อากาศเปลี่ยน เดี๋ยวร้อนเดี๋ยวหนาว ทำให้ไม่สบายได้ง่าย ทั้ง ไข้ ไอ ไข้หวัด เจ็บคอ มีน้ำมูก ซึ่งอาจะไม่ใช่อาการร้ายแรงแต่ก็รบกวนการใช้ชวตประจำวัน บางคนอาจจะพลาดโอกาสด ๆ หลาย ๆ อย่างไปเลยก็ได้ ดังนั้นเมื่อเริ่มมีอาการ จึงควรรีบดูแลรักษาไม่ให้ลุกลาม ซึ่งปัญหาที่เจอบ่อย ๆ คือ การมีน้ำมูกไหลนั่นเอง ส่งผลให้เสียบุคลิกมาก ดังนั้นเรามักจะมองหาตัวช่วยในการแก้ปัญหานี้โดยด่วน และก็คงจะหนีไม่พ้น ยาลดน้ำมูก
ยาลดน้ำมูก เป็นกลุ่มยาที่มีฤทธิ์ช่วยลดการบวมขยายของเส้นเลือดในจมูก ลดการอักเสบ และลดการสร้างน้ำมูก มีทั้งชนิดซื้อใช้ได้เองหรือต้องใช้ตามคำสั่งแพทย์ และมีรูปแบบของยาหลายประเภท ได้แก่ ยาพ่นจมูก ยารับประทานชนิดเม็ด น้ำ ผงสำหรับละลายน้ำ และหยอดจมูก
ยาลดน้ำมูกแต่ละชนิดจะมีข้อบ่งชี้และส่วนประกอบในยาที่แตกต่างกันออกไป จึงอาจส่งผลให้มีอาการข้างเคียงที่แตกต่างกันไปด้วย จึงควรแจ้งรายละเอียดให้แพทย์ก่อนใช้ยา ซึ่งมักใช้เพียง 3 หรือ 4 ครั้ง/วันเท่านั้น
ข้อควรระวังในการใช้ยา
1.แจ้งให้แพทย์ทราบถึงยาทุกชนิดที่กำลังใช้อยู่หรือเพิ่งหยุดใช้ไป เพราะยาบางชนิดอาจทำปฏิกิริยากับยาลดน้ำมูก เช่น ยาเซเลจิลีน และยาไอโซคาร์บอกซาซิด ซึ่งอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่รุนแรง เช่น ความดันโลหิตเพิ่มสูงถึงขั้นเป็นอันตราย
2.ห้ามใช้ยาฟีนิลเอฟรีนและยาซูโดเอฟีดรีน ภายใน 14 วันหลังจากใช้ยากลุ่มเอมเอโอไอ เช่น ยาไอโซคาร์บอกซาซิด ยาลีเนโซลิด และยาฟีเนลซีน เพราะอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตราย
3.แจ้งให้แพทย์ทราบก่อนใช้ยานี้ หากเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน ต่อมลูกหมากโต โรคตับ โรคไต โรคหัวใจ ภาวะการไหลเวียนโลหิตผิดปกติ และต้อหิน
4.ไม่ควรให้เด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี ใช้ยานี้ ส่วนเด็กอายุ 6-12 ปี ให้ใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น
5.ห้ามให้เด็กอายุต่ำกว่า 4 ปี ใช้ยาซูโดเอฟีดรีน และต้องปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ เพราะการใช้ยาผิดชนิดหรือผิดวิธีอาจทำให้เกิดอันตรายต่อเด็กถึงขึ้นเสียชีวิตได้
6.ผู้ที่ตั้งครรภ์ วางแผนมีบุตร หรือกำลังให้นมบุตร ควรปรึกษาแพทย์ถึงข้อดีและข้อเสียของยาก่อน เพราะตัวยาอาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์หรือซึมผ่านน้ำนมมารดาและก่อให้เกิดอันตรายต่อทารกได้
ผลข้างเคียงจากการใช้ยาลดน้ำมูก
ผลข้างเคียงที่อาจพบได้จากการใช้ยาลดน้ำมูก อาจจะแตกต่างกันตามส่วนประกอบของยา ซึ่งเมื่อมีอาการให้หยุดยาทันทีและไปพบแพทย์ ได้แก่
1.ระคายเคืองในจมูก ปากแห้ง
2.นอนไม่หลับ สับสน วิตกกังวล หงุดหงิด กระสับกระส่าย
3.หัวใจเต้นผิดจังหวะ ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว
4.ปัสสาวะลำบากในผู้ชาย
