เป็นเนื้องอกที่มดลูก ห้ามกินอะไร

เนื้องอกที่มดลูก

การตรวจสุขภาพประจำปี เป็นการคัดกรองโรคที่ดีสำหรับทุก ๆ คน ทำให้สามารถรู้ความผิดปกติก่อนที่จะแสดงอาการ ซึ่งบางโรคกว่าจะแสดงอาการออกมาก็เป็นมากแล้ว เช่นเนื้องอกมดลูกจะไม่มีอาการอะไรเลย ในรายที่มีอาการส่วนใหญ่จะมีอาการปวดท้องน้อย มีเลือดออกผิดปกติ อุจจาระผูกเรื้อรัง กระเพาะปัสสาวะอักเสบบ่อย ๆ แท้งบุตร หรือมีบุตรยาก แต่ก็เป็นโชคดีที่เนื้องอกชนิดนี้มีเปอร์เซ็นต์ที่จะกลายเป็นมะเร็งได้น้อยมาก 

ในปัจจุบันเราไม่จำเป็นต้องตรวจภายในกันทุกราย เพราะสามารถทำอัลตราซาวด์ หรือคลำหน้าท้อง บางรายสามารถคลำพบได้เองถ้าเนื้องอกนั้นมีขนาดใหญ่ ไม่ต้องกลัว ไม่ต้องตกใจ เมื่อพบว่าเป็น “เนื้องอกมดลูก”

เนื้องอกมดลูกไม่ใช่เนื้อร้ายที่น่ากลัว เพราะเนื้องอกมดลูกส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นเนื้อร้าย แต่ก็มองข้ามไม่ได้ แนะนำเมื่อตรวจพบเป็นเนื้องอกที่มดลูกให้ปรับพฤติกรรมด้านการบริโภค ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่จะไปกระตุ้นฮอร์โมนเอสโตรเจน ที่ส่งผลทำให้เนื้องอกโตขึ้น เช่น นมถั่วเหลือง น้ำเต้าหู้ หรือเนื้อสัตว์ที่มีการให้สารเร่งการเจริญเติบโต 

การรักษาเนื้องอกมดลูกด้วยการ “ผ่าตัด” หรือ “ไม่ผ่าตัด” ขึ้นอยู่กับความรุนแรงในอาการ และขนาดของเนื้องอกที่มีผลกระทบกับอวัยวะข้างเคียงอื่น ๆ วิธีการรักษาที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับจำนวน ขนาด ตำแหน่ง และความเร็วในการเติบโตของเนื้องอก ซึ่งส่งผลให้เกิดอาการรุนแรงแตกต่างกัน 

ดังนั้นผู้ป่วยที่เป็นเนื้องอกมดลูกจึงไม่ควรวิตกกังวลจนเกินเหตุ เพราะเนื้องอกมดลูกเป็นสิ่งที่สตรีควรระวังไว้เท่านั้น เป็นแล้วสามารถรักษาให้หายได้ และไม่ใช่โรคร้ายที่ต้องเข้ารับการรักษาโดยทันที

สาเหตุที่ทำให้เกิดเนื้องอกในมดลูก

1.กรรมพันธุ์ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อโรคใด ๆ 

2.การทำงานของฮอร์โมนเพศหญิง เนื้องอกนี้มักจะเจอในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ คือ มีประจำเดือนไปสัก 3 ปี 5 ปี 10 ปี ซึ่งก็คือเหมือนเซลล์กล้ามเนื้อมดลูกเจริญเติบโตผิดปกติกลายเป็นเนื้องอก

