ในอดีตฟันที่มีโพรงประสาทฟันอักเสบจะต้องถูกถอนออก แต่ ณ ปัจจุบัน มีวิธีช่วยรักษาฟันไว้ได้ก็คือการรักษารากฟัน ( Root canal treatment ) นั่นเอง ปัญหาสุขภาพช่องปากและฟัน เป็นปัญหาใหญ่ที่ไม่ควรมองข้าม โดยเฉพาะอาการปวดฟัน เสียวฟัน ที่ส่งผลให้เกิดฟันผุ ถ้าไม่ดูแลรักษาหรือทำการอุดฟัน ปล่อยปละละเลยให้ฟันผุ ฟันแตกเรื้อรัง จนกระทั่งทะลุไปถึงโพรงประสาท เกิดการอักเสบและมีฝี รากฟันเป็นหนอง มีอาการปวดทรมาน ก็ต้องมาทำการรักษารากฟันกันแทน
การรักษารากฟัน คือ
การรักษารากฟันคือ( Root canal treatment ) ขบวนการกำจัดเชื้อจุลชีพที่อยู่ในโพรงประสาทและตัดโพรงประสาทฟัน หรือเนื้อเยื่อขนาดเล็กที่อยู่ใจกลางฟัน เนื่องจากโพรงประสาทฟันที่ถูกทำลายจาก การอักเสบหรือตาย พื้นที่ส่วนที่เหลือต้องทำความสะอาดให้ปราศจากเชื้อโรค จัดรูปทรง และทำการซ่อมแซม อุดรากฟันและบูรณะตัวฟัน เพื่อคืนความแข็งแรงและสวยงาม ให้ฟันกลับมาใช้งานได้ตามปกติ
มีคนไข้หลายคนละเลยปล่อยฟันให้ผุทิ้งไว้ไม่รักษา จนลุกลามทำลายฟันมากขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงชั้นโพรงประสาทฟัน แต่ยังไม่เกินความสามารถของทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ที่จะช่วยเหลือเพียงแต่วิธีการรักษาค่อนข้างยุ่งยากและสลับซับซ้อน ต้องใช้ระยะเวลาและค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น การรักษารากฟันโดยเฉพาะการรักษารากฟันกรามซึ่งมี 3 – 4 ราก ดังนั้นเพื่อให้การรักษาเกิดผลสำเร็จตามความต้องการ จึงจำเป็นต้องเสียเวลาไปพบทันตแพทย์หลายครั้งในการรักษารากฟัน
โพรงประสาทฟัน คืออะไร
โพรงประสาทฟัน คือชั้นที่อยู่ด้านในสุดของฟัน ที่ประกอบด้วย เส้นประสาทของฟัน เส้นเลือดที่มาเลี้ยง และท่อน้ำเหลือง ซึ่งถ้ามีการติดเชื้อลุกลามมากขึ้น เชื้อโรคจะกระจายลงสู่ปลายรากฟัน และทำให้รากฟันอักเสบ
การรักษารากฟันสามารถเก็บรักษาฟันเดิมเอาไว้ใช้งานได้ต่อไปได้ ดีกว่าการถอนฟันแล้วเลือกวิธีการใส่ฟันปลอม ฟันที่รักษารากแล้วจะสามารถใช้งานเหมือนฟันในปากซี่อื่นๆ คือ มีเบ้ากระดูกยึดให้ฟันแน่นมั่นคงแข็งแรง ให้ความรู้สึกที่ดีกว่าการใส่ฟันปลอม และสามารถใช้งานได้ สะดวกเป็นธรรมชาติ
การรักษารากฟัน เจ็บ แน่นอน เพราะฟันทุกซี่ซึ่งมีรากฟัน มีเส้นประสาท และเส้นเลือดในการหล่อเลี้ยง ฟัน แต่อาการเจ็บมากเจ็บน้อยแต่คนต่างกันขึ้นอยู่กับจำนวนซี่ และลักษณะซี่ฟัน แต่ขบวนการรักษารากฟัน มีการฉีดยาชาให้ จึงไม่รู้สึกเจ็บระหว่างทำการรักษา
