กล้ามเนื้อมีความสําคัญอย่างไร

กล้ามเนื้อมีความสําคัญอย่างไร

การมีชีวิตที่ดีมีคุณภาพ คือ การที่สามารถทำกิจกรรมต่างในชีวิตประจำวันอย่างเป็นปกติ มีร่างกายสมบูรณ์ แข็งแรงไม่เป็นโรคอ้วน มีรูปร่างสมส่วน  ซึ่งคนที่ออกกำลังกายและดูแลตัวเองสม่ำเสมอก็จะมีไขมันสะสมในร่างกายน้อยแต่มีกล้ามเนื้อที่แข็งแรงได้สัดส่วน ซึ่งกล้ามเนื้อ เป็นเนื้อเยื่อที่พบในอวัยวะเกือบทุกชนิดในร่างกาย มีหน้าที่ช่วยพยุงโครงสร้างทั้งหมดของร่างกาย กล้ามเนื้อที่แข็งแรงจะช่วยเพิ่มการเผาผลาญ ช่วยควบคุมน้ำหนัก ทำให้กระดูกแข็งแรง เพิ่มความหนาแน่นของกระดูก 

ที่สำคัญคือ สามารถสร้างกล้ามเนื้อได้ในทุกช่วงอายุ ไม่ว่าจะอายุมากเท่าไหร่ 60 ปี หรือ 70 ปี ก็ยังสร้างกล้ามเนื้อได้เสมอ และสารเคมีที่ทำให้เกิดการสร้างกล้ามเนื้อจะช่วยสลายไขมัน และเพิ่ม growth hormone ให้กับร่างกาย ลดความเครียด ช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น ทำให้หัวใจทำงานดีขึ้น ดังนั้นการสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรงจึงถือเป็นหลักประกันชีวิตที่ดีที่สุด ช่วงวัยรุ่นร่างกายส่วนใหญ่จะประกอบไปด้วยกล้ามเนื้อ เพราะร่างกายสามารถสร้างกล้ามเนื้อได้เร็วกว่าการสูญเสีย

แต่โปรตีนหรือกล้ามเนื้อมีการสลายและสร้างใหม่ตลอดเวลา 3%-4% ต่อวัน โปรตีนในเซลล์ลำไส้ จะมีการสลาย 30%-40% ทุกวัน จึงมีการสร้างใหม่เกือบทั้งหมดในรอบ 3 วัน และในส่วนกล้ามเนื้อ มีการสลายและสร้างใหม่เกือบทั้งหมดในรอบ 100 วัน (ประมาณ 3 เดือน) ยิ่งอายุที่มากขึ้นก็ยิ่งสูญเสียกล้ามเนื้อมากขึ้นสาเหตุสำคัญที่ คือ การตอบสนองต่ออินซูลินลดลง ทำให้กล้ามเนื้อได้รับสารอาหารโดยเฉพาะโปรตีนลดลง

1.กล้ามเนื้อ เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของร่างกาย มีทั้งหมด 3 ประเภท

2.กล้ามเนื้อหัวใจ (Cardiac Muscle) เป็นกล้ามเนื้อชนิดพิเศษพบเฉพาะที่หัวใจเท่านั้น อยู่นอกอำนาจการควบคุมของจิตใจ มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของหัวใจ

3.กล้ามเนื้อเรียบ (Smooth Muscle) เป็นกล้ามเนื้อที่เป็นองค์ประกอบของอวัยวะภายใน เช่น กระเพาะอาการ ลำไส้ กระเพาะ เป็นต้น กล้ามเนื้อเรียบอยู่นอกเหนืออำนาจการควบคุมของจิตใจ ไม่สามารถควบคุม

4.กล้ามเนื้อลาย หรือ กล้ามเนื้อโครงร่าง (Skeleton Muscle) เป็นกล้ามเนื้อที่มีปริมาณมาก มีหน้าที่หลักคือทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของร่างกาย เคลื่อนไหวแขน ขา ลำตัว การเดิน ยืน ออกกำลัง กล้ามเนื้อแขนและขาที่แข็งแรง ช่วยให้เราเดินเหินได้ดีและใช้ชีวิตได้ปกติ 

