ในรายผู้ใหญ่ที่ท้องเสียเฉียบพลัน มักมีสาเหตุจากการรับประทานอาหารที่ไม่สะอาด หรือมีเชื้อโรคเจือปน ทำให้เกิดการติดเชื้อ หรือในบางราย การรับประทานอาหารที่มีรสจัดก็อาจทำให้เกิดอาการท้องเสียได้เช่นกัน
อาการท้องเสียเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อไวรัสต่างๆ เวลาทานเข้าไปแล้วสารอาหารจะไม่ดูดซึม และถูกขับออกมาเป็นอุจจาระเหลว โดยสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคท้องร่วง ท้องเสียจะเเบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ท้องเสียที่ถ่ายเป็นน้ำ
เกิดมาจากสารพิษ Enterotoxin แบคทีเรียที่ปนเปื้อนอาหารและแบ่งตัวอย่างรวดเร็วเมื่อทิ้งอาหารไว้นาน ๆ ซึ่งเมื่อเข้าสู่ร่างกายจะมีอาหารท้องร่วง ท้องเสีย หรืออาหารเป็นพิษภายใน 1-6 ชั่วโมง บางรายก็จะมีอาการเป็นไข้ และถ้ารุนแรงหนักอาจถึงขั้นช็อกได้
ท้องเสียที่ถ่ายเป็นมูกเลือด เกิดจากเชื้อ Shigella, Enteroinvasive E.coli, Entamoeba histolytica และ Salmonella เข้าไปในบริเวณเยื่อบุลำไส้ ทำให้ลำไส้เกิดการอักเสบ บางรายจะมีอาการไข้ขึ้นสูง และถ่ายมูกเป็นเลือด เมื่อติดเชื้อและเกิดอาการขาดน้ำอย่างหนัก อาจส่งผลให้เสียชีวิตได้
โรคท้องเสีย (Diarrhea)
หรืออาการท้องเสีย คือ อาการที่ถ่ายอุจจาระเหลวเป็นน้ำมากกว่า 3 ครั้งขึ้นไป ซึ่งจำนวนครั้งที่ถ่ายบ่อยขึ้นอยู่กับอาการของแต่ละคน บางรายก็อาจมีอาการอื่นแทรกซ้อนด้วย ได้แก่ ปวดท้องบิด ท้องอืด อาหารเป็นพิษ อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน มีไข้ เป็นต้น
เมื่อพบว่าตัวเองมีอาการท้องเสียบ่อย ดังนี้
1.มีอาการท้องเสีย มากกว่า 3 ครั้งต่อวัน
2.ท้องเสียถ่ายเป็นน้ำ ถ่ายเหลว
3.ขับถ่ายพบเหยื่อมูกหรือเลือดปน
4.อาการท้องเสีย คลื่นไส้
5.แน่นท้อง ปวดท้องบิด
6.คอแห้งหิวน้ำบ่อย
7.หน้ามืด อ่อนเพลีย
8.เป็นไข้สูงกว่า 39 องศาเซลเซียส
วิธีแก้ท้องเสีย
ควรเลือกรับประทานทานอาหารสำหรับคนท้องเสีย ซึ่งจะทำให้ระบบลำไส้อาหารทำงานได้ดี หมั่นล้างมือบ่อยๆ ก่อนรับประทานอาหารทุกครั้ง โดยฉพาะหน้าร้อน อาหารก็บูดได้ง่ายส่งผลให้เชื้อแบคทีเรียเติบโตได้เร็วขึ้น จึงต้องคอยดูแลอาหาร เมื่อเกิดอาการท้องเสียควรปฏิบัติ ดังนี้
1.เวลาที่ท้องเสีย ร่างกายจะเสียน้ำเยอะ ดื่มน้ำสะอาดหรือเครื่องดื่มเกลือแร่ให้มาก ๆ วิธีแก้ท้องเสียอย่างแรก เพื่อทดแทนน้ำที่ร่างกายเสียไป ป้องกันอาการกระหายน้ำ ตาแห้ง อ่อนเพลีย
