อาการเท้าบวมในผู้สูงอายุ

อาการเท้าบวมในผู้สูงอายุ

อาการเท้าบวมในผู้สูงอายุ

อาการเท้าบวมในผู้สูงอายุ เกิดจากการที่มีน้ำคั่งสะสมในเท้า บวมตั้งแต่บริเวณเท้าไปจนถึงข้อเท้าข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้ จะมีผลกระทบไปยังร่างกายส่วนเดียวหรือหลายส่วน ส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นในร่างกายส่วนล่าง เพราะส่วนนี้มีความถ่วงมากที่สุด ทำให้เดินไปไหนมาไหนไม่ถนัดเพราะขาบวม 

สาเหตุของเท้าบวม

สาเหตุของเท้าบวม

สำหรับคนสูงอายุแล้ว อาการขาบวมหรือเท้าบวมที่เกิดขึ้นรุนแรงหรือไม่ขึ้นอยู่กับสาเหตุ ไม่ว่าจะบวมอย่างเดียว ไม่เจ็บปวด ตลอดจนมีอาการปวดร่วมด้วยแล้วนั้น แม้อาการเท้าบวมอาจไม่อันตรายแต่ควรสังเกตอาการอื่น ๆ ด้วย สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการบวมมีหลายอย่าง ดังนี้

1.โรคเบาหวาน มักจะมีอาการเส้นประสาทเสื่อม ชาปลายมือปลายเท้า ทำให้มีอาการบวมและเกิดแผลได้ง่าย มีประสาทสัมผัสเสื่อม ทำให้ข้อเท้าและข้อพับเท้าเสื่อมส่งผลให้ข้อเท้าและเท้าบวม 

2.โรคหัวใจ เมื่อหัวใจปั๊มเลือดไม่ไหว ส่งผลให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวมีการคั่งของเลือดในหลอดเลือดดำ ขาจะบวมทั้งสองข้างแต่ไม่เจ็บปวด เมื่อกดจะมีรอยบุ๋ม

3.โรคตับ โรคไต โรคตับแข็งระยะท้ายๆ ท้องจะโต (ท้องมาน) เนื่องจากมีน้ำในช่องท้อง ขาจะบวม กดเป็นรอยบุ๋ม ไม่เจ็บปวด โรคนี้อาจทำให้เกิดความดันโลหิตสูงและการไหลเวียนเลือดไม่ดีและทำให้เกิดอาการหน้าบวม มือบวม และเท้าบวมได้

4.โรคไต ถ้าไตวายเรื้อรังจะมีอาการน้ำเกิน ขาบวมทั้งสองข้าง เหนื่อย นอนราบไม่ได้ ปัสสาวะออกน้อย ส่วนไตอักเสบหรือโปรตีนรั่วในปัสสาวะ ขาบวมทั้งสองข้างและอาจมีความดันโลหิตสูง ปัสสาวะเป็นฟอง ถ้าเป็นมากอาจจะมีอาการบวมของหนังตาบนทั้งสองข้างได้

5.โรคขาดอาหาร ขาดพวกโปรตีนทำให้เกิดอาการบวมตามตัว โดยเฉพาะขาและเท้าทั้งสองข้าง เพราะเป็นอวัยวะที่อยู่ต่ำสุดของร่างกาย

6.โรคเข่าเสื่อม ข้อเท้าเสื่อม มักเป็นคนที่มีอายุ อ้วน และเดินมาก ขาและเท้าจึงบวมได้บ่อยๆ โดยเฉพาะตอนเย็น 

7.โรคไทรอยด์ ฮอร์โมนมากเกินปกติหรือต่ำกว่าปกติ ส่งผลต่อการไหลเวียนทำให้เกิดการบวมที่เท้าได้

8.ความผิดปกติของระบบหลอดเลือดและน้ำเหลือง อุดตันของหลอดเลือดดำที่ขา หรือการอุดตันที่ทางเดินของระบบน้ำเหลืองของขาและเท้า ทำให้เกิดการบวมโดยที่ไม่มีอาการปวด 

9.ภาวะหลังผ่าตัดบริเวณขา หรือเท้า เมื่อกระดูกขาหักต้องดามด้วยเฝือกเป็นเวลานาน จะมีอาการบวมและอาจปวดได้ จากการคั่งของระบบไหลเวียน 

10.การอักเสบเฉพาะที่ สาเหตุจากการติดเชื้อเป็นหนอง ที่เท้า หรือขา จะมีไข้สูง ปวดบวมรุนแรง จนไม่สามารถเดินลงน้ำหนักได้ตามปกติ ต้องรีบตรวจรักษาทันที

