เส้นเลือดขอด โรคที่อันตราย 

เส้นเลือดขอด

เส้นเลือดขอด คือ ลิ่มเลือดที่อุดตันและทำให้หลอดเลือดฉีกขาดในที่สุด ที่จริงแล้วเส้นเลือดขอดสามารถเสียชีวิตหรือพิการได้ทุกเมื่อ เนื่องจากหัวใจและสมอง พร้อมทั้งอวัยวะภายในก็สามารถล้มเหลวได้เนื่องจากลิ่มเลือดก่อตัวในหลอดเลือด ซึ่งทั้งหมดนี้คร่าชีวิตคนได้อย่างรวดเร็ว  ซึ่งหมายความว่าคนทุกคนที่มี เส้นเลือดขอดอาจเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว เส้นเลือดในสมองขาดเลือดและอาจเกิดภาวะไตล้มเหลวได้  การทำงานหนักเกินไปหรือมีความเครียดเป็นปัจจัยเสริมทำให้เส้นเลือดขอดมีอาการรุนแรงขึ้นทำให้เสียชีวิตได้โดยไม่คาดคิด เส้นเลือดขอดเป็นหนึ่งในสาเหตุที่นำไปสู่การเสียชีวิตของโรคหลอดเลือดทั้งหมด 

นี่คือเหตุผลที่ว่าเส้นเลือดขอดเป็นโรคที่อันตราย  บางคนที่เป็นเส้นเลือดขอดจะทนทุกข์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ เนื่องจากจากอาการของโรคที่ไม่น่าดู ทำให้ผู้ป่วยต้องปกปิดบริเวณที่เป็นตลอดเวลา และรักษาไม่หาย  ลักษณะเด่นชัดของเส้นเลือดขอดคือ มี ภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ  เส้นเลือดบางและเริ่มดันผิวหนัง  ดังนั้นเมื่อเป็นเส้นเลือดขอดจึงควรทำการรักษาอย่างถูกวิธีโดยเร็ว 

ความรุนแรงของเส้นเลือดขอด 

จะมีความแตกต่างกันในแต่ละระยะ ซึ่งแบ่งเป็น 6 ระยะ ได้แก่

ระยะที่ 1 เส้นเลือดมีลักษณะคล้ายใยแมงมุม มักมีขนาดน้อยกว่า 3 มิลลิเมตร

ระยะที่ 2 เส้นเลือดเริ่มปูดเป็นตัวหนอน ขนาดใหญ่มากกว่า 3 มิลลิเมตร และมีอาการปวดเมื่ออยู่ในท่าเดิมเป็นระยะเวลานาน เช่น นั่ง เดิน หรือ ยืน

ระยะที่ 3 เริ่มมีอาการบวม และปวดมากขึ้นถึงแม้จะใช้งานในระยะเวลาสั้น ๆ

ระยะที่ 4 สีผิวเริ่มเปลี่ยนเป็นสีดำเข้มขึ้น ซึ่งเป็นภาวะอักเสบของผิวหนัง

ระยะที่ 5 แผลหายจากการรักษา แต่ยังมีลักษณะอื่น ๆ ร่วม เช่น ผิวหนังที่เปลี่ยนสีเป็นสีดำ

ระยะที่ 6 เกิดแผลที่เป็นลักษณะเฉพาะของแผลบริเวณหลอดเลือดดำ เช่น ขอบแผลแดง

ความรุนแรงของเส้นเลือดขอดมีตั้งแต่เห็นเส้นเลือดฝอยเล็ก ๆ (Spider Vein) ปวดขา เท้า และขาบวม เห็นหลอดเลือดโป่งพองมีลักษณะคดเคี้ยวคล้ายกับตัวหนอน สีผิวเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มขึ้น ผิวหนังแห้งแข็ง ไปจนถึงการอักเสบเป็นแผล 

ผู้หญิง มีโอกาสเกิดโรคเส้นเลือดขอดมากกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์ที่ปริมาณของเลือดสูงขึ้น ทำให้เกิดการตึงของหลอดเลือด รวมถึงระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลง ส่งผลให้ผนังกล้ามเนื้อหลอดเลือดคลายตัวจนลิ้นเปิดปิดเลือดอาจทำงานบกพร่อง  