3.การดำเนินชีวิต เช่น เรื่องอาหารการกิน

เนื้องอกที่มดลูก

อาการ

เนื้องอกมดลูกส่วนใหญ่จะมาด้วย 3 อาการหลัก ๆ

  1. อาการแรกที่เจอเยอะที่สุด คือ คลำได้ก้อนที่ท้องน้อย ส่วนมากจะเป็นเนื้องอกมดลูก ซึ่งกว่าจะคลำพบมดลูกต้องมีขนาดโตเท่ากับคนท้อง 4-5 เดือนแล้ว ซึ่งประมาณสัก 15 เซนติเมตรขึ้นไป
  2. อาการที่พบบ่อย คือ มีประจำเดือนออกเยอะ เพราะตัวเนื้องอกไปเบียดโพรงมดลูก ทำให้ประจำเดือนออกเยอะ บางครั้งออกมาเป็นลิ่มเลือดเป็นก้อนเลือด 

3.การมีบุตรยาก พออัลตราซาวนด์จะเจอ ว่ามีเนื้องอกมดลูกเป็นลักษณะก้อนเล็ก ๆ แค่ 1-2 เซนติเมตรอยู่ในโพรงมดลูก ไปขวางการฝังตัวของทารกทำให้มีบุตรยาก

4.อาการที่รุนแรง มีเลือกออกเยอะ หรือบางคนที่ลักษณะก้อนมันยื่นออกไปข้างนอก คือยื่นเข้าไปในอุ้งเชิงกรานหรือว่าในท้องน้อย ไปกดเบียดลำไส้ กระเพาะปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะบ่อยเข้าห้องน้ำทุกชั่วโมง นอนหลับไปแล้วก็ต้องตื่นมาเข้าห้องน้ำทุก 2-3 ชั่วโมง 

แนวทางการรักษา

1.กรณีที่พบก้อนเนื้อขนาด 0.5-2 เซนติเมตร ไม่ได้มีอาการอะไร รักษาโดยการเฝ้าสังเกตอาการและนัดตรวจติดตาม อัลตราซาวนด์ทุก 6 เดือนหรือทุก 1 ปี

2.การใช้ยาในการรักษา โดยเป็นยาคุมกำเนิดเพื่อลดอาการ ประจำเดือนที่เคยออกเยอะแต่ถ้าเนื้องอกเป็นไม่เยอะมาก การกินยาคุมกำเนิดจะทำให้ปริมาณประจำเดือนออกน้อยลงได้ 

3.ยาฉีดประเภทฮอร์โมนที่กดการทำงานของฮอร์โมนเพศ ทำให้ไม่มีฮอร์โมนเพศในตัวเลย ก็จะเป็นวัยทอง อันนี้ก็จะมีผลทำให้ก้อนยุบลงและไม่มีประจำเดือน

4.ผ่าตัด มี 2 แบบ คือ แบบเก็บมดลูกไว้ เอาเฉพาะเนื้องอกออก อีกแบบ คือ แบบผ่าตัดเอามดลูกออกไป ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคุณแพทย์

5.ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค 

5.1.รับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำ เพราะไขมันเป็นแหล่งในการสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจน การรับประทานอาหารที่มีไขมันมาก ๆ จะทำให้ปริมาณของฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายเพิ่มสูงขึ้น

5.2.ลดหรือหลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารที่ออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน เช่น ถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง แยม หรือเจลลี่ สมุนไพรบางชนิด เช่น โสม

5.3.เห็ด การรับประทานเห็ดจะทำให้ร่างกายได้รับประโยชน์มาก ลดการเกิดพังผืด หรือเนื้องอกได้

5.4.ย่านาง การทำน้ำย่านางดื่ม จะเป็นการคั้นสดแล้วผสมน้ำ หรือจะนำใบมาเคี้ยวแล้วกลืนน้ำตาม ช่วยเรื่องเนื้องอกมดลูกได้ ระวังอย่าทำให้เข้มข้นเกินไป จะทำให้ไตทำงานหนักะ

5.5.เมล็ดฟักทอง มีสารที่ทำหน้าที่คล้ายฮอร์โมนเพศชาย เพื่อปรับฮอร์โมนให้สมดุลย์ ไม่ให้มีฮอร์โมนเอสโตรเจนมากเกินไป

