โควิด-19 ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป มันยังคงอยู่กับเราอีกนานและใกล้ตัวเข้ามาทุกที วนเวียนอยู่รอบ ๆ ตัวเรา การใช้ชีวิตต้องปรับเปลี่ยนไปให้เข้ากับสถานการณ์ ใช้ชีวิตด้วยความระมัดระวัง เมื่อมีความผิดปกติหรือรู้สึกไม่ปลอดภัยต้องรีบคัดกรองตัวเองเพื่อจะได้ เข้ารับการรักษาได้ทันทวงที ปัจจุบันจึงมีการคัดกรองเบื้องต้นที่สะดวก รวดเร็ว ประหยัด สามารถทำเองได้
การตรวจหาเชื้อโควิด-19 สามารถทำได้หลายวิธี เช่น การตรวจแบบ rapid test ที่เน้นความสะดวก รวดเร็ว ราคาประหยัดไม่แพงและปัจจุบันมีแจกฟรีให้กับกลุ่มเสี่ยง หรือการตรวจแบบ RT-PCR ที่จะให้ผลการตรวจได้แม่นยำกว่า แต่จะต้องรอผลการตรวจนานกว่าและต้องไปตรวจที่โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล อย่างไรก็ตามการตรวจหาเชื้อโควิด-19 เหมาะสำหรับผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง มีประวัติใกล้ชิดกับผู้ป่วย หรือมีอาการที่บ่งบอกถึงการติดเชื้อโควิด-19 แต่ถ้าใครที่มีความวิตกกังวลหรืมีความจำเป็นต้องเดินทางไปต่างประเทศก็สามารถขอตรวจได้
กรมควบคุมโรคได้มีการแบ่งกลุ่มเสี่ยงออกมาอย่างคร่าว ๆ ออกเป็น 3 กลุ่มด้วยกัน คือ
กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง : บุคคลในกลุ่มนี้คือกลุ่มที่อยู่ใกล้ผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด-19 โดยไม่ใส่หน้ากากอนามัย สัมผัสกันโดยตรงแบบไม่มีการป้องกัน ซึ่งมีการพูดคุยกันเกิน 5 นาที ในบริเวณสถานที่ที่อากาศไม่ถ่ายเทในระยะ 1 เมตร เกิน 15 นาที
ข้อแนะนำคือ : ควรตรวจหาเชื้อและกักตัว 14 วัน
กลุ่มที่มีความเสี่ยงต่ำ : กลุ่มนี้คือกลุ่มที่อยู่ใกล้ผู้ป่วย โดยมีการใส่หน้ากากอนามัยป้องกัน เมื่อสัมผัสกันมีการป้องกัน หรือกลุ่มคนที่อยู่ห่างจากผู้ป่วยมากกว่า 1 เมตร
ข้อแนะนำคือ : ควรเฝ้าสังเกตอาการ 14 วัน
กลุ่มที่ไม่เสี่ยง : บุคคลในกลุ่มนี้คือคนที่อยู่ไกลกันมาก ๆ เช่น คนละชั้น หรือ คนละห้อง ไม่ได้มีปฏิสัมพันธ์กันแค่อยู่ในระแวกใกล้เคียง
ข้อแนะนำคือ : ดูแลตัวเองให้ดี ใส่หน้ากากอนามัย และล้างมือบ่อยๆ
ตอนนี้รัฐบาลให้ลงทะเบียนในแอพ “เป๋าตัง” เพื่อขอรับชุดตรวจคัดกรองเบื้องต้น ชุดทดสอบโควิด rapid test ได้ที่ร้านขายยาใกล้บ้าน เพื่อจะช่วยกันตรวจคัดกรองตัวเองเบื้องต้นสำหรับใครที่คิดว่าตัวเองอยู่ในกลุ่มเสี่ยงและมีความวิตกกังวล เพราะอาการของ COVID-19 มักจะปรากฎภายใน 2-14 วันหลังจากที่ได้รับเชื้อ ในบางเคสอาจมีอาการน้อยจนถึงขั้นไม่มีเลย แม้ว่าผู้ติดเชื้อจะไม่แสดงอาการใดๆ แต่ไม่ได้หมายความว่าเชื้อโควิด 19 จะไม่แพร่ไปสู่คนอื่น
การตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วย คือเป็นการ Swab (เก็บตัวอย่างเชื้อบริเวณลำคอ และหลังโพรงจมูก) มาตรวจทดสอบเพื่อหาเชื้อเบื้องต้น สามารถตรวจได้สะดวกและทราบผลได้รวดเร็ว ผู้ตรวจสามารถรอผลตรวจได้ภายใน 2-3 ชั่วโมง (ระยะเวลาอาจเพิ่มขึ้นตามจำนวนผู้ใช้บริการตามสถานพยาบาลนั้นๆในกรณีที่ไปตรวจตามสถานพยาบาลหรือโรงพยาบาล) การตรวจแบบ Rapid Antigen Test เพื่อให้ผู้ติดเชื้อรู้ตัวและเข้าสู่กระบวนการกักตัวเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ อย่างไรก็ตามยังคงเป็นเพียงการตรวจเบื้องต้น ควรตรวจด้วยวิธี RT-PCR ร่วมด้วยเพื่อความแม่นยำหากมีผลเป็นบวก หรือมีอาการแสดง
ชุดทดสอบโควิด 19 คือชุดทดสอบที่แสดงผลรวดเร็วและสะดวกต่อการใช้งานในการตรวจหาเชื้อไวรัสและภูมิคุ้มกัน COVID-19 โดยระยะเวลาในการรู้ผลอยู่ที่ประมาณ 15-30 นาที ซึ่งถือว่ารวดเร็วกว่าการตรวจแบบ RT-PCR (Real Time Polymerase Chain Reaction) ทั้งนี้การตรวจแบบ Rapid Test ถือเป็นการประเมินเพียงแค่เบื้องต้นเท่านั้น หากต้องการทราบผลการตรวจที่แน่ชัด ควรมีการตรวจแบบ RT-PCR ที่โรงพยาบาลซึ่งได้รับการยืนยันผลจากห้องปฏิบัติการอีกครั้งหนึ่ง
ข้อควรปฏิบัติในการใช้ชุด Rapid Test
1.ห้ามเปิดหรือฉีกบรรจุภัณฑ์จนกว่าจะใช้งาน
2.ห้ามใช้ตัวอุปกรณ์ ทดสอบซ้ำ
3.เก็บรักษาชุดตรวจในอุณหภูมิที่กำหนดและตรวจสอบวันหมดอายุก่อนใช้งาน
4.เตรียมพื้นที่สำหรับการตรวจที่เหมาะสม ทำความสะอาดพื้นที่ที่จะวางแผ่นตรวจด้วยแอลกอฮอล์
ข้อดีของการตรวจ COVID-19 กับ Rapid Test
1.ใช้งานง่าย ทราบผลใน 15-30 นาที
2.ทราบผลได้ไวจึงทำให้ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
3.ใช้คัดกรองเบื้องต้น เพื่อลดปัญหาความแออัดจากการรอตรวจเชื้อที่โรงพยาบาล
4.เมื่อเปรียบเทียบกับการตรวจแบบ RT-PCR ถือว่ามีค่าบริการที่ต่ำกว่า
บุคคลที่ควรตรวจโควิด-19 แบบ Rapid Antigen Test และ RT-PCR
1.ผู้ที่มีประวัติเคยใกล้ชิดกับผู้ป่วยโควิด-19
2.ผู้ที่ไม่มีอาการ หรือมีอาการเล็กน้อย แต่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง
3.ผู้ที่มีอาการชัดเจน เช่น มีไข้ ไอ เจ็บคอ หอบเหนื่อย เจ็บหน้าอกเฉียบพลัน เป็นต้น