ส่วนใหญ่เส้นเลือดขอดมักไม่แสดงอาการให้เห็น ยกเว้นจากการสังเกตความผิดปกติ ได้แก่ มองเห็นเส้นเลือดคดเคี้ยวและนูนออกมา เส้นเลือดปรากฏสีม่วงเข้มหรือสีฟ้าบริเวณขา เมื่อยล้า ปวดกล้ามเนื้อ หนักขา บวม ร้อนขาส่วนล่าง ปวดเมื่อนั่งหรือยืนเป็นเวลานาน  

เลือดออกจากเส้นเลือดขอด ผิวหนังอักเสบหรือมีแผลพุพองบริเวณผิวหนังใกล้ข้อเท้า หากเกิดอุบัติเหตุแล้วเส้นเลือดขอดฉีกขาดจะเสียเลือดมาก  หากปล่อยไว้ไม่รักษาอาจเกิดการแตกของเส้นเลือดขอดที่อยู่ชิดผิวหนัง ทำให้มีแผลโดยตรงบนผนังหลอดเลือด ส่งผลให้เลือดออกเป็นจำนวนมากจากหลอดเลือดโดยตรง

ถึงเราจะไม่สามารถป้องกันเส้นเลือดขอดหรือเส้นเลือดฝอยที่ขาได้อย่าง 100% แต่ก็สามารถลดการเกิดเส้นเลือดขอดใหม่และป้องกันมิให้เส้นเลือดขอดที่เป็นอยู่ให้ใหญ่ขึ้นได้  ซึ่งก็สามารถทำได้โดยการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ   หลีกเลี่ยงการยืนหรือนั่งเป็นเวลานาน ๆ ให้เปลี่ยนอิริยาบถบ่อย ๆ  ไม่สวมเสื้อผ้า กางเกง ถุงเท้า หรือถุงน่องที่รัดมาก ๆ เพราะจะทำให้เลือดไหลเวียนได้ไม่สะดวก ไม่ใส่รองเท้าส้นสูงเป็นเวลานาน  ออกกำลังกายเป็นประจำ ทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น  ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ  ลดการรับประทานอาหารเค็มเพื่อป้องกันอาการบวม และรับประทานผักผลไม้ให้มากขึ้น

รักษาเส้นเลือดขอด 

เส้นเลือดขอด

วิธีการรักษาเส้นเลือดขอดจะขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรงที่เกิดขึ้น โดยแพทย์ผู้ชำนาญการจะพิจารณาตามความเหมาะสม ได้แก่

การรักษาแบบประคับประคอง (Conservative Treatment) 

เหมาะสำหรับอาการไม่รุนแรง แนะนำให้ใช้ถุงน่องชนิดพิเศษที่มีระดับความแน่น (Pressure Gradient)  เพื่อให้เลือดไหลกลับจากส่วนปลายขึ้นมาได้ดี  เป็นการป้องกันไม่ให้อาการเป็นมากขึ้น  วิธีนี้จะเหมาะกับเส้นเลือดขอดขนาดเล็กมากหรือเป็นเส้นเลือดฝอยที่ขาขนาดเล็ก ๆ เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 มิลลิเมตร หรือน้อยกว่า โดยการใส่ถุงน่องสำหรับเส้นเลือดขอด (Compression stocking) ตลอดเวลาที่ทำงานหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ยืน เดิน นั่ง ยกเว้นในขณะนอนที่ไม่ต้องใส่  ถุงน่องนี้จะมีคุณสมบัติพิเศษที่แตกต่างจากถุงน่องทั่วไป คือ จะมีความดันที่บริเวณข้อเท้าประมาณ 20-25 มม.ปรอท ส่วนที่น่องและใต้เข่าจะมีความดันน้อยลงมาตามลำดับ จึงช่วยทำให้เลือดที่อยู่บริเวณขาไหลเวียนได้ดีขึ้น  

