cluster (คลัสเตอร์)

คลัสเตอร์

คลัสเตอร์ หมายึง กลุ่มก้อน สามารถใช้ได้กับทุกศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็น เกษตร อุตสาหกรรม การเจ็บป่วย(ระบาดวิทยา) แต่ที่ได้ยินบ่อย ๆ ในตอนนี้ก็ไม่พ้นทางระบาดวิทยา ใช้ในการพบผู้ติดเชื้อตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ซึ่งมีที่มาจากแหล่งเดียวกัน ในระยะเวลาใกล้ ๆ กัน ในกรณีของสถานการณ์โควิด สามารถเป็นได้ทั้งสถานที่ กิจกรรม หรือกลุ่มคนที่อยู่ร่วมกัน เช่น คลัสเตอร์ปาร์ตี้ คลัสเตอร์สนามมวย และคลัสเตอร์จะถึงจุดสิ้นสุดเมื่อไม่พบผู้ติดเชื้อนานกว่า 14 วัน

คลัสเตอร์โควิด

คลัสเตอร์โควิด (Cluster) คือ ผู้ติดโควิด-19 ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปในรอบ 14 วัน โดยทุกคนติดเชื้อจากแหล่งเดียวกัน และอาจมีช่วงเวลาสัมผัสใกล้ ๆ กัน โดยจะใช้คำว่าคลัสเตอร์เรียกแหล่งที่มาของการติดโรค

คลัสเตอร์อาจไม่สามารถระบุได้ชัดเจนว่าต้นทางเชื้อมาจากที่ไหน ผู้ติดเชื้อแต่ละคนติดเชื้อจากใคร เนื่องจากมีความเป็นไปได้ที่จะสัมผัสรับเชื้อจากคนอื่น ๆ ในพื้นที่เดียวกันหรือพื้นที่ใกล้เคียงกัน 

เมื่อพิจารณารูปแบบทางระบาดวิทยาของการเกิดระบาดเป็นกลุ่มก้อน(Cluster) พบว่า

รูปแบบที่ 1 sporadic cases ในชุมชน ที่พบหลายเมือง ของประเทศต่างๆ

รูปแบบที่ 2 clusters ในครอบครัว ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามี ติดจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่ง แต่อยู่ในวงไม่กว้าง โดยเฉพาะผู้อยู่ในครอบครัว หรือผู้สัมผัสมีประวัติป่วยด้วยโรคเรื้อรัง หรือให้เคมีบำบัด

รูปแบบที่ 3 clusters ใน health care setting ซึ่งพบในประเทศจอร์แดน ฝรั่งเศส และซาอุดิอาระเบีย ซึ่งอาจจะแสดงให้เห็นว่า มีการถ่ายทอดเชื้อจากผู้ติดเชื้อไปยังผู้ป่วยรายอื่นๆ(ที่มีโรคเรื้อรัง)ภายใน health care setting นั้นๆ

การระบุจำนวนผู้ติดเชื้อหลังจากที่มีการกระจายจากคลัสเตอร์ไปแล้วนั้น จะทำได้ยากกว่าการระบุจำนวนผู้ติดเชื้อในคลัสเตอร์ที่ยังไม่กระจายออกไป เพราะการพบผู้ติดเชื้อหลังจากกระจายแล้วนั้น มีความเป็นไปได้ที่ผู้ติดเชื้ออาจรับเชื้อมาจากที่อื่น ที่ไม่ใช่ในคลัสเตอร์เดียวกัน หรือผู้ติดเชื้ออาจแพร่เชื้อไปยังที่อื่นแล้วโดยไม่รู้ตัว ทำให้ระบุจำนวนได้ยาก จำนวนผู้ติดเชื้อที่ตรวจพบ จึงมักจะน้อยกว่าจำนวนจริงที่แพร่กระจายออกไปแล้ว 