ภายหลังการตรวจ Rapid Antigen Test หรือ RT-PCR หากพบว่าติดเชื้อแต่มีอาการน้อยหรือไม่มีอาการจะจัดเป็น Home isolation ถ้ามีอาการรุนแรงควรรักษาตามขั้นตอนต่อไป
ชุดตรวจโควิด ‘Rapid Antigen Test Kit’
ชุดตรวจโควิดด้วยตัวเองหรือการตรวจโควิดด้วยตัวเอง (Home Use) นั้น จะช่วยให้เราสามารถรู้ผลโควิดได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องเสียเวลารอคิวเข้าตรวจ และช่วยลดความเสี่ยงจากการเดินทางไปยังพื้นที่แออัด โดยชุดตรวจโควิด
ตรวจโควิดด้วยตัวเอง โดยชุดตรวจโควิดนี้ยังเหมาะสำหรับผู้ที่จำเป็นต้องเดินทางเป็นประจำ หรือผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง เช่น ใกล้ชิดผู้ติดเชื้อ กลุ่มผู้สูงวัย ผู้ที่มีภาวะอ้วน และผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรังต่างๆ เพื่อแยกกลุ่มผู้ติดเชื้อออกมาได้เร็วมากขึ้น แต่ต้องจัดหามาอย่างรอบคอบอย่างหลงเชื่อคำโฆษณา โดยควรเลือกยี่ห้อที่ผ่านการรองรับจากองค์การอาหารและยา (อย.) เท่านั้น และเลือกซื้อตามร้านขายยาที่มีความน่าเชื่อถือ เพื่อป้องกันชุดตรวจที่แปลกปลอม
ขั้นตอนตรวจโควิดด้วยตัวเอง ด้วยชุดตรวจโควิด
1.ล้างมือให้สะอาดและสวมถุงมือให้เรียบร้อย การเน้นย้ำเรื่องของความสะอาด
2.เงยหน้าขึ้น ใช้ก้านสำลีสอดเข้าไปในจมูก และหมุนวนอย่างน้อย 5 รอบ (15 วินาที)
3.นำเอาก้านไปจุ่มลงในหลอดสารสกัด แกว่งก้านสำลีอย่างน้อย 10 รอบ
4.กดหลอดสารสกัดเพื่อบีบให้สารสกัดออกมากที่สุด
5.ปิดฝาหลอดหยด ทิ้งไว้ประมาณ 1 นาที
6.หยดน้ำยาลงบนเครื่องตรวจตรงจุดที่กำหนด ประมาณ 3 หยด
7.ปิดแผงตรวจ รอผลประมาณ 15-30 นาที (ห้ามอ่านผลก่อนหรือหลังจากที่ระบุไว้)
สำหรับผู้ที่เข้าข่ายเป็นกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้ที่ยังต้องเดินทางเป็นประจำควรตรวจซ้ำทุก 3-5 วัน เพื่อเฝ้าระวังความเสี่ยงอย่างใกล้ชิด ซึ่งหากผลตรวจคือ “ติดเชื้อ” ต้องปฏิบัติตนตามขบวนการต่อไป
วิธีอ่านผลตรวจ ชุดตรวจโควิด
ขีดสีแดง ขึ้นเฉพาะแถบ C หมายถึง ผลลบ (Negative : ไม่ติดเชื้อ)
ขีดสีแดง ขึ้น 2 แถบ (T และ C) หมายถึง ผลบวก (Positive : ติดเชื้อ)
กรณีที่ผลออกมาไม่ปรากฏแถบอย่างใดอย่างหนึ่งแต่สงสัยอาการ แนะนำว่าให้ทำการทดสอบใหม่อีกครั้ง
ตรวจโควิดด้วยตัวเอง ด้วยชุดตรวจโควิด ถือเป็นการตรวจโควิดเบื้องต้นด้วยตนเองซึ่งทำได้ง่าย ไม่ยุ่งยาก และรวดเร็ว แต่ผลตรวจจะมีประสิทธิภาพที่สุดในกรณีได้รับเชื้อมาแล้ว 5-14 วัน ในกรณีที่พบว่าผลตรวจเป็นบวก (Positive) ให้ปฏิบัติตัวตามขั้นตอน ดังนี้