สาเหตุหลักการเกิดปัญหาที่รากฟัน
1.ฟันผุมาก
2.มีปัญหาโรคเหงือก
3.ฟันได้รับการกระทบกระแทก จนทำให้ฟันแตกหัก จนถึงโพรงประสาทฟัน
4.นอนกัดฟันรุนแรง หรือนอนกัดฟันทุกคืน
5.มีพฤติกรรมการเคี้ยวที่ค่อนข้างรุนแรง การกัดเค้นฟัน ฟันมีอาการร้าว me.shเชื้อโรคสามารถแทรกซึมข้าไปในส่วนของโพรงประสาทฟันได้
ลักษณะอาการเกิดปัญหารากฟัน
เมื่อเกิดปัญหาผิดปกติที่รากฟัน มักมีสัญญาณเตือนด้วยอาการ เจ็บเวลา เคี้ยวหรือกัดอาหาร มีอาการเสียวฟันเมื่อดื่มเครื่องดื่มร้อนหรือเย็น รู้สึกฟันหลวมหรือโยก ซึ่งโพรงประสาทฟันเป็นส่วนที่รับสัญญาณความรู้สึก เมื่อโพรงประสาทฟันหรือ คลองรากฟันเกิดการติดเชื้อ จะทำฟันซี่นั้นตายไป
อาการเตือนรุนแรง ที่บอกว่ารากฟันกำลังมีปัญหาหนัก คือ เกิดหนองที่ปลายรากฟัน ซึ่งอาจมีหนองไหลออกมาให้เห็น หรือพบได้ จากการ x-ray เห็นเป็นลักษณะเงาดำที่ปลายรากฟันการพบหนองที่ปลายรากฟันเกิดขึ้นได้จากฟันผุเป็นระยะเวลานานไม่ได้รับการรักษา จนมีการอักเสบของเนื้อเยื่อบริเวณรอบปลายรากฟัน จะมีอาการปวดฟันเวลาเคี้ยวหรือเมื่อฟันกระทบกัน อาจมีอาการบวมหรือตุ่มหนองบริเวณเหงือกหรือเพดานเกิดขึ้นร่วมด้วย นั้นหมายถึงว่ามีเชื้อโรคลุกลาม ไปจนกระทั่งทำลายส่วนของเนื้อเยื่อทั้งโพรงประสาทฟัน ซึ่งทันตแพทย์จะไม่สามารถ อุดฟันต้องรักษารากฟันให้เรียบร้อยเสียก่อน
บางครั้งปัญหารากฟันอักเสบ จากภาวะฟันผุ หรือแตก มานาน อาจไม่ส่งผลให้เกิดอาการเจ็บปวด หรืออาจเคยปวดแต่หายแล้ว แต่ว่าการดำเนินของโรคก็ยังคงอยู่ มีโอกาสที่จะกลับมาปวดอีกครั้งหรือมีการติดเชื้อมากกว่าเดิม เพราะรากฟันเองยังไม่ได้รับการแก้ปัญหา ซึ่งเมื่อทำการ x-ray และพบว่ามีหนองในรากฟัน ดังนั้นเพื่อลดการสูญเสียฟันตรวจพบควรรีบทำ การรักษารากฟันทันที
ประเภทของการรักษารากฟัน
การรักษารากฟันแบ่งเป็น 2 ประเภทหลักคือ
1.การรักษารากฟันด้วยวิธีปกติ
ทันตแพทย์ตรวจวัดความยาวของ คลองรากฟัน โดยการถ่ายเอกซเรย์แล้วจะใช้ File ขนาดเล็กเพื่อรักษารากฟัน และทำความสะอาดภายในคลองรากฟันเพื่อขจัดเนื้อเยื่อที่มีปัญหาและแบคทีเรีย
หลังจากนั้นจะใช้วัสดุอุดคลองรากฟัน ( Gutta percha ) โดยที่ฟันจะไม่ถูกอุดอย่างถาวรจนกว่าจะขจัดจนปลอดเชื้อในโพรงประสาทและคลองรากฟัน
2.การรักษารากฟันด้วยวิธีการผ่าตัดปลายรากฟัน
