ประหม่า อึดอัด กังวลใจ เมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่มีผู้อื่นจ้องมองทุกครั้งแม้จะเป็นการสนทนาแบบสองต่อสอง ไม่ว่าจะเกิดขึ้นกี่ครั้งก็ตามและแม้จะผ่านการฝึกฝนมาหลายครั้ง เรียกว่า โรคกลัวสังคม

การตื่นเต้นเมื่อต้องพบปะผู้คน ใจสั่น มือสั่น เสียง ที่เกิดจากการตื่นเต้นและความกังวล ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาที่ทุกคนสามารถเป็นได้ โรคกลัวสังคม ซึม เศร้า มักเกิดเป็นครั้งคราว แต่สำหรับผู้ป่วยโรคกลัวสังคมจะมีอาการทุกครั้งที่ต้องตกอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่คุ้นเคย ถึงแม้จะเป็นการสนทนาแบบสองต่อสอง จะกังวลตลอดเวลา และไม่สามารถก้าวข้ามผ่านไปได้

คนขี้อายจะมีอาการประหม่าไม่มากเท่ากับผู้ป่วยโรคกลัวสังคม คนขี้อายบางครั้งอาจมีอาการและบางครั้งอาจไม่มี ไม่ได้มีอาการตลอดเวลา และมักมีอาการในสถานการณ์สำคัญหรือในสถานการณ์ที่มีคนที่ชอบหรือสนใจมาก ๆ อยู่ด้วย

อาการของโรคกลัวการเข้าสังคม

โรคกลัวสังคม เป็นอาการป่วยที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินชีวิตอย่างมาก โดยเฉพาะด้านหน้าที่การงาน มักจะมีอาการตั้งแต่ยังอายุน้อย แต่ โรคกลัวสังคม ซึม เศร้า จะเด่นชัดในช่วงวัยรุ่นซึ่งเป็นจังหวะที่เริ่มเข้าสังคมมากขึ้น ถ้าปล่อยให้เกิดขึ้นในระยะยาวจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันและความสัมพันธ์กับผู้อื่น อาการหลัก ๆ ของโรคนี้ คือ

1.วิตกกังวลกลัวต่อการถูกเฝ้ามองหรือถูกประเมินจากคนอื่น หรืออาจตกเป็นเป้าสายตาของการถูกวิพากษ์วิจารณ์ กังวลว่าตนเองจะทำเรื่องน่าอายต่อหน้าผู้อื่น และจะถูกผู้อื่นตัดสิน เยาะเย้ย หรือถากถาง

2.ลังเล รู้สึกไม่สบายใจ พยายามทำตัวกลมกลืนไปและไม่ให้เป็นจุดสนใจของผู้อื่น

3.หลบเลี่ยงที่จะเริ่มพูดคุย แสดงออก ในงานรื่นเริง 

4.ไม่ค่อยสบตา หรือมักพูดเบา ๆ พึมพำเวลาที่ต้องสนทนา

5.คุยหรือเล่นกับเพื่อนน้อย ก้มหน้าก้มตา พูดติดขัด คิดอะไรไม่ออก

6.แยกตัวจากกลุ่มเพื่อน ไปเก็บตัวในห้องสมุดอย่างไม่มีความสุข ไม่ค่อยพูดจากบใคร

7.ใส่ใจกับคำพูดคำวิจารณ์ต่าง ๆ อย่างมาก กลัวการขายหน้าสุด

8.ปวดหัว ปวดท้องบ่อย ๆ โดยเฉพาะเวลาที่ต้องพบเจอกับคนที่ไม่คุ้นเคย

9.กังวลว่าผู้อื่นจะสังเกตเห็นความเครียดหรือความกังวลของตนเอง เช่น หน้าแดง มือสั่น หรือพูดติดขัด เหงื่อออกมาก

10.คลื่นไส้ เวียนศีรษะ หน้ามืด

11.หายใจไม่ทัน หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง

12.มีความกังวลล่วงหน้าต่อเหตุการณ์ป็นเวลานนานหลายวันหรือหลายสัปดาห์แม้เหตุการณ์จะยังไม่เกิดขึ้น หรือกลัวจะเกิดความผิดพลาดซ้ำเหมือนในอดีต

13.ขาดเรียนหรือขาดงาน

สาเหตุของโรคกลัวสังคม

สาเหตุสำคัญของโรคนี้มักเกิดจากประสบการณ์ในอดีตทำให้รู้สึกแย่ จนกลายเป็นความฝังใจ และอาจเกิดจากปัจจัยภายในกับปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมได้เช่นกัน เช่น

1.การถ่ายทอดทางพันธุกรรม พบว่าบางคนมีประวัติครอบครัวมีคนเป็นโรควิตกกังวลมาก่อน ก็มีแนวโน้มที่จะเป็นโรควิตกกังวลได้สูงขึ้น