11.สาเหตุจากการรับประทานยาบางชนิด ยาลดความดัน เมื่อหยุดยา อาการบวมจะดีขึ้น ยาสเตรียรอยด์ ยากล่อมประสาทบางชนิด ยาแก้อักเสบ รวมไปถึงibuprofen และ aspirin ยาเหล่านี้ สามารถทำให้การไหลเวียนของเลือดลดลงได้ ทำให้เกิดอาการเท้าบวมได้ 

12.น้ำหนักตัวเยอะเกินไป มวลร่างกายที่มีมากเกินไป ทำให้การไหลเวียนของเลือดนั้นลดลง ซึ่งเป็นสาเหตุของการปวดบวมส่วนปลาย สำหรับคนอ้วนจะมีโอกาสบวมง่ายกว่าคนผอม เนื่องจากคนอ้วนมีไขมันที่สูงอาจมีการอุดตันของหลอดเลือดดำที่ขา ทำให้เกิดการบวมโดยที่ไม่มีอาการปวด ถ้ามีน้ำหนักมากเกินไปควรลดน้ำหนักและตรวจเช็คร่างกายเป็นประจำ ก็จะช่วยลดอาการบวมของขาและเท้าของคุณได้

13.ยืนหรือนั่งเป็นเวลานาน เมื่อกล้ามเนื่อไม่ได้มีการเคลื่อนไหว ก็ไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปยังหัวใจได้ การเก็บสะสมของน้ำและเลือด ก็เป็นสาเหตุของการปวดบวมที่ขาได้

14.การเป็นโรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ การอักเสบระยะยาวของเยื่อหุ้มหัวใจซึ่งเป็นเยื่อหุ้มถุงรอบหัวใจ อาการนี้ทำให้หายใจลำบากและมีอาการบวมที่ขาและข้อเท้าอย่างรุนแรง 

15.ภาวะบวมน้ำเหลือง หรือที่เรารู้จักกันดีคือภาวะน้ำเหลืองอุดตัน เกิดจาการไหลเวียนของระบบน้ำเหลืองที่ไม่ดี ประกอบด้วยต่อมน้ำเหลืองและหลอดเลือดที่ช่วยโอบอุ้มของเหลวทั่วทั้งร่างกาย ภาวะบวมน้ำเหลืองนี้ เป็นสาเหตุที่ทำให้มีอาการเท้าบวมได้

16.ภาวะครรภ์เป็นพิษ ความดันโลหิตสูงในระหว่างตั้งครรภ์ การเพิ่มขึ้นของความดันโลหิตอาจส่งผลให้การไหลเวียนของเลือดไม่ดีและมีอาการหน้าบวม แขนบวม และเท้าบวมได้

วิธีการป้องกันอาการเท้าบวม

วิธีการป้องกันอาการเท้าบวม

อาการเท้าบวมไม่สามารถป้องกันได้ถาวร ขั้นตอนที่สามารถป้องกันเท้าบวมได้ในเบื้องต้น ดังนี้:

1.การออกกำลังกายเป็นประจำ เป็นการรักษาการไหลเวียนของเลือดได้ดีขึ้นได้ผลในผู้ใหญ่ที่มีอายุ 18 ถึง 64 ปีแนะนำให้ออกกำลังกายในระดับปกติเวลา 150 นาที หรืออกกำลังกายในระดับหนักหน่วงเวลา 75 นาทีต่อสัปดาห์

2.หลีกเลี่ยงการนั่งหรือยืนเป็นเวลานาน ให้ลุกขึ้นไปยืดเส้นยืดสายบ้างเมื่อนั่งเป็นเวลานาน ๆ 

3.ลดการใส่เกลือในอาหารลง แนะนำให้ผู้ใหญ่รับประทานเกลือได้ไม่เกิน 2,300 มิลลิกรัมต่อวัน

ข้อสังเกตของอาการเท้าบวม

1.มีอาการตึงที่เท้า ร่องรอยย่นของผิวหนังหายไป

2.ใส่รองเท้าแล้วคับ ใส่กางเกงแล้วติดขา

3.เอานิ้วกดอยู่บริเวณหน้าแข้งด้านในแล้วบุ๋มลงไปและคืนสู่สภาพเดิมอย่างช้า ๆ ผิดปกติ เห็นรอยบุ๋มชัดเจนเมื่อถอดรองเท้าหรือถุงเท้าออก

4.ข้อเท้า หรือเท้าทั้ง 2 ข้างขยายขนาดขึ้น เมื่อสัมผัสบริเวณเท้าอาจจะรู้สึกว่านิ่มผิดปกติ