วิธีการนี้จะเลือกใช้ เมื่อวิธีที่หนึ่งล้มเหลว โดยจะทำการผ่าตัดเข้าไปที่ตำแหน่งปลายรากฟันที่เป็น หนองทำการตัดปลายรากฟันออกบางส่วน ซึ่งปัจจุบันมีกล้องจุลศัลยกรรมที่ช่วย เพิ่มกำลังขยายในการมองเห็นคลองรากฟันที่มีขนาดเล็กให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
ทันตแพทย์สามารถมองเห็นได้ชัดเจนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน รวมถึงเพิ่ม ผลสำเร็จในการรักษารากฟันให้สูงขึ้นด้วยหลังจากนั้นทำการอุดวัสดุเข้าไปใน ส่วนปลายรากฟันที่ทำความสะอาดไว้
โดยวัสดุนี้จะไม่เป็นพิษต่อเนื้อเยื่อ และทำให้เกิดการหายของเนื้อเยื่อรอบปลายรากฟันขึ้น
ขั้นตอนการรักษารากฟัน
เมื่อทันตแพทย์วินิฉัยว่ามีฟันผุทะลุโพรงประสาทต้องรักษารากฟัน และตรวจสอบว่าสามารถทำครอบฟันว่าซี่นั้นได้ไหม เริ่มจากการทำความสะอาดโพรงประสาทฟันและรากฟัน โดยการขยายขนาดของบริเวณคลองรากฟัน รวมถึงใช้น้ำยาทำความสะอาดเพื่อกำจัดเชื้อโรค หลังจากนั้นจะอุดคลองรากฟัน เพื่อป้องกันการติดเชื้อ และถ้าเป็นไปได้คุณหมอจะทำเดือยฟัน (core build up) เพื่อเป็นแกนกลางในการเสริมสร้างความแข็งแรงของการทำครอบฟันต่อไป
การรักษารากฟัน ก่อนทำทันตแพทย์จะฉีดยาชา จากนั้นจะใช้แผ่นยางบางๆ เพื่อแยกฟัน (Rubber dam) ที่มีปัญหาออกจากฟันอื่น หลังจากนั้นทันตแพทย์จะเอาฟันผุโดยเอาส่วนที่เสียหายออกกำจัดเนื้อฟันที่อักเสบหรือติดเชื้อออกจนถึงส่วนโพรงประสาทฟัน ทำความสะอาดรากฟัน และใส่ยาลง ไปในคลองรากฟัน ปิดรากฟันด้วยวัสดุอุดชั่วคราว เพื่อป้องกันการติดเชื้อซ้ำ ซึ่งในบางรายไม่ได้จบในครั้งเดียว
แต่ถ้าพบว่าไม่เกิดการอักเสบแล้ว ทันตแพทย์ก็จะอุดปิดคลองรากฟัน และใส่เดือยฟัน เพื่อเป็นแกนเสริมสร้างความแข็งแรง เพื่อการทำ ครอบฟัน ทั้งนี้ต้องขึ้นกับสภาพเนื้อฟันที่เหลืออยู่ด้วย บางกรณีเชื้อโรคยังไม่ลงบริเวณปลายรากมากนัก อาจใช้เวลารักษาแค่วันนั้นวันเดียวเสร็จได้ในครั้งเดียว ซึ่งเป็นการติดเชื้อที่ไม่รุนแรงและไม่มีอาการอื่นๆแทรกซ้อน ใช้เวลาเฉลี่ยประมาณ 2-3 สัปดาห์ จึงจะหายปวด ส่วนมากการรักษารากฟันจะใช้เวลาในการมาพบทันตแพทย์ 2 ครั้ง ห่างกัน 1-2 สัปดาห์ ขึ้นกับสภาพการติดเชื้อของฟันซี่นั้นว่ามากน้อยเพียงใด
หลังจากทำการรักษารากฟัน ทันตแพทย์มักทำครอบฟันให้เพื่อป้องกันการแตกหักของตัวฟัน เนื่องจากการักษารากฟันมีความซับซ้อน และไม่ได้เสร็จสิ้นในครั้งเดียว ดังนั้นจึงใส่ที่ครอบฟันไว้เพื่อ ปกป้องกันการแตกของฟัน โดยสามารถเลือกประเภทครอบฟันได้ตามความเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นโลหะ เซรามิก หรือ เซอร์โคเนีย