2.ความผิดปกติของโครงสร้างของสมองส่วนอะมิกดาลา (Amygdala) ซึ่งทำหน้าที่ตอบสนองต่อความกลัว เมื่อสมองถูกกระตุ้นผิดปกติ ก็ทำให้ตอบสนองต่อความกลัวสังคมเพิ่มขึ้น

3.สภาพแวดล้อมและการเลี้ยงดู อาจเกิดจากพฤติกรรมการเรียนรู้หลังเผชิญเหตุการณ์ที่น่าอาย หรือเรียนรู้พฤติกรรมการเลี้ยงดูของผู้ปกครอง เด็กที่เคยถูกทำร้ายร่างกายหรือจิตใจอย่างรุนแรง จะมีความเครียดและวิตกกังวลมากกว่าคนอื่น

4.ความกดดันจากการทำงานหรือการเข้าสังคมใหม่ 

5.ใบหน้าเสียโฉม อาจเกิดความรู้สึกกังวลและกลัวที่จะเข้าสังคมได้

การรักษาโรคกลัวการเข้าสังคม

เป็นโรคที่สามารถรักษาได้ด้วยวิธีการปรับเปลี่ยนความคิด มุมมองของตนเอง และกำลังใจจากคนรอบข้าง โดยวิธีที่มักนำมาใช้รักษา ได้แก่ 

1.จัดการกับความเครียดด้วยวิธีที่เหมาะสม มีการปรึกษาและวางแผนร่วมกัน

2.หันมาออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมที่ได้ออกแรงเป็นประจำ ออกบ้าน เช่น สวนสาธารณะ สวนสุขภาพ

3.นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เนื่องจากการอดนอนอาจกระตุ้นให้เกิดความวิตกกังวละทำให้อาการของโรคแย่ลงได้

4.รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และมีสารอาหารครบถ้วนในแต่ละวัน หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น กาแฟ ช็อคโกแลต และโซดา เพราะอาจกระตุ้นให้เกิดอาการวิตกกังวล

5.หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะอาจทำให้เข้าใจผิดว่า ดื่มเหล้าแล้วทำให้กล้าแล้วจะไปยึดติด ทุกครั้งที่จะทำให้อะไรต้องดื่มเหล้าซึ่งส่งผลเสียมากขึ้น

6.ควรฝึกการเข้าสังคมอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยอาจเริ่มจากคนที่รู้สึกคุ้นเคย สบตาและทำความรู้จักกับคนใหม่ ๆ อย่ารีบร้อนเพราะอาจทำให้เกิดความกังวลมากขึ้นได้ 

7.ควรเตรียมความพร้อมเมื่อต้องอยู่ในสถานการณ์ทางสังคม เช่น เตรียมหัวข้อที่สนใจเพื่อพูดคุยกับผู้อื่น ฝึกการผ่อนคลายร่างกายและจัดการกับความเครียด 

8.จิตบำบัดเป็นวิธีที่นิยมนำมาใช้ในการรักษา จะได้เรียนรู้วิธีการปรับมุมมองความคิดแง่ลบเกี่ยวกับตัวเอง และเสริมสร้างความมั่นใจเมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ทางสังคม เช่น 

8.1การบำบัดด้วยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavior Therapy) โดยพูดคุยกับนักจิตบำบัดเพื่อจัดการกับความกังวลด้วยการผ่อนคลายร่างกาย และปรับความคิดแง่ลบให้เป็นบวก เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด 

8.2.การบำบัดด้วยการจำลองโลกเสมือนจริง (Exposure Therapy) โดยให้ได้เผชิญกับสถานการณ์ที่รู้สึกกลัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ฝึกความมั่นใจและทักษะการรับมือ

8.3. การบำบัดด้วยวิธีกลุ่ม (Group Therapy) จะได้เรียนรู้ทักษะในการพูดคุยและเข้าสังคม เพื่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนในกลุ่มผ่านการทำกิจกรรม จะทำให้ผู้ป่วยไม่รู้สึกแปลกแยกหรือโดดเดี่ยว

9.การรักษาด้วยยา กลุ่มยาต้านเศร้าเอสเอสอาร์ไอ หรือยารักษาโรคซึมเศร้ากลุ่มเอสเอ็นอาร์ไอ ซึ่งแพทย์จะเริ่มจ่ายยาให้ผู้ป่วยในปริมาณน้อย แล้วค่อย ๆ ปรับเพิ่มขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงของผลข้างเคียงหลังได้รับยา ซึ่งบางรายอาจต้องได้รับยาและการบำบัดอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาหลายปีเพื่อป้องกันการเกิดอาการซ้ำ 

10.ไปพบแพทย์ตามการนัดหมายสม่ำเสมอ รับประทานยาให้ครบตามที่แพทย์สั่ง 

ภาวะแทรกซ้อนของโรคกลัวการเข้าสังคม

โรคกลัวสังคม หากปล่อยไว้โดยไม่ได้รับการรักษา อาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน การเรียน การทำงาน ความสัมพันธ์ และความสุขในชีวิต โดยอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ดังนี้