5.เกิดรอยพับที่เห็นได้ชัดบนผิวหนังที่บวมเมื่อถอดรองเท้า หรือถุงเท้าออก

6.สีผิวหนังของเท้าที่บวมอาจปกติหรือซีดกว่าปกติ

ภาวะแทรกซ้อนเท้าบวม

เท้าและข้อเท้าบวมทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้หลายอย่าง ความรุนแรงของอาการขึ้นอยู่กับสาเหตุ เท้าบวมอาจส่งผลให้เกิดอาการเจ็บ เดินและวิ่งได้ไม่สะดวกชั่วคราว หากเรื้อรังจนทำให้ผิวหนังบริเวณที่บวมเปลี่ยนสี หรือมีแผลเปื่อยร่วมด้วย ก็อาจทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ หากไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้เป็นฝี มีอาการเซลล์และเนื้อเยื่ออักเสบ เนื้อตาย และรุนแรงจนทำให้เสียชีวิตได้ในที่สุด

ภาวะแทรกซ้อนเท้าบวม

การป้องกันเท้าบวม

อาการเท้าบวมป้องกันได้ยาก แต่สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดอาการเท้าบวมด้วยวิธีดังต่อไปนี้

1.ลุกขึ้นเดินเป็นระยะ ๆ เพื่อป้องกันของเหลวลงไปคั่งที่บริเวณขาและเท้า

2.ดื่มน้ำวันละ 8-10 แก้ว การดื่มน้ำให้พอเหมาะทุกวันจะลดอาการบวมที่เกิดขึ้นและช่วยป้องกันอาการบวมได้

3.ลดปริมาณการบริโภคเกลือ เกลือเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอาการบวมได้ หากรับประทานลดลงความเสี่ยงต่ออาการบวมก็จะลดลงด้วย

4.หนุนเท้าให้สูงขณะนอนหลับ หากขาและเท้าอยู่ในระดับที่สูงพอในขณะนอนหลับก็จะช่วยให้อาการบวมลดลง

5.ออกกำลังกายเป็นประจำ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบไหลเวียนเลือด และอาจช่วยป้องกันการเกิดอาการเท้าบวมได้

การรักษาอาการเท้าบวม

1.ยกขาให้สูงขึ้นขณะนอนหงาย เพื่อช่วยให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก

2.ยืดเหยียดขาอยู่เสมอ จะทำให้เลือดไหลเวียนได้ดียิ่งขึ้น

3.ลดปริมาณการรับประทานเกลือ ช่วยลดการเกิดน้ำส่วนเกินในร่างกายได้ ทำให้อาการบวมลดลง

4.ใส่เสื้อผ้าที่ไม่รัดแน่นจนเกินไป หลีกเลี่ยงการสวมใส่เสื้อผ้าที่รัดบริเวณต้นขา หรือข้อเท้า เพราะอาจทำให้เท้าบวมได้

5.สวมผ้ารัดข้อเท้าหรือเท้า เพื่อช่วยลดอาการบวม

6.วิธีการรักษาเท้าบวมโดยการใช้ยาตามที่แพทย์สั่ง อาจจะทำให้อาการบวมนั้นลดลง เช่น ยาขับปัสสาวะ  การใช้ยาเหล่านี้อาจมีผลข้างเคียง และจะใช้เฉพาะที่รักษาแบบธรรมดาไม่ได้ผล แต่ถ้าเท้าบวมจากการใช้ยาควรปรึกษาแพทย์ผู้สั่งจ่ายยาเพื่อเปรียบเทียบข้อดี ข้อเสียในการใช้ยาดังกล่าว หากยาทำให้เกิดอาการบวมอย่างรุนแรง แพทย์อาจสั่งหยุดยา ปรับเปลี่ยนขนาดยา หรือเปลี่ยนยาเพื่อความปลอดภัย

โดยทั่วไปแล้วหากอาการเท้าบวมเกิดขึ้นจากกิจกรรมในชีวิตประจำหรือการบาดเจ็บเล็กน้อย อาจไม่ต้องรักษาด้วยวิธีทางการแพทย์ แต่ถ้าไม่หายให้รีบไปพบแพทย์ เท้าบวมเป็นอันตรายกว่าที่เห็นเป็นปัญหาที่มองข้ามไม่ได้ เพราะอาจจะเป็นอาการของโรคที่ร้ายแรงที่แสดงออกมาให้เห็นว่าการเจ็บป่วยได้ดำเนินมาถึงขั้นรุนแรงต้องรีบแก้ไข ดังนั้นเมื่อมีอาการควรรีบไปดูแลรักษาอย่าให้ลุกลาม 

Back To Top