เมนูอาหารโรคเก๊าท์ ช่วยควบคุมกรดยูริก

เมนูอาหารโรคเก๊าท์ ช่วยควบคุมกรดยูริก

การเจ็บป่วยเป็นเรื่องที่ไม่มีใครต้องการ ทุกคนล้วนต้องการการมีสุขภาพดี แข็งแรงกันทั้งนั้น  บางโรคเป็นแล้วต้องดูแลตัวเองไปตลอดไม่หายแต่สามารถควบคุมความรุนแรงไม่ให้มารบกวนการใช้ชีวิตประจำวันได้ ซึ่งมีหลายโรคมาก เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคเกาต์ซึ่งเป็นโคที่ปวดตามข้อรบกวนการใช้ชีวิตเป็นอย่างมาก

โรคเก๊าท์ มีสาเหตุมาจากความผิดปรกติของการสะสมกรดยูริค กรดยูริคได้จากการเผาผลาญสารพิวรีน เป็นธาตุอาหารที่ร่างกายสังเคราะห์เองได้และพบได้ในอาหารหลายชนิดที่มีสารพิวรีนแล้วถูกย่อยจนกลายเป็นกรดยูริค ปกติกรดยูริคจะถูกสร้างขึ้นช้าพอที่ไตจะขับออกได้หมดทัน และขับออกมาพร้อมกับปัสสาวะ แต่ไตทำหน้าที่ขับถ่ายออกมาได้ช้า ทำให้เกิดการสะสมของกรดยูริคมากขึ้น เป็นสาเหตุให้เกิดการเจ็บปวดอย่างรุนแรงในข้อกระดูกหรือรอบ ๆ ข้อกระดูก โรคนี้สามารถถ่ายทอดกันได้ทางกรรมพันธุ์

ผู้ชาย ควรมีกรดยูริคในเลือดน้อยกว่า 7 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ผู้หญิง ควรมีกรดยูริคในเลือดน้อยกว่า 6 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร สาเหตุที่กรดยูริคสูงขึ้นนั้น อาจเป็นผลมาจากไตไม่สามารถขับกรดยูริคได้ตามปกติ โดยอาจเป็นปัจจัยทางพันธุกรรม ไตเสื่อมจากยาบางชนิด การรับประทานอาหารที่มีสารพิวรีนสูง โดยพิวรีนถูกเผาผลาญให้กลายเป็นกรดยูริคในเลือด 

อย่างที่รู้กัน “กรดยูริก” คือ สารที่ทำให้เกิดข้ออักเสบ ซึ่งสาเหตุสำคัญก็มาจาก “สารพิวรีน” ทั้งที่มีอยู่ในร่างกายในอาหาร และวิธีการจำกัดอาหาร จะช่วยควบคุมกรดยูริกได้ ผู้ชายมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเกาต์มากกว่าผู้หญิง 20 เท่า และมักจะพบในผู้ชายอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป ผู้หญิงจะพบได้บ่อยเมื่ออายุมากกว่า 50 ปี หรือช่วงวัยหมดประจำเดือน

เมนูอาหารโรคเก๊าท์

การดูแลตนเอง และการควบคุมอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์

การควบคุมอาหาร โดยงดอาหารที่เป็นสาเหตุ และการรับประทานอาหารอย่างถูกต้อง จะมีส่วนสำคัญที่จะช่วยให้ลดอาการ และทำให้มีชีวิตอยู่อย่างมีความสุข

อาหารที่ควรงดหรือลดปริมาณลง

1.เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เด็ดขาด เช่น เหล้า เบียร์เบียร์ เหล้าชนิดต่างๆ เหล้าองุ่น ไวน์ (ทำให้การขับถ่ายกรดยูริกทางปัสสาวะลดลง ทำให้ระดับกรดยูริกในเลือดสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว 

2.อาหารที่มีพิวรีนสูง เครื่องในสัตว์ เช่น ตับ ตับอ่อน ไส้ ม้าม หัวใจ สมอง กึ๋น เซ่งจี๊ น้ำเกรวี กะปิ ยีสต์ ปลาดุก กุ้ง หอย ปลาอินทรีย์ ปลาไส้ตัน ปลาซาร์ดีน ไข่ปลา ชะอม กระถิน เห็ด ถั่วแดง ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ถั่วดำ สัตว์ปีก เช่น เป็ด ไก่ ห่าน น้ำสะกัดเนื้อ ซุปก้อน

3.อาหารมันมาก เช่น อาหารที่ทอดอมน้ำมันมาก ไข่ เนย และเนยเทียม เนื้อสัตว์ติดมัน เพราะไขมันทำให้ร่างกายขับกรดยูริคได้น้อยลง ขนมปัง ขนมหวาน หรือน้ำตาล

4.จำพวกถั่วเมล็ดแห้ง เช่น ถั่วแดง ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วลิสง ถั่วลันเตา เพราะมีสารพิวรีนสูง และประกอบด้วยโปรตีนสูง ซึ่งจะเป็นตัวกระตุ้นการสร้างกรดยูริก ควรลดปริมาณลง

