ด้วยสภาพสังคมในปัจจุบันเป็นสังคมที่เร่งรีบไปสะทุกสิ่งอย่าง ไม่ว่าจะเรื่อง รับประทานอาหาร การเดินทาง การทำงาน การขับถ่าย จนบ่อยครั้งต้องกลั้นเอาไว้ โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis) เป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายหลายเท่า เนื่องจากท่อปัสสาวะของผู้หญิงจะสั้น และอยู่ใกล้ทวารหนักซึ่งเป็นแหล่งที่มีเชื้อโรคมาก เชื้อโรคจากบริเวณดังกล่าวจึงเข้าทางท่อปัสสาวะของผู้หญิงได้ง่ายกว่าผู้ชาย สามารถป้องกันและรักษาได้ง่าย ๆ แต่ถ้าไม่ได้รับการรักษากระเพาะปัสสาวะอักเสบ ด้วย ตัว เอง เชื้อโรคอาจลุกลามขึ้นไปที่ไตทำให้เป็นกรวยไตอักเสบ และถ้าปล่อยให้เป็นเรื้อรังก็อาจทำให้เกิดภาวะไตวายเรื้อรังแทรกซ้อน ซึ่งยากแก่การเยียวยารักษาได้
ผู้หญิงแทบทุกคนมีโอกาสเป็นโรคนี้ในทุกช่วงของชีวิต นับตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยสูงอายุ (พบได้สูงในช่วงอายุ 20-50 ปี) พบได้มากในผู้หญิงที่ชอบกลั้นปัสสาวะเป็นเวลานาน ๆ หรือในหญิงตั้งครรภ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ ส่วนในผู้ชายนั้นมีโอกาสเป็นโรคนี้น้อยมาก เนื่องจากมีสรีระที่ยากต่อการติดเชื้อ ถ้าพบว่าเป็นก็มักจะมีความผิดปกติอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น เนื้องอกกระเพาะปัสสาวะ ก้อนเนื้องอกในช่องท้อง ต่อมลูกหมากโต หรือมีความผิดปกติทางโครงสร้างของทางเดินปัสสาวะ
โรค กระเพาะปัสสาวะอักเสบ พบได้ทั้งจากการอักเสบเฉียบพลัน ที่มีอาการเกิดขึ้นทันทีและรักษาหายได้ภายใน 2-3 สัปดาห์ หรือจากการอักเสบเรื้อรัง ซึ่งผู้ป่วยมักมีอาการอักเสบเรื้อรังเป็น ๆ หาย ๆ แต่จะมีอาการรุนแรงน้อยกว่าการอักเสบเฉียบพลัน
สาเหตุของกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียกลุ่มแกรมลบที่มีอยู่ในอุจจาระของคนเรา เช่น อีโคไล เคล็บซิลลา สูโดโมแนส เอนเทอโรแบกเตอร์ เป็นต้น มีอยู่มากที่บริเวณรอบ ๆ ทวารหนัก
1.ผู้หญิงมีท่อปัสสาวะจะสั้นและอยู่ใกล้กับทวารหนัก จึงง่ายที่เชื้อโรคจะปนเปื้อนเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะ
2.กลั้นปัสสาวะนาน ๆ เช่น รถติดหรือเดินทางไปต่างจังหวัด หรือหน้าน้ำท่วมที่ไม่กล้าเข้าห้องน้ำเพราะกลัวสัตว์มีพิษ หรือนอนกลางคืนแล้วขี้เกียจลุกไปเข้าห้องน้ำ เป็นต้น เชื้อโรคที่เข้าไปในกระเพาะปัสสาวะจึงมีเวลานานพอที่จะแบ่งตัวเจริญแพร่พันธุ์ จนทำให้เกิดการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะ
3.กระเพาะปัสสาวะอักเสบ จากฮันนีมูน (Honeymoon cystitis) มีสาเหตุมาจากการฟกช้ำจากการร่วมเพศ แล้วทำให้มีอาการอักเสบของท่อปัสสาวะ
