ต่อมหมวกไตล้า   

ต่อมหมวกไตล้า

สภาวะสังคมในปัจจุบันมีความตึงเครียดค่อนข้างสูง ไม่ว่าจะเป็น การทำงานหรือแม้กระทั่งสภาวะเศรษฐกิจ ความเครียดเป็นบ่อเกิดของโรคหลาย ๆ โรค หนึ่งในนั้นคือโรคต่อมหมวกไตล้า เป็นอาการที่หลาย ๆ คนมักจะมองข้ามไปเรียกได้ว่าเป็นโรคร้ายที่ถูกลืม เป็นภาวะที่คนไทยไม่ค่อยรู้จักกันสักเท่าไหร่ เป็นโรคที่ทำให้สุขภาพและคุณภาพชีวิตลดลงอย่างเห็นได้ชัด โดยต่อมหมวกไตเป็นอวัยวะที่สร้างฮอร์โมนเพื่อเผาผลาญอาหารให้ร่างกายสร้างพลังงานขึ้นมา และสามารถต่อสู้รับมือกับกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน ความเครียดที่มีมากจนเกินไปและสะสมมาเป็นเวลานาน จะส่งผลให้ต่อมหมวกไตก็จะเกิดอาการล้า และทำให้ไม่สามารถรักษาพลังงานเอาไว้ได้ ซึ่งจะส่งผลกระตุ้นให้เกิดโรคร้ายกับร่างกายได้

หน้าที่ของต่อมหมวกไต

ต่อมหมวกไต

ต่อมหมวกไตทำหน้าที่ในการผลิตฮอร์โมนหลายชนิด ซึ่งส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของเรา ตัวที่โดดเด่นมีอยู่ 3 ตัว คือ

1. ฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol)

เป็นฮอร์โมนที่ร่างกายสร้างขึ้นมาต่อสู้กับความเครียด ซึ่งร่างกายจะผลิตฮอร์โมนตัวนี้เยอะมากในตอนเช้า เพื่อให้ร่างกายตื่นตัวพร้อมทำงานได้ตลอดทั้งวันอย่างมีประสิทธิภาพ โดยปกติแล้วฮอร์โมนคอร์ติซอลนี้เข้าไปเพิ่มระดับน้ำตาลในกระแสเลือด ทำให้มีพลังจัดการเรื่องต่าง ๆ 

นอกจากจะช่วยกำจัดความเครียด และสร้างพลังงานให้ร่างกายแล้ว ฮอร์โมนคอร์ติซอล ยังมีหน้าที่กระตุ้นความดันโลหิตให้สูงขึ้น และทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น เพื่อเตรียมพร้อมร่างกายให้ต่อสู้กับปัญหาระหว่างวันได้ แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่มีความเครียดสะสมเรื้อรังจากการทำงาน หรือการพักผ่อนไม่เพียงพอ ระดับฮอร์โมนตัวนี้ที่สูงขึ้นก็จะส่งผลเสียต่อร่างกาย เพราะมันมีฤทธิ์ในการทำลายล้างที่จะทำให้ร่างกายเสื่อมสภาพและแก่เร็ว

กลับกันถ้าฮอร์โมนคอร์ติซอลมีน้อยมากเกินไป ก็จะทำให้ร่างกายไม่มีแรงลุกขึ้นจากที่นอนในตอนเช้า ทำให้เกิดการอ่อนเพลีย ขาดความกระตือรือร้นตลอดทั้งวัน Cortisol คือ ฮอร์โมนต้านความเครียดตัวหลักของร่างกาย ปกติร่างกายจะหลั่งออกมาปริมาณมากที่สุดในตอนเช้า ช่วยให้เรารู้สึกสดชื่นและมีพลังต่อสู้ในวันใหม่ของทุกวัน และจะลดลงเหลือเพียง 10% ในช่วงเย็น 

2. ฮอร์โมนอัลโดสเตอโรน (Aldosterone)

เป็นฮอร์โมนที่ช่วยในการควบคุมสมดุลของแร่ธาตุ โซเดียม และโปแตสเซียม ซึ่งจะช่วยในการควบคุมปริมาณของเหลวในร่างกายของเราให้เกิดความสมดุล ไม่มีตัวไหนมากเกินไปหรือน้อยเกินไป