1.ควรแจ้งผู้สัมผัสใกล้ชิดให้กักตัวพร้อมตรวจหาเชื้อ
2.ประเมินเพื่อคัดกรองระดับอาการ
ระดับสีเขียว : ผู้ติดเชื้อโควิดที่ไม่มีอาการแสดง แต่มีอาการคล้ายไข้หวัดปกติ
ระดับสีเหลือง : ผู้ติดเชื้อโควิดที่มีโรคประจำตัวซึ่งอยู่ในกลุ่มเสี่ยง และมีภาวะหายใจเหนื่อย หายใจเร็ว และแน่นหน้าอก
ระดับสีแดง : ผู้ติดเชื้อโควิดที่มีอาการชัดเจน เช่น หอบเหนื่อยง่าย หายใจแล้วเจ็บหน้าอกตลอดเวลา พูดไม่เป็นประโยค และมีความอิ่มตัวของเลือดน้อยกว่า 96%
3.พิจารณาการแยกรักษาตัวที่บ้าน หรือ Home Isolation
กรณีผู้ป่วยที่อยู่ในระดับสีเขียว และมีอายุไม่เกิน 60 ปี อาศัยอยู่คนเดียว โดยไม่มีภาวะอ้วน หรือโรคประจำตัวที่เข้าข่ายเป็นโรคกลุ่มเสี่ยง จะพิจารณาให้แยกรักษาตัวที่บ้าน หรือ Home Isolation ดังนี้
3.1.แยกตัวออกจากสมาชิกคนอื่นๆ ภายในบ้าน
3.2.แยกห้องน้ำและการใช้พื้นที่ส่วนรวม (หากจำเป็นต้องใช้ห้องน้ำร่วมกัน ให้ใช้เป็นคนสุดท้ายและปิดฝาชักโครกก่อนกดน้ำทุกครั้ง)
3.3.แยกของใช้ส่วนตัว เช่น เสื้อผ้า ผ้าขนหนู เครื่องอาบน้ำ
3.4.ห้ามรับประทานอาหารร่วมกัน
3.5.สวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา ล้างมือทุกครั้ง
3.6.สังเกตอาการและดูแลตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อลงสู่ปอดต่อไปได้
วิธีกำจัดชุดตรวจ Rapid Antigen Test Kit ที่ถูกต้อง
1.นำชุดตรวจที่ใช้แล้วแยกทิ้งจากขยะทั่วไป ราดหรือฉีดแอลกอฮอล์ หรือน้ำยาฆ่าเชื้อ
2.ก่อนนำใส่ถุงและปิดปากถุงให้สนิท ทิ้งลงถังประเภท “ขยะติดเชื้อ”
หมายเหตุ : หากไม่มีถังขยะติดเชื้อให้ทิ้งใส่ขวดน้ำที่ใส่น้ำยาฟอกขาว ใส่ถุงปิดให้มิดชิด และเขียนหน้าถุงว่าขยะติดเชื้อ
โควิด-19 ภัยใกล้ตัวที่ไม่อาจมองข้าม ควรใช้ชีวตด้วยความไม่ประมาท เมื่อเกิดข้อสงสัยในตัวเองว่าน่าจะอยู่ในกลุ่มเสี่ยง แนะนำว่าควรตรวจคัดกรองตัวเองทันทีเพื่อความปลอดภัยของตัวท่านเองและคนรอบข้าง คนที่คุณรักและห่วงใย ซึ่งในปัจจุบันรัฐบาลได้อำนวยความสะดวกให้เข้าถึงชุดตรวจเบื้องต้นอย่างง่ายดาย เพียงแค่คลิกเดียว ขั้นตอนในการตรวจก็ไม่ยุ่งยาก สะดวก รวดเร็ว ประหยัดและปลอดภัย ชุดตรวจ Rapid Test ช่วยทุกคนได้มากกว่าการคัดกรอง และยังช่วยป้องกันการแพร่กระจายไม่ให้ขยายวงกว้างออกไปอีกด้วย ช่วยกันดูแลตัวเองนะคะ เราจะผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปด้วยกันค่ะ