2.กินยาแก้ท้องเสีย เช่น ยาผงถ่านแก้ท้องเสียหรือยาคาร์บอน คาร์บอนจะช่วยดูดซับสารเคมีและเชื้อแบคทีเรียต่าง ๆ ออกมาผ่านอุจจาระ อีกทั้งยังช่วยแก้ปวดท้องอีกด้วย
3.ดื่มน้ำผสมกับผงเกลือแร่เพื่อทดแทนน้ำที่สูญเสียไปได้ เวลาที่ถ่ายเหลวมากเกินไป
4.กินอาหารปรุงสุกและย่อยง่าย รับประทานอาหารเหลวทีละน้อย ๆ เพื่อไม่ให้ระบบย่อยอาหารและดูดซึมทำงานหนักจนเกินไป หลีกเลี่ยงของหนัก ๆ และรับประทานปริมาณน้อย แต่แบ่งย่อยออกเป็นหลายมื้อแทนการทานมื้อใหญ่มื้อเดียว
5.การดื่มน้ำขิงสามารถช่วยบรรเทาอาการท้องเสียได้เป็นอย่างดี ลดการระคายเคือง แก้อักเสบ ลดอาการแปรปรวนของลำไส้ และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยอาหาร
6.หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไฟเบอร์ ผักและผลไม้สดเป็นอาหารที่เพิ่มไฟเบอร์ให้ร่างกายถ่ายหนักกว่าเก่า และควรหลีกเลี่ยงพวกถั่วก่อให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร
7.พักผ่อนให้เพียงพอเพื่อทดแทนพลังงานที่สูญเสียไป เมื่อเกิดอาการท้องเสียบ่อย ๆ ร่างกายจะอ่อนเพลีย
8.ถ้าพบว่ามีอาการท้องเสียเป็นน้ำเหม็นคาว ร่างกายอ่อนเพลีย หายใจไม่ออก เป็นไข้ หรือเลือดปนออกมาด้วย ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
9.ทานโยเกิร์ต การทานโยเกิร์ตที่มีโปรไบโอติก ซึ่งเชื้อแบคทีเรียที่ดีต่อระบบทางเดินอาหาร สามารถช่วยบรรเทาอาการท้องเสีย กระตุ้นให้ลำไส้กลับมาทำงานได้เป็นปกติ
อาหารที่ไม่เหมาะสำหรับคนท้องเสีย
เพื่อป้องกันโรคท้องเสีย โรคท้องร่วง หรือภาวะโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมา ได้แก่
1.เครื่องดื่มแอลกฮอล์ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ รวมถึงน้ำอัดลม โซดา
2.อาหารสุกๆ ดิบๆ
3.อาหารที่ปรุงทิ้งไว้นาน
4.อาหารที่มีไขมันสูง เช่น แกงกะทิ น้ำมันจากเนื้อสัตว์ เนย
5.อาหารที่มีรสจัด เช่น ส้มตำ ต้มยำ ผัดเผ็ด เป็นต้น
6.ผักในตระกูลผักกาด ได้แก่ ผักกะหล่ำ ดอกกะหล่ำ บรอกโคลี ผักหรือผลไม้ดอง
7.อาหารทะเลไม่สะอาด
8.อาหารที่มีกลูเตน ได้แก่ แป้งสาลี ข้าวไรน์ และข้าวบาร์เลย์
9.ถั่ว นม ไอศครีม