3. ฮอร์โมนดีเอชอีเอ (DHEA, Dehydroepiandosterone)

เรารู้จักกันดีว่าเป็นฮอร์โมนตั้งต้นที่จะเปลี่ยนแปลงไปเป็นฮอร์โมนเพศ เช่น เอสโตรเจน, โปรเจสเตอโรน และเทสโทสเตอโรน นอกจากนี้ยังเป็นฮอร์โมนที่มีคุณสมบัติต่อต้านความเครียด ที่มีฤทธิ์ในการเพิ่มความแข็งแรงให้กับร่างกาย กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ และชะลอความเสื่อมของร่างกายอีกด้วย

สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดต่อมหมวกไตล้า

อาการต่อมหมวกไตล้า สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน ซึ่งสาเหตุหลักๆ ที่สำคัญเลยก็คือ

1.เครียด คิดมาก มีเรื่องกังวลใจอยู่ตลอดเวลา เครียดจากอาการเจ็บป่วยเรื้อรัง  

2.นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ แนะนำให้นอนก่อนเที่ยงคืน และเมื่อรู้สึกเหนื่อยล้าก็อย่าฝืนทำกิจกรรมต่อไป ให้หยุดพักผ่อน เหลือให้ตัวเองได้ผ่อนคลายบ้าง

โรคเครียด

สัญญาณบ่งบอกว่าคุณกำลังเป็นภาวะหมวกไตล้า คือ 

1. ตื่นนอนยาก แม้จะนอนครบ 8 ชั่วโมงแต่ก็ยังรู้สึกอ่อนเพลีย บ่งครั้งก็จะนอนไม่ค่อยหลับ ขี้เกียจตื่นนอนตอนเช้า อยากนอนตอนกลางวัน มีความรู้ว่าเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ภาวะต่อมหมวกไตล้า จะทำให้รู้สึกอ่อนเพลียอยู่ตลอดเวลา ถึงแม้จะนอนหลับมาอย่างเพียงพอในตอนกลางคืน และได้งีบในตอนกลางวันก็ตาม ซึ่งทำให้หลายคนหันไปใช้กาแฟช่วยในการแก้ไขปัญหา กลับยิ่งส่งผลให้ยิ่งแย่ลงเพราะไม่ได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ในตอนกลางคืน ยิ่งทำให้พักผ่อนน้อยลงไปอีก

2. ประจำเดือนผิดปกติ ผู้หญิงที่มีภาวะต่อมหมวกไตล้า จะส่งผลต่อฮอร์โมนเพศหญิงอื่น ๆ เช่น โปรเจสเตอโรน และเอสโตรเจน ทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ คล้าย ๆ วัยใกล้หมดประจำเดือน(วัยทอง) แม้ว่าจะอายุน้อย  คือประจำเดือนมาไม่ตรง ร้อนวูบวาบ นอนไม่หลับ อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย 

3. ผิวหนังและเส้นผมมีปัญหา ทำให้ขนร่วง ผมบาง ผมแห้งเสีย บางคนอาจมีสีเปลี่ยน ใต้ตาคล้ำ ผิวแห้งคล้ำเสีย มีริ้วรอย เป็นต้น

4. อยากกินของหวาน หรือของเค็ม อาการต่อมหมวกไตล้า จะแสดงอาการเกี่ยวกับระบบย่อยอาหารออกมา เช่น เบื่ออาหาร คลื่นไส้ น้ำหนักลดแบบไม่ทราบสาเหตุ อยากของหวาน ของเค็ม เนื่องจากต่อมหมวกไตมีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนอัลโดสเตอโรน ซึ่งช่วยให้ไตควบคุมการขับถ่ายของเหลวและแร่ธาตุ เมื่อต่อมหมวกไตล้า ผลิตฮอร์โมนได้น้อยลง ทำให้ร่างกายต้องการทานสิ่งต่าง ๆ เข้าไปทดแทน ซึ่งมีผลทำให้น้ำหนักขึ้นง่าย บางคนอาจจะมีอาการท้องอืด อาหารไม่ย่อยร่วมด้วย