4.ผู้สูงอายุ เพราะมีสุขอนามัยบริเวณอวัยวะเพศไม่ดีนัก ทำให้เชื้อโรคเจริญเติบโตได้ดี
5.ดื่มน้ำน้อย มีผลให้ไม่ค่อยได้ปัสสาวะ ปัสสาวะจึงแช่ค้างอยู่นาน ทำให้เชื้อโรคเจริญเติบโตได้ดี
6.ผู้ป่วยเบาหวาน ซึ่งร่างกายมีภูมิคุ้มกันโรคต่ำ จะมีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย
7.ภาวะอุดกั้นของทางเดินปัสสาวะ เช่น ต่อมลูกหมากโต ท่อปัสสาวะตีบ นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ เนื้องอกกระเพาะปัสสาวะ เนื้องอกมดลูก
8.โรคติดเชื้อของไต โรคนิ่ว นิ่วในไต
9.โรคเรื้อรังของท่อปัสสาวะ เช่น โรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ เช่น โรคหนองในแท้ โรคหนองในเทียม ซึ่งมักมีปัสสาวะแช่ค้างในกระเพาะปัสสาวะ เชื้อโรคจึงเจริญเติบโตได้เร็ว
10.การคาสายสวนปัสสาวะนาน ๆ หรือใช้เครื่องมือแพทย์สอดใส่ท่อปัสสาวะ เช่น ผู้ป่วยหลังผ่าตัด หรือผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาต จึงทำให้ติดเชื้อได้ง่าย จากเชื้อที่ตัวสายสวนปัสสาวะ
11.สตรีตั้งครรภ์ จะมีโอกาสเสี่ยงได้มากขึ้น เนื่องจากศีรษะของทารกในท้องกดดันให้เกิดการคั่งของปัสสาวะในกระเพาะปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะไม่หมด จึงก่อให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย
12.การระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อปากท่อปัสสาวะและปากช่องคลอดจากการใช้สเปรย์ดับกลิ่นบริเวณอวัยวะเพศในผู้หญิง จึงเป็นการเพิ่มโอกาสการบาดเจ็บและการติดเชื้อของเนื้อเยื่อ
อาการของกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
1.ถ่ายปัสสาวะกะปริดกระปรอย (ออกมาทีละน้อยแต่บ่อยครั้ง) มักต้องเข้าห้องน้ำทุกชั่วโมงหรือชั่วโมงละหลายครั้ง มีอาการคล้ายถ่ายปัสสาวะไม่สุดอยู่ตลอดเวลา
2.รู้สึกปวดขัดหรือแสบร้อนเวลาถ่ายปัสสาวะ โดยเฉพาะตอนถ่ายปัสสาวะสุด
3.ปวดที่ท้องน้อยหรือบริเวณหัวหน่าวร่วมด้วย
4.ปัสสาวะอาจมีกลิ่นเหม็น สีมักใส
5.ปัสสาวะเป็นสีชมพู ขุ่น หรือมีเลือดปน มีหนอง
6.ถ่ายปัสสาวะไม่ออกเลย ปัสสาวะลำบากเกิดกับทารกหรือเด็กเล็ก
7.มีปัสสาวะออกมากร่วมกับอาการกระหายน้ำผิดปกติ
8.แสบขัดรุนแรงหรือเป็นนานกว่า 2 – 3 วัน หรือหากเป็น ๆ หาย ๆ
9.ในผู้ชายมีอาการปวดฝีเย็บ (ผิวหนังที่อยู่รอบ ๆ อวัยวะเพศและทวารหนัก)
ภาวะแทรกซ้อนของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
ส่วนมากโรคนี้มักจะไม่มีภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรง แต่ถ้าไม่ดูแลรักษาก็จะลุกลามได้ง่าย และรุนแรงขึ้นได้