5.อาหารทะเล เช่น ปลาหมึก ปู ปลากระพงแดง ปลาแซลมอน กุ้งมังกร หอยนางรม 

6.ยอดผัก ต้นอ่อนของผัก เช่น ยอดคะน้า ยอดผักหวาน ยอดผักบุ้งจีน หน่อไม้ หน่อไม้ฝรั่ง ดอกกะหล่ำ สะตอ กระถิน ชะอม ผักขม เมล็ดพืชทุกชนิดที่งอกได้จะมียูริกค่อนข้างมาก แม้จะทำให้สุกแล้วก็ตาม

7.อาหารหมัก ที่ใช้ ยีสต์ เป็นตัวเร่งหรือส่วนประกอบ เช่น เต้าเจี้ยว

8.น้ำหวานหรืออาหารที่มีส่วนผสมของฟรุกโตสมากเกินไป เพราะสามารถทำให้ระดับกรดยูริคในเลือดสูง

อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์

อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์

1.รับประทานผลไม้และผักให้มาก โดย รับประทานผักส่วนที่โตเต็มวัย

2.รับประทานอาหาร ให้ครบ 5 หมู่

3.ดื่มน้ำสะอาด มากๆ วันละ 3 ลิตร เพื่อช่วยการขับถ่ายยูริคออกมาทางปัสสาวะ      

4.เชอร์รีสด ระดับกรดยูริคในเลือดลดลง แต่จะไปเพิ่มขึ้นในปัสสาวะ ร่างกายขับออกมา

5.คนที่มีอาการโรคเกาต์ ควรต้องลดโปรตีนจากเนื้อสัตว์ แต่ก็ไม่ควรให้ร่างกายขาดโปรตีน ดังนั้นโปรตีนจากถั่วเหลืองน่าจะเป็นทางออกที่ดี ถั่วเหลืองช่วยลดกรดยูริคได้ ปริมาณที่แนะนำคือ ทานถั่วเหลือง สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง แทนโปรตีนจากเนื้อสัตว์และสัตว์ปีก

6.อาหารที่ทำจากมะเขือเทศ พริกหวานเขียว และผักที่มีวิตามินซีสูง วันละ 2 ถ้วย ติดต่อกันนาน 2 สัปดาห์ มีระดับกรดยูริคในเลือดลดลง นอกจากนี้พืชผักสีแดงที่มีสารต้านอนุมูลอิสระไลโคปีนอาจช่วยลดกรดยูริคได้

7.น้ำมันมะกอก น้ำมันคาโนลา อะโวคาโด และอาหารที่อุดมด้วยไขมันไม่อิ่มตัว อาจช่วยลดกรดยูริค การได้รับแคลอรีเพิ่มขึ้นจากไขมันไม่อิ่มตัว ยังอาจช่วยลดระดับอินซูลิน ซึ่งช่วยป้องกันโรคเกาต์กำเริบในทางอ้อม

8.อาหารที่มีสารพิวรีนน้อย หรือเกือบไม่มีเลย อาหารที่มีปริมาณพิวรีนน้อย บะหมี่ เป็นอาหารที่มีพิวรีนน้อย สามารถรับประทานได้โดยไม่แสลง ขนมจีน เส้นก๋วยเตี๋ยวทุกชนิด วุ้นเส้น บะหมี่ เส้นหมี่ ขนมปังปอนด์ มะกะโรนี ข้าวโพด แคร็กเกอร์สีขาว ไข่ นม รับประทานได้แต่ควรควบคุมปริมาณการรับประทาน ผลิตผลจากนม เช่น เนยแข็ง ไอศกรีม น้ำมัน น้ำมันพืช กะทิ เนย น้ำมันหมู ผัก ผลไม้ทุกชนิด เกาลัด เม็ดมะม่วงหิมพานต์ขนมหวานต่างๆ ได้แก่ ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง เค้ก คุกกี้ เครื่องดื่ม เช่น กาแฟ ชา โกโก้ และ ช็อกโกแลตผู้ป่วยโรคเกาต์ นอกจากการงดรับประทานอาหารที่มีสารพิวรีนแล้ว ยังมีการปฏิบัติตัวอื่นๆ ที่สำคัญสำหรับผู้ป่วยโรคเกาต์ ดังนี้

9.รับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด

10.ดื่มน้ำวันละมากๆ เพื่อช่วยขับถ่ายกรดยูริก อย่างน้อยวันละ 8 แก้ว

11.งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เช่น เหล้าชนิดต่าง ๆ เบียร์ ไวน์ และเครื่องดื่มที่มีส่วนประกอบเป็นแอลกอฮอล์

12.หากจะต้องทำการผ่าตัด ควรแจ้งให้แพทย์ทราบว่าเป็นโรคเกาต์ เพื่อป้องกันโรคเกาต์กำเริบหลังผ่าตัด

13.หลีกเลี่ยงภาวะเครียดทั้งทางร่างกายและจิตใจ พยายามทำจิตใจให้สงบ

โรคเกาต์เป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมและสามารถควบคุมความรุนแรงของโรคได้ เพียงปฏิบัติตัวตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด หลีกเลี่ยงอาหรที่มีพิวรินสูง พักผ่อนอย่างเพียงพอ ไม่เครียด ที่สำคัญต้องไปตรวจตามนัดด้วยเพื่อดูความคืบหน้าของโรคและวางแนวทางการดูแลตนเองที่ถูกต้อง เพื่อไม่ให้โรคกำเริบและรุนแรงขึ้น

 

Back To Top