และในขณะที่นอนให้ยกปลายเท้าให้สูงกว่าระดับหน้าอกประมาณ 30 องศาด้วย อาจใช้หมอนหรือผ้าหนุนปลายเท้าให้สูงขึ้น  เพื่อช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดและช่วยให้เลือดไหลกลับสู่หัวใจได้ดีขึ้น  การใช้ถุงน่องสำหรับเส้นเลือดขอดจะมีประโยชน์สำหรับเส้นเลือดขอดในระยะเริ่มต้นหรือการใช้ร่วมภายหลังการรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ ปัญหาที่พบได้บ่อยที่สุดของการใช้ถุงน่องสำหรับเส้นเลือดขอดก็คือการลืมใช้ และสภาวะอากาศที่ร้อนถุงน่องจะมีความหนามากทำให้ร้อนและเหงื่อออกมากรู้สึกคันได้

การฉีดสารเคมีที่เส้นเลือดขอด (Sclerosing Therapy) 

เหมาะกับเส้นเลือดขอดขนาดเล็ก โดยใช้เวลา 15 – 30 นาทีไม่ต้องงดน้ำและอาหาร ไม่ต้องนอนโรงพยาบาลสามารถรักษาได้ทั้งเส้นเลือดขอดและเส้นเลือดฝอยที่ขา โดยจะเป็นการฉีดยา  ซึ่งเป็นสารเคมีที่มีคุณสมบัติในการทำลายผนัง (Endothelium) ของเส้นเลือดขอด เข้าไปในเส้นเลือดดำที่ขอดเพื่อทำให้เส้นเลือดขอดที่โป่งพองยุบและจางหายไป ชนิดที่ใช้บ่อย ๆ จะมีชื่อว่า “เอธอกซีสเครอล” (Aethoxysklerol inj) ซึ่งมีความเข้มข้นตั้งแต่ 1-3%  หลังการฉีดควรเดินอย่างต่อเนื่องประมาณ 30 นาทีเพื่อช่วยให้ยากระจายตัวได้ดีขึ้น  และควรสวมถุงน่องสำหรับเส้นเลือดขอดเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของยา  ควรสวมติดต่อกันอย่างน้อย 5-7 วัน  วิธีนี้จะเหมาะกับเส้นเลือดขอดที่มีขนาดเล็กกว่า 3 มิลลิเมตรที่เป็นแขนงบริเวณผิวหนังและไม่มีความผิดปกติของลิ้นในตัวเส้นเลือดดำส่วนตื้น หรือเป็นเส้นเลือดขอดเล็ก ๆ ที่ยังคงหลงเหลืออยู่หลังจากการผ่าตัดเส้นเลือดขอด

ข้อบ่งชี้ในการรักษาด้วยการฉีดยาเข้าเส้นเลือดดำ คือ 

 1. เป็นเส้นเลือดขอดที่มีขนาดอยู่ระหว่าง 1-3 มิลลิเมตร

 2. เป็นเส้นเลือดขอดที่มีขนาดเล็กมาก ๆ ประมาณ 0.5 มิลลิเมตร 

3. เป็นเส้นเลือดขอดเดี่ยว ๆ 

4. เป็นเส้นเลือดขอดบริเวณใต้เข่า

ข้อห้ามในการรักษาด้วยการฉีดยาเข้าเส้นเลือดดำ 

คือ การมีประวัติการแพ้สารที่ใช้ฉีด มีเส้นเลือดอักเสบ เส้นเลือดขอดมีขนาดใหญ่ร่วมกับปัญหาเส้นเลือดดำส่วนลึก 

การรักษาด้วยวิธีนี้จะต้องเข้ารับการรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางผิวหนัง (Dermatologist) และรักษาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉลี่ยคือประมาณ 3-4 ครั้ง  แต่ละครั้งห่างกันประมาณ 1.5-2 เดือน  ยกเว้นถ้าเป็นมากอาจต้องฉีดจำนวนครั้งมากกว่านี้  และหลังการฉีดสามารถกลับบ้านได้  วิธีนี้เป็นการรักษาที่ไม่หายขาด ในระยะยาวอาจมีการกลับมาเป็นซ้ำได้อีก  ผลข้างเคียงจากการรักษาด้วยวิธีนี้พบได้ไม่บ่อย 