5. แพ้กลางวัน เก่งกลางคืน ทำงานได้ตลอดทั้งคืนแบบไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย เกิดจากการที่ร่างกายไม่สามารถรักษาระดับพลังงานให้เพียงพอได้ในช่วงเวลากลางวัน ซึ่งอาการล้านี้จะมีไปจนถึงช่วงเย็น หลัง 6 โมงเย็นขึ้นไปจะรู้สึกว่าร่างกายตื่นตัวเต็มที่ สดชื่น สมองทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เข้าใจทุกอย่าง อธิบายเรื่องยาก ๆ ได้อย่างง่ายดาย และจดจำสิ่งต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี 

6. เจ็บป่วยบ่อย ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ โรคต่อมหมวกไตล้า ส่งผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกันโรคเป็นอย่างมาก ส่งผลทำให้ร่างกายต่อต้านเชื้อแบคทีเรียได้ไม่ดีเท่าที่ควรจะเป็น ทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมามากมายและเมื่อเป็นแล้วต้องใช้เวลารักษานานกว่าปกติ ซึ่งนับเป็นปัญหาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเลยก็ว่าได้

7. มีปัญหาเกี่ยวกับความดันโลหิต ภาวะต่อมหมวกไตล้า สามารถทำให้เกิดการความดันโลหิตสูงและต่ำได้เนื่องจากระดับฮอร์โมนแปรปรวน ซึ่งทำให้เกิดอาการมึนงง วิงเวียนศีรษะได้ เมื่อเปลี่ยนท่าทางอย่างรวดเร็ว

8. กังวลใจอยู่ตลอดเวลา ภาวะต่อมหมวกไตล้า ทำให้คอร์ติซอลลดต่ำลง จนร่างกายไม่สามารถรับมือกับความเครียดได้ไม่ดีส่งผลให้มีความเครียดสะสม ซึ่งจะทำให้เกิดความวิตกกังวลอยู่ตลอดเวลา ถึงแม้จะเป็นเรื่องเล็กน้อยก็ตาม

วิธีรักษาเมื่อเกิดภาวะต่อมหมวกไตล้า

สำหรับวิธีรักษาภาวะต่อมหมวกไตล้าที่ดที่สุดคือ  การเริ่มจากตัวเราเองเป็นหลัก ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่าง ๆ ของเรา ให้รู้สึกผ่อนคลายสบาย ๆ มีความสุขกับการใช้ชีวิตไม่เร่งรีบเกินไป ดังนั้นแนวทางการรักษา คือ

ขั้นที่ 1 : ลดความเครียด โดยขั้นแรกให้ลดความเครียดลง ความเครียดเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะหมวกไตล้า จึงต้องเริ่มต้นจากการรักษาที่ต้นเหตุ นั่นคือ กำจัดความเครียดให้หมดไป รู้จักวิธีการคลายความเครียด  เปลี่ยนมาใช้ชีวิตแบบอิสระ แต่ละวันปล่อยให้ตัวเองเป็นคนกำหนด และฝึกการควบคุมลมหายใจเข้าออก นั่งสมาธิ กำหนดจิต ทำจิตใจให้ปลอดโปร่ง พยายามปรับตัวเองให้เข้ากับสภาพแวดล้อม นอนหลับให้เพียงพออย่างน้อย 6 ชั่วโมง ควรเข้านอนก่อน 4 ทุ่ม เพื่อให้ระดับฮอร์โมนในร่างกายอยู่ในปริมาณที่เหมาะสม

โยคะ

ขั้นที่ 2 : หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ สุขภาพร่างกายก็มีผลต่อภาวะต่อมหมวกไตล้าเช่นกัน ให้หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ โดยเลือกประเภทการออกกำลังกายที่รู้สึกว่าสนุก เช่น โยคะ เดินเล่น ตีแบดฯ เป็นต้น แล้วแต่ความถนัดและเวลาอำนวย ให้เลือกทำแบบไม่ฝืนใจ และไม่ควรให้มีการแข่งขันเพราะจะทำให้มีความตึงเครียด เกิดขึ้นได้ พยายามหาเวลามาออกกำลังกายให้ได้อาทิตย์ละ 3 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที เป็นอย่างน้อย