1.ความมั่นใจในตัวเองต่ำ ตำหนิติเตียนหรือดูถูกตนเอง

2.มีปัญหากับการแสดงออก หรือไม่กล้าแสดงความคิดเห็น

3.อ่อนไหวง่ายผิดปกติเมื่อได้รับคำวิจารณ์

4.ขาดทักษะการเข้าสังคม และพัฒนาได้ยาก

5.แปลกแยกและไม่มีความสัมพันธ์ทางสังคมกับผู้อื่น

6.ไม่ประสบความสำเร็จในการเรียนหรือหน้าที่การงาน

7.เป็นโรคซึมเศร้า หรือความผิดปกติทางจิตใจอื่น ๆ

8.ใช้สารเสพติด อย่างการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมาก

9.มีความคิดหรือพยายามฆ่าตัวตาย

การป้องกันโรคกลัวการเข้าสังคม

โรคกลัวสังคม อาจป้องกันได้ยาก เนื่องจากไม่สามารถคาดเดาสาเหตุของการเกิดโรคได้ แต่วิธีต่อไปนี้อาจช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคในผู้ที่มีความกังวลได้

1.จดบันทึกในแต่ละวัน เพื่อช่วยให้สังเกตและวิเคราะห์อารมณ์ความรู้สึกได้ง่ายขึ้น

2.จัดลำดับความสำคัญของเรื่องต่าง ๆ ในชีวิต เพื่อให้สามารถจัดสรรเวลาและการใช้พลังในแต่ละวันได้ดีขึ้น รวมทั้งควรแบ่งเวลาสั้น ๆ เพื่อทำสิ่งที่ชอบหรือสนใจในแต่ละวัน

3.หลีกเลี่ยงหรือเลิกใช้สารเสพติดที่ทำให้เสียสุขภาพ โดยอาจปรึกษาแพทย์เพื่อหาวิธีเลิกการใช้สารเสพติดด้วยวิธีที่เหมาะสม

4.งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือแม้แต่คาเฟอีนที่ทำให้อาการวิตกกังวลแย่ลง 

5.หมั่นสังเกตอาการหากรู้สึกวิตกกังวล ควรเข้ารับการรักษาโดยเร็วที่สุด เพราะถ้าปล่อยให้มีอาการเป็นระยะเวลานาน อาจส่งผลให้การรักษาทำได้ยากขึ้น

6.สร้างโอกาสให้ทดลองการเข้าสังคมกับสังคมที่หลากหลาย โดยเริ่มต้นไม่ควรผลักดันให้เข้าไปอยู่ในสถานการณ์ใหญ่ ๆ ยาก ๆ เช่น ประกวดร้องเพลง แข่งพูดโต้วาที เพราะถ้าล้มเหลวจะกลายเป็นประสบการณ์ที่แย่แทนที่จะรู้สึกว่าทำได้

7.จูงใจด้วยการให้รางวัลหากกล้าพูด กล้าแสดงออก ในทางที่ถูก

8.ทำตัวเป็นตัวอย่างให้เห็นในสถานการณ์สังคมต่าง ๆ ว่าควรวางตัวอย่างไรเพื่อเป็นแนวทาง

9.คนรอบข้างอย่าทำท่าทางเหนื่อยหน่าย หรือโมโห หากการแสดงออกไม่ได้ดังใจ ควรแสดงความเข้าใจ และให้กำลังใจแนะนำให้ลองครั้งต่อไป

10.ลองเปลี่ยนบรรยากาศกฎเกณฑ์ โดยไม่ใช่เน้นแต่ ความเร็ว หรือ ความเด่น

เมื่อความขี้อาย กลายเป็นความกลัว เกิดความกังวลต่อการเข้าสังคมมากขึ้นหรือที่เรียกกันว่าโรคกลัวสังคม (Social Phobia) พบเห็นได้บ่อยในเด็กและวัยรุ่น ซึ่งรักษาการที่ดีคือทุกฝ่ายต้องร่วมมือกัน ใช้ความอดทนค่อย ๆ ปรับพฤติกรรม bestskinshape เปลี่ยนมุมมองความคิดจากแง่ลบให้กลับมาเป็นบวกในการเข้าสังคม เสริมสร้างความกล้าในการเข้าสังคมที่ละนิด ลดการตำหนิลงและไม่ผลักดันให้ไปอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่คุ้นเคยที่หนักเกินไปและบ่อยเกินไป ที่สำคัญทุกคนต้องค่อยหมั่นสังเกตอาการเมื่อรู้สึกว่ามีความวิตกกังวลมากเกินไป ควรไปพบแพทย์เพื่อค้นหาสาเหตุและรีบแก้ไขไม่ปล่อยทิ้งไว้นาน

Back To Top