ทอนซิลอักเสบ ห้ามกินอะไร

ทอนซิลอักเสบ

สภาพอากาศค่อนข้างแปรปรวน ทําให้หลายคนป่วยกันง่าย ที่พบได้บ่อยก็คือ ไข้ ไอ เป็นหวัด เจ็บคอ เมื่อมีเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายระบบภูมิคุ้มกันก็จะเริ่มทำงาน โดยเฉพาะต่อมทอนซิลอักเสบที่จะค่อยกำจัดเชื้อโรคในคอไม่ให้เข้าสู่ระบบทางเดินอาหารของร่างกาย ต่อมทอนซิลพบได้หลายตำแหน่งในช่องปาก หากมีความผิดปกติ หรือเกิดการติดเชื้อไวรัส หรือเชื้อแบคทีเรียจะส่งผลให้เป็นภาวะต่อมทอนซิลอักเสบ (Tonsillitis) ซึ่งสามารถเป็นได้ทุกเพศทุกวัย 

สาเหตุของต่อมทอนซิลอักเสบ

ต่อมทอนซิลเป็นด่านแรกของการป้องกันการเจ็บป่วย มีหน้าที่ผลิตเซลล์เม็ดเลือดขาว เพื่อช่วยในการต่อสู้กับเชื้อโรค ไม่ว่าจะไวรัสหรือแบคทีเรียที่เข้าสู่ร่างกาย หากเชื้อเหล่านั้นผ่านเข้าทางปากและจมูก ต่อมทอนซิลจะทำหน้าที่สู้กับเชื้อเหล่านั้นจนเกิดเป็นหนอง  ป้องกันเชื้อโรคไม่ให้ผ่านไปยังทางเดินหายใจส่วนล่าง  

อาการของต่อมทอนซิล 

ทอนซิลอักเสบเกิดจากเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรียหลายชนิด เช่น สเตรปโทคอกค (Streptococcal bacteria) จะทำให้เกิดอาการเจ็บคอหรือคออักเสบได้ ต่อมท่อนซิลบวมแดง และมีไข้ อาการต่อมทอนซิลอักเสบจะมีอาการอยู่ประมาณ 7-10 วัน อาการของทอนซิลอักเสบมีดังนี้

1.เจ็บคอมาก

2.กลืนอาหารลำบาก หรือปวดคอเวลากลืนอาหาร

3.เสียงแหบ มีกลิ่นปาก

4.มีไข้ มีอาการหนาวสั่น

5.ปวดหู ปวดท้อง อาการปวดศรีษะ มีอาการคอเคล็ด หรือคอแข็ง

6.ต่อมน้ำเหลืองใต้กรามและบริเวณคอบวม

7.ต่อมทอนซิลเกิดเป็นสีแดง และบวม อาจจะมีจุดสีขาวหรือสีเหลือง

อาการของต่อมทอนซิล 

ประเภทของทอนซิลอักเสบ

ทอนซิลอักเสบ มี 3 ประเภท คือ แบบเฉียบพลัน แบบเรื้อรัง และแบบกำเริบ ในเด็กเล็กจะสังเกตได้ง่ายเพราะจะมีอาการหงุดหงิดและไม่อยากอาหาร และอาจมีน้ำลายไหลออกมามากกว่าปกติ ต่อมทอนซิลอักเสบที่เกิดในเด็กถือว่าเป็นเรื่องปกติ อาจจะเกิดอย่างน้อย 1 ครั้ง 

หากมีอาการประมาณ 10 วันหรือน้อยกว่า นั่นหมายถึงอยู่ในประเภทต่อมทอนซิลอักเสบแบบเฉียบพลัน หากมีอาการนานกว่าระยะเวลาดังกล่าว จะกลายแป็นต่อมทอนซิลอักเสบเรื้อรัง  และอาจะเป็นต่อมทอนซิลแบบกำเริบ

ต่อมทอนซิลอักเสบแบบเฉียบพลัน 

สามารถรักษาหายได้เองที่บ้าน อาจต้องกินยาปฏิชีวนะเพื่อแก้อาการทอนซิลอักเสบให้หายเร็วขึ้น