5.อาการหลอน อาจได้กลิ่น ได้ยินเสียง รับรู้รสชาติ หรือรู้สึกถึงสิ่งที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริง
6.หายใจลำบาก หายใจมีเสียง
7.เกิดรอยช้ำหรือมีเลือดออกง่าย
8.มีไข้ หนาวสั่น ปวดตามตัว มีอาการของหวัด มีผื่นขึ้น ตัวเย็น
9.ปวดศีรษะ เวียนศีรษะอย่างรุนแรง คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลียผิดปกติ หมดสติ
10.ความดันโลหิตสูงขั้นรุนแรง
11.จังหวะหัวใจเต้นเร็วหรือเต้นผิดปกติ
การใช้ยาแก้แพ้ลดน้ำมูก
บางครั้งเมื่อมีอาการน้ำมูกไหลจากการเป็นหวัด เจ็บคอ ในรายที่มีโรคประจำตัวเป็นภูมิแพ้ แพทย์อาจจะสั่งยาแก้แพ้ (antihistamine) ให้ คือยาต้านฮิสตามีนกลุ่มที่ทำให้ง่วงน้อย ที่เรียกว่า non-sedating antihistamine หรือ 2nd generation antihistamine ยากลุ่มนี้ที่จัดเป็นยาในบัญชียาหลักแห่งชาติฉบับปัจจุบัน ประกอบด้วย cetirizine hydrochloride และ loratadine มีทั้งชนิ เม็ดและน้ำ ทั้งนี้เพราะอาการคัดจมูก จาม น้ำมูกไหล ในโรคภูมิแพ้มีสาเหตุจากการที่เยื่อบุโพรงจมูก ถูกกระตุ้นด้วยสารฮิสตามีนที่ถูกปลดปล่อยหลังจากเยื่อบุโพรงจมูกสัมผัสกับสารภูมิแพ้
ประเภทของยาแก้แพ้
หากจะแบ่งประเภทของยาแก้แพ้ตามผลข้างเคียงของยา จะสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
ยาแก้แพ้ชนิดง่วง
เป็นยาแก้แพ้รุ่นเดิมหรือรุ่นที่ 1 นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายเนื่องจากมีราคาถูก มีให้เลือกหลากหลายชนิด โดยสามารถใช้รักษาและบรรเทาอาการที่เกี่ยวกับภูมิแพ้ได้อย่างครอบคลุม เช่น อาการคัน น้ำมูกไหล จาม ผื่นลมพิษ ผื่นภูมิแพ้ แพ้แมลงกัดต่อย อาการแพ้เนื่องจากการสัมผัสพืชที่มีพิษหรือสารเคมีบางชนิด
นอกจากนี้ยังสามารถใช้เพื่อบรรเทาอาการเมารถ เมาเรือ หรือใช้ร่วมกับยาชนิดอื่นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาตามอาการของผู้ป่วย โดยมีผลข้างเคียงคือ ทำให้รู้สึกง่วง มึน ซึม ปากแห้ง คอแห้ง เมื่อรับประทานยา ตัวอย่างยา ไดเฟนไฮดรามีน (Diphenhydramine) ไดเมนไฮดริเนต (Dimenhydrinate)
ยาแก้แพ้แบบง่วง (First-generation Antihistamine):
จะถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือดไปสู่สมองและมักออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง อาการข้างเคียงของยาแก้แพ้หรือยาแก้ภูมิแพ้แบบง่วงจึงทำให้ผู้ป่วยมีอาการง่วงซึม ซึ่งจะมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับชนิดของยาและการตอบสนองของร่างกายแต่ละคน ข้อดีคือออกฤทธิ์เร็วภายใน 30 นาทีโดยประมาณ แต่หมดฤทธิ์เร็ว ทำให้ผู้ป่วยต้องรับประทานยาประมาณวันละ 3 ครั้ง
ยาแก้แพ้ชนิดไม่ง่วง
เป็นยาแก้แพ้รุ่นที่ 2 ได้รับการพัฒนาใหม่และกำลังได้รับความนิยมมากขึ้นในปัจจุบัน สามารถใช้รักษาและบรรเทาอาการได้คล้ายกับยาแก้แพ้แบบง่วง แต่จะด้อยกว่าในแง่ของการรักษาอาการเมารถและเมาเรือ หากเปรียบเทียบกับยาแก้แพ้แบบง่วง