ถ้าอาการท้องเสียมีอาการไม่มาก แนะนำให้ถ่ายอุจจาระออกมาจนหมด หลีกเลี่ยงการรับประทานยาหยุดถ่าย ไม่ให้ของเสียหรือเชื้อโรคจะยังคงสะสมอยู่ในลำไส้ และระหว่างที่มีอาการ แนะนำให้หยุดเลี่ยงการรับประทานอาหาร ที่มีผลิตภัณฑ์นมเป็นส่วนประกอบ งดอาหารรสจัดและของหมักดอง รับประทานอาหารอ่อนๆ ย่อยง่าย เช่น ข้าวต้มหรือโจ๊ก หากมีอาการถ่ายบ่อยจนร่างกายอ่อนเพลีย ให้ดื่มน้ำเกลือแร่ร่วมด้วย นอกจากนี้การลดขนาดมื้ออาหารลงในขณะท้องเสีย ก็เป็นการรักษาวิธีหนึ่งซึ่งไม่มีผลเสีย หากร่างกายแข็งแรงดี เพราะจะเป็นการช่วยให้ลำไส้พักและช่วยให้การทำงานกลับเป็นปกติเร็วขึ้น ตรงกันข้ามหากรับประทานเข้าไปมาก อาหารเหล่านั้นจะถูกดูดซึมเข้าร่างกายได้น้อยหรือไม่ดูดซึมเลย ทำให้ยิ่งรับประทานมากเท่าใด ก็ยิ่งทำให้เสียน้ำและเกลือแร่ออกจากร่างกายมากขึ้นเท่านั้น และจะได้ประโยชน์จากอาหารที่รับประทานเข้าไปน้อย
อาการต่อไปนี้ ต้องรีบมาพบแพทย์ทันที
เช่น อุจจาระมีมูกปน มีกลิ่นเหม็นผิดปกติคล้ายกุ้งเน่า คลื่นไส้ อาเจียนรุนแรง มีไข้สูงเกินกว่า 38.5 องศาเซลเซียส อ่อนเพลียมาก หรือมีอาการนานกว่า 48 ชั่วโมง และผู้ที่มีโรคประจำตัว รวมทั้งเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี และผู้สูงอายุ ไม่ควรรักษาเอง เพราะถ้าอาการรุนแรงอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
ท้องเสียหรือลำไส้อักเสบ คือ ภาวะที่มีการถ่ายเหลวมากกว่าเท่ากับ 3 ครั้งต่อวัน อาจเป็นน้ำ และหรือมีมูก มีเลือดปนได้ ภาวะนี้พบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ มักมีอาการรุนแรงได้ในเด็กเล็ก ผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำ ส่วนใหญ่มักเกิดจากการติดเชื้อโรค โดยเชื้อโรคเข้าไปทางปาก ที่มีการปนเปื้อนของเชื้อโรคเข้าไป มักได้รับเชื้อเข้าไปก่อนมีอาการ 1-2 วัน
ปัจจุบันการตรวจหาเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุของโรคลำไส้อักเสบนั้น ทำได้ง่ายขึ้นมาก นั้นคือ การนำอุจจาระไปตรวจหาเชื้อที่ก่อโรค เรียกว่า เป็นการตรวจแบบรวดเร็ว สามารถทราบผลได้ใน 30-60 นาที ซึ่งสามารถตรวจได้ทันที ไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล แต่ถ้าเพาะเชื้อ ต้องใช้เวลา 1-3 วัน
อาการท้องเสีย มักมีสาเหตุมาจากการทานอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่สะอาด หรือมีเชื้อโรคเจือปน ทำเกิดการติดเชื้อ ซึ่งพบได้ในทุกเพศทุกวัย ทั้งวัยเด็กทารก วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ จนถึงวัยผู้สูงอายุ มีอาการท้องเสียถ่ายเป็นน้ำ ถ่ายเหลว คลื่นไส้ บางรายก็ปวดท้องและมีไข้ด้วย การป้องกันโรค “ กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ” ล้างผัก ผลไม้ ให้สะอาด กินอาหารปรุงสุกใหม่ และควรรีบไปพบแพทย์เพี่อแก้ไขได้ทันท่วงที