วิธีการรักษารากฟัน ค่อนข้างยุ่งยากและสลับซับซ้อน และยังต้องใช้ระยะเวลา ดังนั้น ค่าใช้จ่ายอาจจะเพิ่มมากขึ้นตามอาการของปัญหาฟัน จำเป็นต้องให้ทันแพทย์ประเมินค่าใช้จ่ายเป็นรายๆ ไป ขึ้นอยู่กับความยากง่าย
อาการหลังรักษารากฟัน
หลังจากรักษารากฟันเสร็จจะมีอาการเจ็บ ในช่วง 2-3 วันแรก และอาจจะมีการบวมของเหงือกด้วยแต่อาการเจ็บจะค่อยๆ ทุเลาและจางหายไปเอง สามารถบรรเทาได้ด้วยยาระงับปวดทั่วไป อีกหนึ่งอาการคือมีอาการปวดที่เกิดหลังการรักษา เกิดจากคลองรากฟันยังไม่สะอาดแล้วอุด ขยายคลอง รากฟันไม่หมดหรือฟันแตก
การดูแลรักษาหลังการรักษารากฟัน
ภายหลังการรักษารากฟัน ทันตแพทย์จะให้คำแนะนำในการฏิบัติตัว แนะนำว่าควรปฎิบัติอย่างเคร่งครัด เพื่อผลประโยชน์สูงสุดของตัวท่านเอง ในการรักษารากฟันที่มีประสิทธิภาพและสามารถใช้ งานได้ยืนยาว ดังนี้
1.ไม่ควรรับประทานอาหารในทันที่หลังทำเสร็จ ควรงดรับประทานอาหารจนกว่าอาการชาจะหมดไป ป้องกันการกัดลิ้นหรือกระพุ้งแก้ม
2.ควรระมัดระวังในการใช้งานฟันที่รักษารากฟัน งดเคี้ยวหรือกัดอาหารด้วยฟันซี่ที่รักษารากฟัน เพราะอาจทำให้ฟันแตกหรือหักได้
3.ในกรณีที่วัสดุอุดฟันชั่วคราวเกิดหลุด ให้กลับมาพบทันตแพทย์ทันที เพื่อ ป้องกันเชื้อโรคในช่องปากที่สามารถเข้าสู่ภายในคลองรากฟันได้
4.ควรมาตามนัดแพทย์ โดยปกติเราควรพบทันตแพทย์เป็นประจำทุก 6 และเพื่อป้องกันฟันผุ โรคเหงือก และลดความเสี่ยงที่จะต้องกลับไปรักษารากฟันอีกครั้ง
ที่สำคัญสำหรับคนที่ต้องการดัดฟันแนะนำให้รักษารากฟันให้เสร็จก่อนถึงจะเริ่มจัดฟันได้ เพราะถ้าฟันซี่นั้นมีการติดเชื้อ และได้รับการจัดฟัน การเคลื่อนฟัน ยิ่งจะส่งผลเสียต่อฟันซี่นั้นมากยิ่งกว่าเดิม
ฟันแท้ถือเป็นสิ่งมีค่า และมีความมั่นคงแข็งแรง ใช้งานได้อย่างเป็นตามธรรมชาติ และสุขภาพช่องปากและฟันมีความสำคัญมาก ดังนั้นแปรงฟันสม่ำเสมอ และหมั่นสังเกตหากพบความผิดปกติควรรักษาทันที เพราะการถอนฟันทิ้งไปเลยไม่ใช่การจบปัญหา ถ้ายังสามารถรักษารากฟันได้แนะนำให้ทำเพราะทำให้ยังคงฟันท้เอาไว้ได้
เมื่อทันตแพทย์ตรวจแล้วพบว่ายังสามารถทำการรักษารากฟัน ได้โดยที่ไม่ต้องถอนออก ก็จะแนะนำให้ รักษารากฟัน ซึ่งประโยชน์ของการรักษารากฟันคือช่วยให้การเคี้ยวกลับมามีประสิทธิภาพที่ดีเหมือนเดิมสามารถใช้ฟันกัดอาหารได้อย่างปกติ ลักษณะรูปร่างของฟันกลับมาสวยงาม