ถ้าพบผู้เชื่อมโยงกับคลัสเตอร์เกิดขึ้น ควรต้องสอบสวนโรคอย่างเร็วที่สุด และให้คำแนะนำที่ถูกต้องในการป้องกันโรค ซึ่งการประมาณตัวเลขคลัสเตอร์โควิด อาจวิเคราะห์จากข้อมูลทางสถิติ และทำการตรวจเชิงรุกในพื้นที่เสี่ยงเพื่อลดการระบาดได้ เช่นเดียวกับ กรณีของการปูพรมตรวจโรงงานต่างๆ ในจังหวัดสมุทรสาคร นอกจากนี้ หากสถานที่ใดเกิดพบการติดเชื้อ หรือมีอาการคล้ายกันมีการเจ็บป่วยพร้อมกันหลายคน อาจเป็นสัญญาณคลัสเตอร์โควิดใหม่ได้เช่นกัน

ดังนั้น สิ่งสำคัญในการหยุดยั้งการระบาดก็คือการยกการ์ดให้สูง และหากทราบว่าตนเองมีประวัติใกล้ชิดกับผู้ป่วยติดเชื้อ ควรสังเกตอาการอยู่บ้านเป็นเวลา 14 วัน

คลัสเตอร์ในทางระบาดวิทยาสามารถใช้ได้กับโรค หรือปัญหาสุขภาพอื่นๆ ได้ด้วย เช่น โรคมะเร็ง ปัญหาการคลอดบุตรที่เกิดขึ้นเฉพาะพื้นที่ อีกโรคที่ใช้คลัสเตอร์ (Cluster) คือกาการปวดศรีษะ

การปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์ (Cluster Headache)

คือ อาการปวดศีรษะที่เกิดจากความผิดปกติของระบบประสาทอัตโนมัติไตรเจอร์มินอล  และการทำงานของต่อมไฮโพทาลามัส ซึ่งจะพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง อาการปวดจะมีความรุนแรงเกิดขึ้นอย่างกะทันหัน ลักษณะปวดซีกเดียวหรือครึ่งซีก ในบริเวณกระบอกตาลึก ๆ หลังตา หรือบริเวณขมับ การปวดแต่ละครั้งเป็นประมาณ 15 นาที ถึง 3 ชั่วโมง ปวดมาเป็นชุด ๆ ติดต่อกันทุกวัน หรือติดต่อกันหลายสัปดาห์ โดยมักจะปวดในช่วงระยะเวลาเดียวกันของทุกปี และยังมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น  น้ำตาไหล น้ำมูกไหล ลืมตาลำบาก ตาแดง คัดจมูกด้านเดียวกับที่ปวด หนังตาบวม เหงื่อออกที่หน้าและหน้าผาก

การปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์

 ลักษณะอาการของการปวดศรีษะแบบคลัสเตอร์

1.ปวดศรีษะอย่างรุนแรงฉับพลัน

2.ตาแดง

3.น้ำตาไหลออกมามาก

4.รูม่านตาหดเล็กลง

5.ตาไวต่อแสง

6.เปลือกตาหย่อนหรือบวม

7.คัดจมูกหรือมีน้ำมูก

8.เกิดรอยแดงหรือมีเหงื่อออกบนใบหน้า

9.กระสับกระส่าย

10.เวียนศรีษะ

ความเสี่ยงของการปวดศรีษะแบบคลัสเตอร์

การปวดศรีษะแบบคลัลเตอร์นั้นยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่สันนิษฐานว่ามีสาเหตุมาจากการทำงานผิดปกติของสมองส่วนไฮโปทาลามัส ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมระดับฮอร์โมน อุณหภูมิ การนอนหลับ และความดันภายในร่างกายซึ่งอาจทำให้เส้นเลือดบริเวณใบหน้าขยายใหญ่ขึ้นจนไปกดทับเส้นประสาทบนใบหน้า และกระตุ้นความรู้สึกปวดหัวไปยังสมองมากผิดปกติ จึงทำให้เกิดอาการปวดหัวลักษณะนี้ขึ้น และยังมีปัจจัยเสี่ยงที่ส่งส่งเสริมให้เกิดอาการขึ้นได้คือ