ต่อมทอนซิลอักเสบแบบเรื้อรัง

อาการต่อมทอนซิลอักเสบเรื้อรังจะมีอาการนานกว่าแบบเฉียบพลัน และมีอาการดังนี้ 

1.เจ็บคอ

2.มีกลิ่นปาก 

3.ต่อมน้ำเหลืองที่คอบวม

4.ต่อมทอนซิลโต

5.อาจมีนิ่วทอนซิล   เนื่องจากเซลล์ที่ตายและมีการสะสมของน้ำลาย ก่อให้เกิดเป็นก้อนแข็ง ๆ เล็ก 

ต่อมทอนซิลอักเสบกำเริบ

อาการต่อมทอนซิลกำเริบ เป็นอาการเช่นเดียวกับต่อมทอนซิลอักเสบแบบเรื้อรัง แต่จะเว้นระยะในการเป็นตามระยะเวลาดังนี้

1.ทอนซิลอักเสบมากกว่า 7 ครั้งในรอบหนึ่งปี

2.ทอนซิลอักเสบมากกว่า  4-5 ครั้งในรอบหนึ่งปีเป็นระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา

3.ทอนซิลอักเสบมากกว่า 3 ครั้งในรอบหนึ่งปีเป็นระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา

ภาวะแทรกซ้อน

หากมีอาการแทรกซ้อนดังต่อไปนี้ควรไปพบแพทย์ทันที่

1.ไข้ที่สูงกว่า และอุณหภูมิสูงกว่า 39.5 ° C

2.กล้ามเนื้ออ่อนแรง

3.เกิดอาการฝืดคอ

4.อาการเจ็บคออยู่นานกว่า 2 วัน คอบวมมาก ต่อมทอนซิลหรือบริเวณรอบๆต่อมทอนซิลอักเสบเป็นหนอง

5.ปวดเมื่อยในส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย

6.วิงเวียนศรีษะ อาเจียน

7.จุดแดงเล็ก ๆ ที่ด้านหลังของปาก ผื่นขึ้น

8.ไซนัสอักเสบ 

9.หูชั้นกลางอักเสบ 

10.หลอดลมอักเสบ  

11.ปอดอักเสบ

12.หายใจลำบาก ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

การรักษาต่อมทอนซิลอักเสบ

หากมีอาการต่อมทอนซิลอักเสบการดูแลรักษาเป็นสิ่งสำคัญ ควรปฏิบัติตามวิธีเหล่านี้  

1.ควรดื่มน้ำมาก ๆ ดื่มน้ำอุณหภูมิห้องอย่างน้อยวันละ 8 แก้วขึ้นไป เพื่อทำให้มีความชุ่มคอ

2.พักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย 8 ชั่วโมงต่อวัน

3.บ้วนปากด้วยน้ำเกลืออุ่น ๆ วันละหลายครั้ง หรือน้ำยาบ้วนปากอ่อน ๆ ที่ไม่มีแอลกอฮอล์หรือน้ำเปล่าก็ได้ อย่าให้เศษอาหารตกค้างบริเวณลำคอ ช่องปาก เพราะจะทำให้ทอนซิลอักเสบเพิ่มขึ้น

4.รับประทานยาอมบรรเทาอาการปวด

5.รับประทานไอติมหรืออาหารแช่เย็น

6.อยู่ในที่ที่อากาศปรอดโปร่ง หลีกเลี่ยงควัน

7.รับประทานยา acetaminophen หรือ ibuprofen เพื่อลดอาการปวดและการอักเสบ รักษาทอนซิลอักเสบโดยให้ยาตามอาการ เช่น ยาแก้เจ็บคอ ยาลดน้ำมูกหรือยาแก้อักเสบ

8.ควรเลือกกินอาหารอ่อนๆ เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม ซุป เป็นต้น เมื่อมีอาการเจ็บคอ กลืนอะไรลำบาก

9.การผ่าตัดต่อมทอนซิล (Tonsillectomy) จะรักษาผู้ที่เป็นต่อมทอนซิลอักเสบเรื้อรังหรือผู้ที่มีภาวะแทรกซ้อน มีอาการอย่างน้อย 5 ถึง 7 ครั้งในปีที่ผ่านมา ช่วยลดความเสี่ยงให้เชื้อลุกลามไปสู่คอหอยได้ ใช้เวลารักษาและฟื้นฟูแผลเป็นเวลา 1-2 สัปดาห์  