แต่อาจเป็นอันตรายรุนแรงได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดและความเข้มของยา เช่น บริเวณที่ฉีดอาจมีอาการปวด บวมแดง มีเลือดออก หรือมีรอยจ้ำเขียวจากการมีเลือดออกใต้ผิวหนัง ซึ่งจะหายไปได้เอง อาจเกิดรอยคล้ำตามแนวเส้นเลือดที่ฉีด ซึ่งจะค่อย ๆ จางหายไปได้เอง  

อาจเกิดอาการแพ้ยาที่ฉีด โดยในรายที่เป็นไม่มากอาจมีแค่อาการคันหรือมีผื่น แต่ถ้าเป็นรุนแรงอาจทำให้เกิดอาการช็อกจนทำให้เสียชีวิตได้  

ในกรณีที่ฉีดยาไม่เข้าเส้นเลือดอาจทำให้ผิวหนังมีสีเข้มขึ้นหรืออาจเกิดแผลบริเวณผิวหนังได้ นอกจากนี้การฉีดยาในปริมาณมากอาจทำให้เกิดเส้นเลือดอักเสบได้ ส่วนการเกิดภาวะเส้นเลือดดำส่วนลึกมีลิ่มเลือด (Deep vein thrombosis) นั้น พบได้น้อยมาก  ในปัจจุบันนี้ได้มีการพัฒนาเทคนิคการฉีดยาเพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้นที่เรียกว่า “Microsclerotherapy”

การใช้เลเซอร์ความร้อนหรือคลื่นวิทยุความถี่สูง (Radio Frequency)  

 เป็นการรักษาด้วยเครื่องเลเซอร์ที่มีความยาวคลื่น 1,064 นาโนเมตร  ซึ่งเป็นวิธีการรักษาที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นการรักษาที่ไม่ทำให้เกิดบาดแผลและไม่มีแผลเป็น  ปลอดภัย  มีประสิทธิภาพ และรวดเร็ว เหมาะสำหรับเส้นเลือดขอดที่มีขนาดเล็กกว่า 3 มิลลิเมตร และคนที่กลัวการฉีดยาหรือการผ่าตัด

ส่วนผู้ที่เป็นเส้นเลือดฝอยที่บริเวณใบหน้าและขาก็สามารถใช้เลเซอร์รักษาได้ด้วยเช่นกัน แต่เส้นเลือดฝอยควรมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 2 มิลลิเมตร เพราะหากมีขนาดใหญ่กว่าการรักษาด้วยเลเซอร์จะไม่ได้ผลหรือกลับมาเป็นซ้ำได้  โดยแสงเลเซอร์จะมีความยาวคลื่นจำเพาะที่สามารถยิงผ่านผิวหนังชั้นบนลงไปในบริเวณที่เป็นเส้นเลือดขอดได้อย่างแม่นยำ ซึ่งเซลล์เม็ดเลือดแดงได้รับความร้อนจากเลเซอร์จะไปทำลายผนังเส้นเลือดให้ย่อยสลายและหายไป 

แต่ในระหว่างการยิงเลเซอร์นั้นผิวหนังจะเกิดความร้อน ซึ่งบรรเทาด้วยระบบทำความเย็นของหัวยิงเลเซอร์  จะมีแก๊สเย็นออกมาพร้อมกับเลเซอร์เพื่อให้ความเย็นแก่ผิวชั้นบน โดยไม่ทำลายผิวหนังบริเวณข้างเคียง  

ในขณะที่ทำจะรู้สึกเจ็บเพียงเล็กน้อยเท่านั้น (เหมือนมียางมาดีดที่ผิวหนัง) จึงไม่ต้องใช้ยาชาเฉพาะที่  หลังทำผิวหนังจะมีอาการบวมแดงเล็กน้อย ซึ่งมักจะหายไปได้เองภายใน 24 ชั่วโมง หรือไม่เกิน 2-3 วัน แต่ผู้ป่วยบางรายอาจเกิดรอยช้ำหรือผิวหนังไหม้พองได้ จะหายไปได้เองภายใน 1 สัปดาห์  