ความสำคัญของระบบกล้ามเนื้อ

ความสำคัญของระบบกล้ามเนื้อ

1.ช่วยให้ร่างกายสามารถเคลื่อนไหวได้จากการทำงาน ซึ่งในการเคลื่อนไหวของร่างกายนี้ ต้องอาศัยการทำงานของระบบโครงกระดูกและข้อต่อต่างๆด้วย โดยอาศัยการยึดและหดตัวของกล้ามเนื้อ

2.ช่วยให้อวัยวะภายในต่างๆเช่นหัวใจ ปอด กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ หลอดเลือด ทำงานได้ตามปกติและมีประสิทธิภาพ เนื่องจากการบีบตัวของกล้ามเนื้ออวัยวะดังกล่าว

3.ผลิตความร้อนให้ความอบอุ่นร่างกาย ซึ่งความร้อนนี้เกิดจากการหดตัวของกล้ามเนื้อแล้วเกิดปฏิกิริยาทางเคมี

4.ช่วยป้องกันอวัยวะภายในไม่ให้ได้รับความกระทบกระเทือน

5.เป็นที่เกิดพลังงานของร่างกาย

6.กล้ามเนื้อช่วยป้องกันภาวะดื้ออินซูลิน เพราะมวลกล้ามเนื้อสามารถป้องกันโรคอ้วนลงพุง(Metabolic Syndrome) และโรคเบาหวานที่เกิดจากการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตไม่เพียงพอ ยิ่งกล้ามเนื้อมีปริมาณมาก การกักเก็บคาร์โบไฮเดรตก็มีมาก และการตอบสนองต่ออินซูลินก็มีมากตามไปด้วย 

7.กล้ามเนื้อช่วยป้องกันการเกิดโรคอ้วน โรคอ้วนเกิดจากการอักเสบของเซลล์ ทําให้เกิดการสลายของกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย ภาวะนี้เรียกว่า ภาวะกล้ามเนื้อพร่อง(Sarcopenia) ร่างกายจะสูญเสียกล้ามเนื้อ แต่ถ้าหากเรามีกล้ามเนื้อที่แข็งแรง ความเสี่ยงของการเกิดโรคอ้วนจะลดลงตามไปด้วย การมีกล้ามเนื้อที่แข็งแรง สามารถป้องกันภาวะกล้ามเนื้อพร่องได้

8.กล้ามเนื้อทําให้อายุเป็นเพียงตัวเลข

เมื่อคนเราอายุมากขึ้น มักงดการเคลื่อนไหวร่างกาย ความเสี่ยงต่อการสูญเสียกล้ามเนื้อจึงมากขึ้น คนอายุ 60 ปีขึ้นไป ควรทํากิจกรรมที่เสริมสร้างกล้ามเนื้อมากกว่าคนวัยหนุ่มสาว เพื่อป้องกันภาวะกล้ามเนื้อพร่อง เพราะการมีกล้ามเนื้อที่แข็งแรง 

  1. กล้ามเนื้อช่วยให้กระดูกแข็งแรง ถ้ามีมวลกล้ามเนื้อแข็งแรงจะช่วยรักษาความหนาแน่นของกระดูก เพราะการทํากิจกรรมเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อจะเป็นการเสริมสร้างกระดูกไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นการใช้ชีวิตประจําวัน เช่น แบก ยก ลากของที่มีน้ําหนักมาก หรือการออกกําลังกาย เช่น การเล่นเวท การเคลื่อนไหวร่างกายส่งผลให้กล้ามเนื้อและกระดูกแข็งแรง
  2. กล้ามเนื้อเสริมภูมิคุ้มกันโรค กล้ามเนื้อที่แข็งแรงจะประกอบไปด้วยโปรตีนปริมาณมาก ซึ่งจะถูกส่งไปยังอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกาย ถ้าโปรตีนไม่เพียงพอต่อการใช้งาน ร่างกายจะแบ่งโปรตีนของกล้ามเนื้อไปให้อวัยวะนั้น ๆ จึงทําให้กล้ามเนื้อมีขนาดเล็กลง ในทางการแพทย์กล้ามเนื้อสามารถบ่งบอกถึงอัตราการรอดชีวิตของแต่ละบุคคลได้ เช่น ผู้ป่วยโรคมะเร็ง คนที่มีมวลกล้ามเนื้อปกติจะสามารถทนต่อเคมีบําบัดได้นานกว่าการดูแลและชะลอไม่ให้มวลกล้ามเนื้อลดลง