5.6.ขมิ้นชัน มีโอกาสทำให้เนื้องอกมีขนาดเล็กลงได้ โดยรับประทานหลังมื้ออาหารเช้า และก่อนนอน สัก 2-3 แคปซูลต่อมื้อ

5.7.มะดัน ผลไม้ชนิดเปรี้ยว ซึ่งสามารถนำมาปรุงอาหารแทนมะนาวได้ นำมาทำยำ ผสมเป็นน้ำพริกก็ได้ 

5.8.แอปเปิ้ล ทำให้ขนาดของเนื้องอกมดลูกไม่เจริญเติบโต 

6.ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ เพราะพบเนื้องอกมดลูกได้สูงในผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกิน

7.การตรวจภายใน ก็คือ การคลำมดลูก รังไข่ ถ้ามดลูกโตเท่ากับคนท้องสัก 2 เดือน ก็จะเจอแล้ว สักประมาณ 4-5 เซนติเมตร เราก็จะคลำได้ แนะนำให้เข้ามาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกร่วมกับการตรวจภายใน 

8.สำหรับคนที่ยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ การตรวจอัลตราซาวนด์ทางหน้าท้องก็เห็นเนื้องอก 2-3 เซนติเมตรได้ ดูการเปลี่ยนและความคืบหน้าของการรักษา

9.ออกกำลังกายแบบแอโรบิกเป็นประจำ ประมาณสัปดาห์ละ 4-5 ครั้ง เพราะการออกกำลังกายจะช่วยปรับสมดุลของฮอร์โมนได้

แนวทางการรักษา

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง

ถ้าสาเหตุหนึ่งที่เป็นเนื้องอกมดลูก มาจากการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนไปในสังคมปัจจุบัน โดยเฉพาะเรื่องอาหารการกิน ซึ่งไปกระตุ้นเนื้องอกมดลูกที่เกิดจากเซลล์กล้ามเนื้อมดลูกเจริญเติบโตเร็วผิดปกติ จึงควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ไปกระตุ้นฮอร์โมน เช่น

1.เต้าหู้ และ อาหารที่ทำจากถั่วเหลือง มีสารไอโซฟลาโวน ที่ทำหน้าที่คล้ายกับฮอร์โมนเอสโตรเจน

 2.มะพร้าว เป็นประจำเดือนห้ามกินมะพร้าวหรือน้ำมะพร้าว เพราะมีฮอร์โมนเพศหญิงเยอะ อาจจะทำให้ปวดท้องได้ 

3.อาหารไขมันสูง เช่น พวกอาหารจานด่วน ฟาสฟู๊ด ไก่ทอด นม เนย เบเกอรี่ต่าง ๆ

4.โปรตีนจากเนื้อสัตว์ การได้รับอาหารที่มีโปรตีนจากเนื้อสัตว์มากเกินไป อาจจะมีส่วนกระตุ้นการเกิดเนื้องอก เช่น การรับประทานหมูกระทะเป็นประจำ

5.น้ำอัดลม มีน้ำตาลสูง การดื่มบ่อย ๆ ทำให้ร่างกายได้รับน้ำตาลมากเกินไป อาจจะกระตุ้นให้เกิดการสร้างฮอร์โมนมากขึ้นได้

หากตรวจพบว่าเป็นเนื้องอกมดลูก ไม่ต้องตกใจจนเกินเหตุ ให้ขอคำปรึกษาจากแพทย์เพื่อที่จะหาแนวทางรักษาที่เหมาะสม พร้อมทั้งดูแลตัวเองด้วยการเลือกรับประทานอาหารและออกกำลังกายควบคู่กันไปด้วย เพื่อปรับสมดุลย์ รวมไปถึงการติดตามผลการตรวจจากแพทย์ เพื่อเช็คร่างกายเป็นระยะ ๆ เพื่อประเมิณผลและปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมตามอาการ หลีกเลี่ยงสิ่งที่กระตุ้นให้เนื้องอกโตขึ้น เพียงเท่านี้ก็สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติและยาวนาน

Back To Top