การใส่ถุงน่องสำหรับเส้นเลือดขอดหรือการใช้ผ้าพันแผลชนิดยืดจะช่วยให้ผลการรักษาดีขึ้น ภายหลังการรักษาสามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติทันที แต่ 24 ชั่วโมงแรก ควรงดการออกกำลังกายที่ต้องใช้กำลังมากและการแช่อาบน้ำอุ่น ใส่ถุงน่องสำหรับเส้นเลือดขอดหรือการใช้ผ้าพันแผลชนิดยืดเป็นเวลาอย่างน้อย 3-6 สัปดาห์ เพราะจะช่วยทำให้ผลการรักษาดีขึ้น  

ใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว และหลีกเลี่ยงการถูกแสงแดดแรง ๆ โดยตรง พร้อมทั้งทาครีมกันแดดเมื่อต้องถูกแสงแดดบริเวณผิวหนังที่ทำการรักษาในช่วง 2 สัปดาห์แรก  ส่วนใหญ่การรักษาด้วยวิธีนี้จำเป็นต้องทำหลายครั้ง (ทุก ๆ 6-12 สัปดาห์) อาจจะต้องใช้เวลาในการรักษานานหลายปี ซึ่งจำนวนครั้งของการเข้ารับการรักษาจะขึ้นอยู่กับขนาด จำนวน และความลึก

รักษาเส้นเลือดขอด

การผ่าตัดการผ่าตัดเอาเส้นเลือดขอดออก (Varicose vein stripping)

 เป็นวิธีการผ่าตัดแบบดั้งเดิม โดยจะเป็นการผ่าตัดดึงเอาเส้นเลือดที่ขอดออกไปตลอดทั้งเส้นเพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำอีก วิธีนี้จะเหมาะสำหรับการรักษาเส้นเลือดขอดที่มีขนาดใหญ่และมีขนาดยาวมาก ๆ และไม่สามารถรักษาได้ด้วยการฉีดยาเข้าเส้นเลือดดำที่ขอดได้ หลังการผ่าตัดในช่วง 3-4 วันแรกควรนอนพักให้มาก ยกเท้าให้สูง และใส่ถุงน่องสำหรับเส้นเลือดขอดไว้ประมาณ 4-6 สัปดาห์

ข้อบ่งชี้ของการผ่าตัด 

1. เส้นเลือดขอดมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4-6 มิลลิเมตร

 2. ผู้ป่วยมีอาการปวดขาและมีลิ้นในเส้นเลือดดำผิดปกติ 

 3. มีภาวะแทรกซ้อน เช่น มีเลือดออก มีแผลเรื้อรัง หรือมีการอักเสบของเส้นเลือดขอด

ผลข้างเคียงที่อาจพบได้ 

เช่น  คลื่นไส้ อาเจียน  แพ้ยาสลบ  เลือดออก เนื้อเยื่อข้างเคียงเสียหาย  เช่น เส้นเลือดแดง  เส้นประสาท  แผลผ่าตัดเกิดการอักเสบติดเชื้อ  มีจ้ำเลือดใต้ผิวหนัง อาการเหล่านี้หายไปภายใน 1-2 สัปดาห์   

การเกิดลิ่มเลือดในเส้นเลือดดำซึ่งพบได้ไม่บ่อย   การเกิดแผลเป็น  การผ่าตัดเป็นวิธีรักษาที่ทำให้หายขาดและช่วยป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคนี้ที่จะตามมาในภายหลังได้ ยกเว้นในรายที่ยังมีแขนงของเส้นเลือดขอดหลงเหลืออยู่ก็อาจจะทำให้มีอาการกลับมาเป็นซ้ำได้อีกในรายที่เป็นแขนงของเส้นเลือดเล็ก ๆ ซึ่งพบได้น้อยมาก

เส้นเลือดขอดมักถูกจัดลำดับให้เป็นปัญหาเล็ก ๆ และชะล่าใจ มองข้ามไป คิดว่าเป็นอาการเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่ที่จริงแล้วสามารถกลายเป็นปัญหาใหญ่ได้ แท้จริงแล้วสามารถลุกลามเป็นแผลเรื้อรังได้เลยและยังมีผลต่ออวัยวะต่างๆของร่างกาย ฉะนั้นเมื่อพบปัญหาควรรีบแก้ไขรีบรักษา  เพราะโรคนี้  รู้เร็ว  รักษาเร็ว  หายได้เร็ว

Back To Top