1.การสูบบุหรี่

2.การดื่มแอลกอฮอล์

3.กลิ่นที่ฉุน เช่น น้ำหอม สี น้ำมันเบนซิน เป็นต้น

4.ความร้อน เช่น การอาบน้ำอุ่น ออกกำลังกายในห้องที่มีอากาศร้อน เป็นต้น

5.มีประวัติคนในครอบครัวว่ามีคนเคยมีอาการปวดศรีษะแบบคลัสเตอร์มาก่อน

6.เกิดเนื้องอกในสมองหรือต่อมใต้สมอง

คลัสเตอร์ทางด้านธุรกิจ

คลัสเตอร์ (Cluster) คือการรวมตัวกันของธุรกิจและสถาบันต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องซึ่งกันและกัน และได้เข้ามารวมตัวเพื่อดำเนินกิจการในละแวกพื้นที่ใกล้เคียงกัน ทำให้เกิดความเชื่อมโยง เกื้อหนุน และส่งเสริมกิจการของกันและกันให้เป็นระบบอย่างครบวงจร 

การรวมกลุ่มคลัสเตอร์นี้ จะทำให้เกิดความเชื่อมโยงกันทั้งในแนวตั้ง และแนวนอน โดยความเชื่อมโยงในแนวตั้ง จะเป็นความเชื่อมโยงระหว่างผู้ประกอบธุรกิจในอุตสาหกรรมเดียวกัน ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ เพื่อให้มีการสอดคล้องและพัฒนาร่วมกันในกลุ่มธุรกิจคลัสเตอร์เดียวกัน ส่วนความเชื่อมโยงในแนวนอน เป็นความเชื่อมโยงในการสนับสนุนในด้านต่าง ๆ ทั้งธุรกิจ การให้บริการ สถาบันการศึกษา สถาบันฝึกอบรม สมาคมการค้า สถาบันและศูนย์วิจัยพัฒนา ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐ ที่ได้เข้ามาร่วมดำเนินงานช่วยเหลือกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันที่ยั่งยืน ทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมร่วมกันซึ่งได้เพิ่มประสิทธิภาพอย่างชัดเจน 

คลัสเตอร์ทางด้านธุรกิจ

องค์ประกอบสำคัญของคลัสเตอร์

การเชื่อมโยง เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และถ่ายทอดความรู้ในกลุ่มธุรกิจและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกัน ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงผู้ประกอบการเท่านั้น แต่รวมไปถึงสถาบันการศึกษา สถาบันวิจัยและพัฒนา สถาบันการเงิน องค์กรภาครัฐ และสมาคมเอกชนต่าง ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกัน 

ความร่วมมือ  เป็นตัวช่วยเสริมสร้างเพื่อวางเป้าหมายหลักร่วมกัน ช่วยในการวางแผนกลยุทธได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยใช้เครื่องมือวิเคราะห์ความสามารถทางการแข่งขันทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นกลไกหลักในการประเมินความสามารถและกำหนดเป้าหมายพร้อมกับกลยุทธ์ร่วมในการพัฒนาของสมาชิกในคลัลเตอร์ 

การแข่งขัน การรวมกลุ่มแบบคลัสเตอร์จะอยู่บนหลักการพื้นฐานของการแข่งกันในตลาด เพื่อให้สมาชิกได้พัฒนาขีดความสามารถของตนเอง คลัสเตอร์จะไม่กำหนดกลไกราคาหรือปริมาณเพื่อให้เกิดผลทางการผูกขาดทางการค้า อยู่ที่ความสามารถของสมาชิกแต่จะสนับสนุนโดยมีการช่วยเหลือและความร่วมมือจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกัน

บทบาทของฝ่ายต่าง ๆ ในคลัสเตอร์

ผู้ประกอบการเอกชน จะเป็นฝ่ายที่ริเริ่มในการรวมกลุ่ม เพื่อรวบรวมสมาชิกและหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้มาเข้าร่วมในคลัสเตอร์เดียวกัน เพื่อเชื่อมโยงความคิดและประสบการณ์ในการทำงาน ให้เกิดความร่วมมืออย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงเป็นแกนหลักดำเนินโครงการที่เป็นความต้องการร่วมกัน