แต่ข้อได้เปรียบของยาแก้แพ้ชนิดนี้คือจะไม่ทำให้เกิดอาการง่วง มึน ซึม ทำให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ และสามารถออกฤทธิ์ได้นานเกือบ 24 ชั่วโมง จึงรับประทานแค่วันละ 1 ครั้ง ตัวอย่างยา ลอราทาดีน (Loratadine) เซทิริซีน (Cetirizine)
ยาแก้แพ้แบบไม่ง่วง (Second-generation Antihistamine):
จะถูกดูดซึมผ่านเข้าสู่สมองส่วนกลางน้อยกว่าแบบแรกหรือไม่ถูกดูดซึมเลย จึงไม่ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการง่วงซึม มักให้ผลลัพธ์ในการบรรเทาอาการเกี่ยวกับภูมิแพ้เท่านั้น ไม่สามารถใช้บรรเทาอาการเมารถ เมาเรือได้ และแม้ว่ายาแก้ภูมิแพ้แบบไม่ง่วงจะออกฤทธิ์ช้ากว่ายาแก้แพ้แบบง่วงแต่ก็หมดฤทธิ์ช้ากว่าเช่นกัน เพราะรับประทานเพียง 1 ครั้ง สามารถออกฤทธิ์ได้นานประมาณ 24 ชั่วโมง
แนวทางการใช้ยาแก้แพ้ในโรคหวัด
1.ไม่ใช้ยาแก้แพ้ชนิด non-sedating ในโรคหวัด ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ เนื่องจากไม่ได้ผล
2.ไม่ใช้ยาแก้แพ้ที่มีราคาแพงในโรคหวัด เพราะยามีประสิทธิภาพในโรคหวัดต่ำไม่คุ้ม
3.ไม่ใช้ยาแก้แพ้ชนิด sedating ในเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี เนื่องจากอาจเกิดอันตรายร้ายแรงจากการให้ยาโดยไม่ถูกต้องได้
4.หลีกเลี่ยงการใช้ยาแก้แพ้ชนิด sedating ในผู้สูงอายุ เนื่องจากไม่คุ้มกับผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
5.หากจำเป็น อาจให้ยาแก้แพ้ชนิด sedating ยาเหล่านี้มีประสิทธิผลต่ำในโรคหวัดและทำให้ง่วงซึม ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายจากการล้มหรือพลัดตกจากที่สูงได้
6.จำไว้เสมอว่ายาแก้แพ้ ไม่ใช่ยาแก้โรคหวัด และลดน้ำมูก ยาแก้แพ้ใช้สำหรับโรคภูมิแพ้เท่านั้น
ข้อควรระวังในการใช้ยาแก้แพ้
ยาแก้แพ้เหมาะกับการรับประทานเพื่อลดอาการแพ้ที่ไม่รุนแรง เช่น ไอ จาม คัดจมูก มีน้ำมูกใส ๆ จากการแพ้อากาศ ฝุ่นละออง เกสรดอกไม้หรือขนสัตว์ อาการลมพิษ ผื่นคัน ที่เกิดจากการแพ้อาหาร สรรพคุณบรรเทาอาการน้ำมูกไหล ไอ จาม จากการแพ้อากาศ เช่นยา คลอร์เฟนิรามีน (Chlorpheniramine) ยาบรอมเฟนิรามีน (Brompheniramine) ซึ่งยาในกลุ่มนี้มีมีผลกดสมอง จึงไม่ควรใช้กับเด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบ ควรรับประทานยาตามแพทย์สั่งหรือปรึกษาร้านยาที่มีเภสัชกรเท่านั้น และมีข้อควรระวังดังนี้
1.ยาแก้แพ้บางชนิดอาจทำให้ปากแห้ง จมูกแห้ง ปัสสาวะลำบาก และง่วงซึม จึงควรงดการขับขี่รถยนต์ ทำงานหรืออยู่ใกล้เครื่องจักร หากจำเป็นต้องทำงานหรือไม่สามารถนอนพักได้ อาจใช้ยาแก้แพ้ชนิดที่ไม่ทำให้ง่วงซึม
2.ยาแก้แพ้มักทำให้เสมหะมีความเหนียวข้นมากกว่าเดิม หากกินยาแก้แพ้ แล้วมีอาการไอมากขึ้น ควรหยุดกินยาทันที