10.ใช้เสียงให้น้อยลง

11.หากมีไข้สูง ให้เช็ดตัวลดไข้

12.เลิกนิสัยติดยาปฏิชีวนะ ยาเก่า ๆ ประเภทปฏิชีวนะนั้น ให้รับประทานต่อให้หมด เมื่อหมดแล้วไม่ต้องซื้อมารับประทานต่อ

  1. แนะนําให้รับประทานวิตามินซีขนาด 1,000 มิลลิกรัม ครั้งละ 1 เม็ด หลังอาหารเช้า – เย็น นาน 10 วัน

14.รับประทาน สังกะสี หรือซิงค์ (Zinc) ขนาด 100 มิลลิกรัม วันละ 1 เม็ด หลังอาหารเช้า – เย็น เพื่อช่วยให้การอักเสบของต่อมทอนซิลและหูหายเร็วขึ้น

15.วิตามินบีรวม รับประทานวิตามินบี 1- 6- 12 (แบบเป็นวิตามินรวมในเม็ดเดียว) 1 เม็ด หลังอาหารเช้า ร่วมกับกินวิตามินบีคอมเพล็กซ์ 1 เม็ด หลังอาหารกลางวัน ช่วยบรรเทาอาการทอลซิลอักเสบได้

16.ลดแป้งขาว เพิ่มโปรตีน งดอาหารประเภทแป้งขาว ของหวาน น้ำตาลขาว ให้รับประทานข้าวกล้อง ผัก ถั่ว และปลา

17.เสริมสุขภาพด้วยของขบเคี้ยว เช่น สาหร่ายทะเล เมล็ดทานตะวัน เมล็ดฟักทอง และผลไม้ไม่หวาน เช่น มะละกอ ฝรั่ง แอ๊ปเปิ้ลเขียว พุทรา

ต่อมทอนซิลอักเสบ

ต่อมทอนซิลอักเสบ ห้ามรับประทาน

1.ไม่ควรรับประทานอาหารรสจัด และหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเผ็ด 

2.อาหารที่ทำให้ร้อนใน เช่น ทุเรียน 

3.อาหารที่ปรุงด้วยการผัดหรือทอด 

4.เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ 

5.ไม่ควรสูบบุหรี่ เพราะอาจทำให้ทอนซิลอักเสบบวมมากยิ่งขึ้น

การป้องกันต่อมทอนซิลอักเสบ

1.หลีกเลี่ยงการสัมผัส หรือคลุกคลีกับผู้ป่วยที่เป็นต่อมทอนซิลอักเสบ

2.รับประทานอาหารที่มีประโยชน์

3.ดูแลตัวเองตามลักษณะสุขอนามัยที่ดี

4.หมั่นล้างมือด้วยสบู่บ่อยๆ ทั้งก่อนรับประทานอาหารและหลังจากเข้าห้องน้ำ

5.พักผ่อนให้เพียงพอในแต่ละวัน หรืออย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมง

6.ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้สุขภาพแข็งแรง มีภูมิต้านทานโรคที่ดี

โรคต่อมทอนซิลอักเสบสามารถติดต่อกันได้เหมือนกับ โรคหวัดธรรมดาและโรคไข้หวัดใหญ่ โดยการสัมผัสเชื้อโดยตรง เช่น ลมหายใจ การไอ การจาม การสัมผัสสารคัดหลั่งน้ำมูก หรือน้ำลาย และการใช้สิ่งของร่วมกัน เช่น ช้อน แก้วน้ำ ผ้าเช็ดหน้า  ดังนั้นควรงดการสัมผัสกับผู้ป่วยที่เป็นต่อมทอนซิลอักเสบ หรืออยู่ใกล้ชิด 

โดยทั่วไปแล้วการรักษาภาวะต่อมทอนซิลอักเสบ จะใช้ยาบรรเทาอาการเจ็บคอ ยาลดน้ำมูก หรือลดไข้ และยาฆ่าเชื้อ(ถ้าจำเป็น) อาจใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ถึงจะดีขึ้น กระนั้นหากอาการยังไม่ดีขึ้น หรือ มีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย แนะนำให้ไปพบแพทย์ และการใช้ยารักษาจะต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์หรือเภสัชกรเท่านั้น ห้ามซื้อยามารับประทานเอง เพราะอาจทำให้แพ้ยา หรือเกิดอันตรายจากการใช้ยาได้

Back To Top