องค์กรภาครัฐ จะเป็นผู้ประสานการดำเนินงานกับฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ความร่วมมือกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ และให้ความสนับสนุนโครงการที่เป็นโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงเป็นฝ่ายที่ช่วยสร้างสภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรมอีกด้วย

สถาบันการศึกษา สถาบันวิจัย จะเป็นฝ่ายที่สนับสนุนข้อมูล องค์ความรู้ และเข้ามามีส่วนร่วมในการวิจัย คิดค้นเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันและพัฒนาบุคลากรของภาคธุรกิจ

การดำเนินงาน Cluster

 

ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการดำเนินงาน Cluster

หัวใจหลักของการรวมกลุ่มเพื่อพัฒนาคลัสเตอร์ คือ การสร้างความร่วมมือบนพื้นฐานของการแข่งขัน โดยสมาชิกมีส่วนร่วมในการวางแผน กำหนดทิศทางกลยุทธและเป้าหมายในการพัฒนาร่วมกัน มีการแลกเปลี่ยนข่าวสาร ข้อมูล ความรู้ ตลอดจนมีการแบ่งปันทรัพยากรต่าง ๆ ระหว่างกัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้มีมากขึ้น ทั้งนี้ ปัจจัยที่จะทำให้การดำเนินงานคลัสเตอร์ประสบผลความสำเร็จ ประกอบไปด้วย

1.การรวมกลุ่มนั้น ภาครัฐจะเป็นผู้สนับสนุนและผลักดัน แต่จะยึดความต้องการของภาคธุรกิจเอกชนเป็นสำคัญ

2.แกนนำสำคัญในการรวมกลุ่มอุตสาหกรรมนั้น จำเป็นต้องมีกลุ่มธุรกิจหลัก 

3.สมาชิกในคลัสเตอร์ควรมีศักยภาพที่พร้อมในการพัฒนาและสามารถพึ่งพาตนเองได้ในระดับหนึ่ง

4.สมาชิกทุกคนควรมีทัศนคติ ความไว้วางใจ และความเชื่อมั่นระหว่างสมาชิกในกลุ่ม

5.ผู้นำกลุ่มคลัสเตอร์ ผู้ประสานงานคลัสเตอร์ และที่ปรึกษาคลัสเตอร์ ต้องมีความเข้มแข็งในการพัฒนาคลัสเตอร์

6.ความเข้มแข็งของหน่วยงานให้บริการเพื่อการพัฒนาธุรกิจ ในการให้บริการและการสร้างเครือข่ายความเชื่อมโยงของหน่วยงานในพื้นที่

7.มีการประสานและแบ่งปันผลประโยชน์ที่ยุติธรรมทำให้เกิดความพึงพอใจแก่ทุกฝ่าย ไม่เกิดการขัดแย้งเรื่องผลประโยชน์

8.นโยบายของคลัสเตอร์ควรมีความเชื่อมโยงและสอดคล้องกับนโยบายของจังหวัด และ/หรือภูมิภาคนั้น ๆ

จะเห็นได้คลัสเตอร์ใช้ได้กับหลายแวดวง แต่ที่เด่นชัดในช่วงนี้น่าจะเป็นทางด้านสุขภาพ จากสถานการ์ปัจจุบันที่มีการระบาดของโรคโควิด-19 เกิดขึ้นซึ่งยังมีการติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดคลัลเตอร์ใหม่ขึ้นเป็นระยะ ๆ ซึ่งในแต่ละคลัลเตอร์มีการแพร่กระจายอย่างรวดเร็วและกว้าง จึงอยากขอความร่วมมือทุกคนช่วยกันป้องกันการแพร่กระจาย โดยการดูแลตัวเองและปฏิบัติตามข้อบังคับอย่างเคร่งครัดเพื่อป้องกันการเกิดคลัลเตอร์ใหม่ ๆ ขึ้น

 

Back To Top