3.ไม่กินยาแก้แพ้ร่วมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือกับยาที่มีฤทธิ์กดสมอง ยาระงับประสาท เช่น ยานอนหลับ ยากันชัก
4.หญิงมีครรภ์และให้นมบุตร ไม่ควรกินยาแก้แพ้เอง ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อเลือกชนิดและขนาดการกินที่เหมาะสม
การออกฤทธิ์ของยาแก้แพ้
ยาแก้แพ้ท้ง 2 แบบ จะเข้าไปยับยั้งตัวรับสารฮิสตามีนที่หลั่งออกมา ทำให้ร่างกายแสดงอาการแพ้ต่าง ๆ ทั้งน้ำตาไหล คัดจมูก แน่นหน้าอก ผื่นขึ้น ลมพิษ ยาแก้แพ้แบบไม่ง่วงจะมีราคาสูงกว่ายาแก้แพ้แบบง่วง ดังนั้นอาจใช้ยาแก้ภูมิแพ้แบบไม่ง่วงในกรณีที่ความง่วงเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น เมื่อต้องไปเรียน หรือทำงานที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักร ของมีคม หรือขับขี่ยานพาหนะ
แต่ความแตกต่างของยาแก้แพ้ทั้ง 2 แบบ คือ ยาแก้แพ้แบบที่ทำให้ง่วงสามารถผ่านตัวกั้นระหว่างหลอดเลือดกับเซลล์ระบบประสาทเข้าไปสู่สมองส่วนกลาง ช่วยลดความตึงเครียดทำให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย จึงทำให้รู้สึกง่วง ส่วนยาแก้แพ้แบบไม่ทำให้ง่วง จะออกฤทธิ์ยับยั้งเฉพาะตัวรับสารฮิสตามีน จึงลดอาการแพ้แต่ไม่ทำให้ง่วง
ที่สำคัญไม่ควรใช้ที่ออกฤทธิ์กดประสาทร่วมกับยาแก้แพ้ หากรับประทานร่วมกันจะยิ่งเพิ่มความรุนแรงของอาการเหล่านี้จนเกิดอันตรายได้ เช่น ยานอนหลับ ยาต้านซึมเศร้า ยาคลายกล้ามเนื้อ ยากันชัก ยาลดความดัน
ผู้ที่สามารถใช้ยาแก้แพ้ได้
ผู้ที่มีอาการแพ้และภูมิแพ้ เช่น จาม คัดจมูก น้ำมูกไหล ผื่นคัน เยื่อตาอักเสบ เยื่อบุจมูกอักเสบ ลมพิษแบบเฉียบพลัน หลอดลมตีบ คันตามผิวหนังจากการแพ้เกสรดอกไม้ ฝุ่นละอองในอากาศ ขนสัตว์ แพ้อาหารทะเล หรือสารก่อภูมิแพ้อื่นๆ
ผลข้างเคียงและอาการแพ้ยา
ผลข้างเคียงจากยาแก้แพ้แบบง่วง (First-generation Antihistamine)
1.ง่วงนอน
2.ปากแห้ง คอแห้ง ตาแห้ง
3.เห็นภาพเบลอหรือภาพซ้อน
4.วิงเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ
5.ความดันโลหิตต่ำ
6.เสมหะข้นเหนียวมากขึ้น
7.ใจเต้นเร็วผิดปกติ
8.ปัสสาวะติดขัดหรือท้องผูก
ยาแก้แพ้แบบไม่ง่วง (Second-generation Antihistamine)
1.ปวดศีรษะ ไอ เจ็บคอ
2.อ่อนแรง คลื่นไส้ อาเจียน
3.ปวดท้องหรือไม่สบายท้อง
วิธีเก็บรักษายาแก้แพ้
ควรเก็บยานี้ไว้ในที่แห้งภายใต้อุณหภูมิห้อง พ้นจากแสงแดด ความร้อน หรือความชื้น และเก็บให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง
เมื่อมีอาการคันคอ คัดจมูก น้ำมูกไหล จาม ผื่นขึ้น หลายคนหยิบยาลดน้ำมูกหรือแก้แพ้มารับประทาน ทั้ง ๆ ที่ยังไม่ได้รับการตรวจวินิจฉัยโรคจากแพทย์ แม้ว่ายาจะเป็นยาสามัญประจำบ้าน แต่สรรพคุณของยาและการสังเกตอาการก็ยังมีความจำเป็น เพราะหากรับประทานยาไม่ตรงกับโรคหรือรับประทานน้อยหรือมากเกินไป ก็ส่งผลเสียต่อสุขภาพและเป็นอันตรายกับชีวิตได้ จึงพึงระวังให้ดในการใช้ยา