การดูแลและชะลอไม่ให้มวลกล้ามเนื้อลดลง

1.ออกกำลังกายเป็นประจำ เช่น เดิน ขึ้นลงบันได ฯลฯ อย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน (อย่างต่ำควรเป็น 3-5 ครั้งต่อสัปดาห์) ติดต่อกัน 5 เดือนขึ้นไป รวมทั้งออกกำลังต้านแรง เช่น เล่นเวท ยกน้ำหนัก ดึงสปริง ดึงยางยืด พิลาทิส ฯลฯ

2.รับประทานอาหารพวกโปรตีนและอาหารเสริม เช่น แอลคาร์นิทีน จะช่วยให้เกิดการเผาผลาญไขมัน และทำให้เกิดมวลกล้ามเนื้อมากขึ้น

3.ไม่นอนดึก พักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้ฮอร์โมนช่วยสร้างและซ่อมแซมร่างกาย (growth hormone) หลั่งออกมามากพอ

4.โปรตีนต้องเพียงพอตามความต้องการของร่างกายในการใช้ต่อวัน สำหรับผู้ที่สุขภาพปกติควรกินโปรตีนประมาณ 1 กรัม : น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม : ต่อ 1วัน เช่น หากเราน้ำหนัก 55 กิโลกรัม ก็ควรกินโปรตีน 55 กรัมต่อวัน (ประมาณโปรตีน: ไข่ขาว 1 ฟอง ให้โปรตีนประมาณ 3.5 กรัม, เนื้อ หมู ไก่ ปลา 100 กรัม ให้โปรตีนประมาณ 20-23 กรัม)

  1. แบ่งทานโปรตีน 3 มื้อให้เท่ากัน เพราะกล้ามเนื้อสลายและสร้างตลอดเวลา การแบ่งกินโปรตีนให้เท่ากัน 3 มื้อจะดีกว่าเน้นกินโปรตีนแค่ 1-2 มื้อ ช่วงเช้าบางคนจะกินน้อย กินไม่ลง แต่ที่จริงแล้วเป็นช่วงที่ขาดโปรตีนในการสร้างกล้ามเนื้อมากที่สุด การรับประทานอาหารเช้าจึงสำคัญมาก
  2. เลือกทานโปรตีนที่มีคุณภาพสูง เมื่อรับประทานอาหารได้น้อยลง หรือรับประทานอาหารซ้ำ ๆ ไม่หลากหลาย จะทำให้ได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน หรือไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ดังนั้นจึงควรรับประทานอาหารเสริมจำพวกโปรตีนที่ร่างกายดูดซึมเอาสร้างกล้ามเนื้อได้ดีและเร็ว พร้อมทั้งดูแลให้ได้รับพลังงานและโปรตีนเพียงพอต่อวันเพื่อให้เพียงพอต่อการซ่อมแซมกล้ามเนื้อที่สูญเสียไป

กล้ามเนื้อมีความสำคัญอย่างมากในการใช้ชีวิต เพราะกล้ามเนื้อคือกลไกสำคัญที่ทำให้ร่างกายขยับเขยื้อนไปไหนมาไหนและทำกิจกรรมต่าง ๆ กล้ามเนื้อสร้างมาจากการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และออกกำลังกายสม่ำเสมอ เมื่อมีกล้ามเนื้อเกิดขึ้นให้ดูแลรักษาไว้ให้นาน ชะลอการสลายออกไป เพื่องคงไว้ซึ่งการดำเนินชีวิตที่มีคุณภาพที่ดี

 

Back To Top