1.ภาวะไตวายเรื้อรัง
2.ต่อมลูกหมากอักเสบ
3.การอักเสบติดเชื้อในกระแสเลือดจนเป็นเหตุทำให้เสียชีวิตได้
4.กรวยไตอักเสบ
วิธีรักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
การดูแลตนเองในเบื้องต้นเมื่อเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ มีข้อปฏิบัติง่าย ๆ ดังนี้
1.ควรดื่มน้ำสะอาดให้มาก ๆ อย่างน้อยวันละ 7-8 แก้ว ซึ่งการดื่มน้ำจะช่วยขับเชื้อโรคออกและลดอาการปวดแสบปวดร้อนเวลาปัสสาวะได้
2.ควรถ่ายปัสสาวะทุกครั้งที่รู้สึกปวด ไม่ควรกลั้นปัสสาวะไว้
3.หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่ผลให้ระคายเคืองต่อกระเพาะปัสสาวะ เช่น กาแฟ แอลกอฮอล์ น้ำอัดลม น้ำผลไม้ใส่น้ำตาล
4.พยายามเคลื่อนไหวร่างกายเสมอ ไม่ควรอยู่ในท่าเดียวนาน ๆ เช่น นั่งแช่อยู่กับที่เป็นเวลานาน ๆ
5.การทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศ ภายหลังการขับถ่ายในผู้หญิง ต้องทำจากด้านหน้าไปด้านหลังเสมอ เพื่อป้องกันเชื้อโรคปนเปื้อนผ่านเข้าท่อปัสสาวะเข้ามาในกระเพาะปัสสาวะ
6.ไม่ควรใช้สเปรย์หรือยาดับกลิ่นตัวในบริเวณอวัยวะเพศ เพราะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อปากท่อปัสสาวะและปากช่องคลอด เพิ่มโอกาสเกิดการบาดเจ็บและการติดเชื้อของเนื้อเยื่อ
7.เลือกใส่กางเกงในจากผ้าฝ้าย ไม่ใส่กางเกงรัดรูปเป็นเวลานาน
8.หลังถ่ายอุจจาระ ให้ใช้กระดาษชำระเช็ดทำความสะอาดจากข้างหน้าไปข้างหลัง เพื่อป้องกันเชื้อโรคจากบริเวณทวารหนักเข้าสู่ท่อปัสสาวะ
9.ไปพบแพทย์ตามนัด และควรรีบไปพบแพทย์ก่อนนัดเมื่อมีอาการผิดปกติไปจากเดิม เช่น ปัสสาวะเป็นเลือด มีอาการไข้ หนองไหล ตกขาว
10.ใช้สมุนไพรที่หาได้ง่ายมากในการรักษาโรคกระเพาะอักเสบ ได้เเก่
10.1.กระเจี๊ยบเเดง ด้วยนำเอากลีบเลี้ยงหรือกลีบรองดอกสีม่วงแดงตากแห้งและบดเป็นผง ใช้ครั้งละ 1 ช้อน ชงกับน้ำเดือด 1 ถ้วย รินเฉพาะน้ำสีแดงใสดื่มวันละ 3 ครั้ง เมล็ดของกระเจี๊ยบช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินปัสสาวะ และช่วยลดอาการปวดแสบท้องน้อยเนื่องจากกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ได้อีกด้วย
10.2.ตะไคร้ เป็นยารักษาอาการขัดเบา โดยใช้ต้นแก่สดหั่นซอยเป็นแว่นบางๆ วันละประมาณ 1 กำมือ ( สดหนัก 40-50 กรัม ) ต้มกับน้ำดื่มวันละ 3 ครั้ง ครั้งละ 1 ถ้วยชาก่อนอาหารพอปัสสาวะสะดวกแล้วจึงหยุดกินยา
10.3.สับปะรด สับปะรดใช้เหง้าสดแก้อาการขัดเบาช่วยขับปัสสาวะโดยใช้เหง้าวันละ 1 กอบมือ ( สดหนัก 200 ถึง 250 กรัม ) ต้มกับน้ำดื่มวันละ 3 ครั้งก่อนอาหารครั้งละ 1 ถ้วยชา