ขั้นที่ 3 : ห้ามงดอาหารเช้า หลีกเลี่ยงอาหารหวานและเค็ม ไม่ควรงดอาหารเช้าเด็ดขาด ควรกินก่อน 10 โมงเช้าเพื่อให้ร่างกายมีพลังงานไปใช้ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ  และดำเนินชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ แบ่งมื้ออาหารออกเป็นมื้อเล็ก ๆ วันละหลาย ๆ มื้อ และที่สำคัญควรรับประทานผลไม้ เพื่อเพิ่มพลังงานให้ร่างกายทุก ๆ เช้า 

ควรหลีกเลี่ยงการทานขนมหวานมากเกินไป เช่น โค้ก คุกกี้ หรือโดนัท ควรเลือกรับประทานแต่อาหารที่มีดัชนีน้ำตาลต่ำ เช่น ขนมปังโฮลวีท ผัก และผลไม้ ลดการดื่มกาแฟ หรือเครื่องดื่มชูกำลัง 

ถ้ารู้สึกเบื่ออาหาร หรือรับประทานได้ไม่เพียงพอ ก็สามารถรับประทานอาหารเสริมวิตามินและแร่ธาตุเพิ่มเติมได้เพื่อให้เพียงพอกับที่ร่างกายต้องการ เช่น วิตามินซี, บี 5, ไนอะซิน (บี 3), แมกนีเซียม, โสม, ชะเอม, เห็ดหลินจือ เป็นต้น เพื่อเสริมการทำงานของต่อมหมวกไตให้กลับมาทำงานได้อย่างปกติ

สำหรับใครที่มีอาการต่อมหมวกไตล้ามาก ๆ หรือมีภาวะอื่น ๆ แทรกซ้อนด้วย อาจต้องอาศัยการซ่อมแซมเซลล์ต่อมหมวกไต ซึ่งสกัดจากอวัยวะเนื้อเยื่อต่อมหมวกไตออกมาเป็นเปปไทด์ แล้วฉีดที่สะโพกหรือกล้ามเนื้อ ซึ่งจะทำให้เซลล์วิ่งเข้าไปที่ต่อมหมวกไต โดยเซลล์แต่ละอวัยวะจะสามารถซ่อมแซมตัวเองได้ ซึ่งจะใช้เวลา 2-3 เดือนจึงจะทำให้ผู้ที่มีภาวะต่อมหมวกไตล้ากลับมาแข็งแรง สดชื่น และใช้ชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ เหมือนคนปกติทุกประการ

ขั้นที่ 4 : หาวิธีคลายความเครียด เช่น หางานอดิเรกทำ เดินทางไปเที่ยว เป็นต้น หรือกิจกรรมอะไรก็ได้ที่ชอบ ดุหนัง ฟังเพลง ได้หมด

ขั้นที่ 5 : หากคุณมีอาการรุนแรง เรื้อรัง หรือมีความวิตกกังวลกลัวจะเป็นมากขึ้น ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาที่ถูกวิธี และ เหมาะสำหรับตัวคุณมากที่สุด

ท่องเที่ยว

จะเห็นได้ว่าภาวะต่อมหมวกไตล้าดูเหมือนอาการจะไม่รุนแรงแต่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตเป็นอย่างมาก ฉะนั้นจึงไม่ควรมองข้ามค่อยหมั่นสังเกตอาการของตัวเอง เมื่อเริ่มมีอาการให้รีบแก้ไขซึ่งการแก้ไขแสนจะง่ายมาก เพียงแค่หาเวลาพักผ่อน ลดความเครียดลง ผ่อนคลาย รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ไม่ทานหวานเกินไป เค็มเกินไป นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ แค่นี้คุณก็จะหลุดพ้นจากภาวะต่อมหมวกไตล้าได้แล้วค่ะ

Back To Top