10.4.เถาวัลย์เปรียง นำมาหั่นเป็นแว่น ๆ แล้วคั่วให้หอม ชงน้ำดื่ม ดื่มได้อร่อยและเป็นยาด้วย ช่วยให้ปัสสาวะคล่องและแก้ขัดเบา
10.5.หญ้าหนวดแมว ต้มใบและก้านแห้งครั้งละ 1 หยิบมือ (4 – 5 กรัม) กับน้ำ 750 มิลลิลิตร โดยต้มน้ำให้เดือด ใส่หญ้าหนวดแมวแล้วยกหม้อลงจากเตา ปิดฝาหม้อทิ้งไว้ 15 – 20 นาที รินเอาเฉพาะน้ำใส ๆ ช่วยล้างสารพิษ ลดการอักเสบ บรรเทาอาการปวด
10.6.หญ้าคา นำรากแก่มาหั่นเป็นแว่นพอประมาณ หากใช้รากสด ให้ใช้ 40 – 60 กรัม รากแห้งใช้ 10 – 15 กรัม ต้มกับน้ำ 400 ซีซี ดื่มครั้งละ 75 ซีซี วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร)
10.7.ขลู่ ใช้ใบสด 40 – 50 กรัม หรือใบแห้ง 15 – 20 กรัม ต้มกับน้ำ 400 ซีซี ดื่มครั้งละ 75 ซีซี วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร
10.8.อ้อยแดง ใช้ต้นแก่ สดหรือแห้ง วันละ 1 กำมือ (ลำต้นสดหนัก 70 – 90 กรัม หรือใช้ลำต้นแห้งหนัก 30 – 40 กรัม) หั่นเป็นแว่นหรือสับเป็นชิ้นเล็ก ๆ ต้มกับน้ำ จะได้ยารสขม ๆ หวาน ๆ แบ่งดื่มครั้งละ 1 ถ้วยชา วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร
10.9.พลูคาว มีสรรพคุณช่วยรักษาอาการปัสสาวะกะปริดกะปรอย เป็นยาขับปัสสาวะในตำรับสมุนไพรจีนโบราณ
10.10.มะละกอ ใบและรากของมะละกอเป็นสมุนไพรชั้นดี รากของมะละกอช่วยในการขับปัสสาวะ และช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะได้
10.11.ใบและรากของนางแย้มช่วยขับปัสสาวะ ช่วยให้ปัสสาวะที่ขุ่นข้น มีเลือดปน ให้ใสสะอาดมากขึ้น ทั้งยังช่วยให้ท่อปัสสาวะสะอาด ขับระดูขาว และของเสียได้
การใช้สมุนไพรของไทยมีทั้งข้อดีและข้อเสีย เราจึงควรใช้สมุนไพรอย่างระมัดระวัง เพราะสมุนไพรบางชนิดจะมีผลดีแต่ก็มีผลเสียกับบางโรคได้ ควรระมัดระวังในการใช้กับคนที่เป็นโรคหัวใจ และสตรีมีครรภ์เนื่องจากสมุนไพรที่มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ มักมีเกลือโปแตสเซียมสูง
กระเพาะปัสสาวะอักเสบ เป็นโรคไม่รุนแรง และถ้ารักษากระเพาะปัสสาวะอักเสบ ด้วย ตัว เอง อย่างถูกต้องก็จะหายขาด แต่ถ้าปล่อยไว้ไม่รักษาหรือเป็น ๆ หาย ๆ ก็อาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ การป้องกันไม่ให้เกิดโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ คือการดื่มน้ำให้เพียงพอ ถ่ายปัสสาวะทุกครั้งที่ปวดปัสสาวะ และไม่ควรอั้นปัสสาวะนาน ๆ และเมื่อรักษาหายแล้วพยายามอย่ากลั้นปัสสาวะอีก bestskinshape มิเช่นนั้นอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบ จะกลับมาเป็นซ้ำได้อีก